วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

การเสียชีวิตเนื่องจากแก๊ส MO Memoir : Friday 1 January 2553

ในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา อุบัติเหตุเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมีที่เป็นข่าวบ่อยที่สุดเห็นจะได้แก่เรื่องแก๊สรั่ว และเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาก็มีวิศวกรรายหนึ่งเสียชีวิตจากแก๊สที่รั่วออกมา จากรายงานข่าวดูเหมือนว่าวิศวกรผู้ที่เสียชีวิตนั้นพึ่งจะจบมาทำงานได้เพียง ๑-๒ ปีเท่านั้นเอง ก่อนอื่นก็ต้องขอแสดงความเสียใจแก่คุณพ่อคุณแม่ของวิศวกรผู้เสียชีวิตด้วย ที่ต้องสูญเสียบุตรที่กำลังเป็นที่พึ่งของครอบครัวไป

ช่วงสุดสัปดาห์ก่อนปีใหม่ (เสาร์ที่ ๒๖) ก็มีคนโทรศัพท์มาชวนไปทำโครงการในช่วงวันหยุดปีใหม่ ซึ่งผมก็ได้ปฏิเสธไปเพราะมีแผนทำกิจกรรมในช่วงหยุดปีใหม่อยู่แล้ว ตอนนั้นก็คิดอยู่เหมือนกันว่ามันเป็นงานอะไรถึงได้รีบร้อนทำกันนัก ทั้ง ๆ ที่ช่วงปีใหม่ใคร ๆ เขาก็พักผ่อนกัน รอให้พ้นปีใหม่ก่อนไม่ได้หรือไง มาทราบเรื่องอีกทีก็วันอังคารที่ ๒๙ ว่างานที่เขาต้องการให้ทำนั้นคือเข้าไปช่วยพิจารณาตรวจสอบระบบควบคุมของโรงงานและระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน ว่ามีข้อบกพร่องอย่างไรจึงทำให้มีผู้เสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ที่จะให้เข้าไปตรวจสอบก็คือเหตุการณ์ที่เกริ่นเอาไว้ในย่อหน้าแรกนั่นเอง


ข้อมูลที่ได้รับทราบจากผู้ชวนไปทำโครงการ (ขอเน้นย้ำว่าเป็นคำบอกเล่าปากต่อปาก ซึ่งผู้เล่าก็ได้ฟังมาอีกที ดังนั้นอย่างพึ่งยึดถือว่าข้อมูลดังกล่าวความจริงหรือถูกต้องทั้งหมด เพราะยังไม่ได้มีการเข้าไปยังสถานที่เกิดเหตุ) คือในโรงงานดังกล่าวมีการผลิตคาร์บอนไดซัลไฟด์ (CS2 - carbon disulfide) และในการผลิตดังกล่าวก็มีไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S - hydrogen sulfide) เกิดขึ้นร่วมอยู่ด้วย ซึ่งต้องมีการแยก CS2 และ H2S ออกจากกันโดยการกลั่น ในระหว่างการกลั่นเกิดปัญหา CS2 ที่อยู่ที่ก้นหอ (เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ก้นหอ) เกิดการท่วมล้น ทำให้ต้องมีการระบาย CS2 ที่อยู่ในสภาพของเหลวจากก้นหอกลั่นสู่ถังรองรับ (คิดว่าคงอยู่ข้างนอกหอกลั่น) แต่เนื่องจากการกลั่นนั้นกระทำที่ความดันสูงกว่าบรรยากาศ เมื่อมีการระบาย CS2 ออกสู่ความดันบรรยากาศจึงทำให้ H2S ที่ละลายอยู่ใน CS2 ภายใต้ความดันระเหยออกมา จากนั้นเครื่องตรวจวัดแก๊ส (gas detector) ก็ตรวจวัดการรั่วไหลของแก๊สได้ และส่งสัญญาณเตือน วิศวกรผู้เสียชีวิตจึงเข้าไปดูเหตุการณ์ และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

จากข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับฟังมา ผมก็มีข้อสงสัยในข้อมูลดังกล่าวอยู่หลายประเด็นด้วยกัน และได้ให้ความเห็นแก่ผู้ที่มาชวนไปทำโครงการไปบางส่วนแล้ว ในที่นี้ก็ขอรวบรวมเอามาให้อ่านกัน (ถ้าคิดอะไรได้เพิ่มเติม หรือมีข้อมูลเพิ่มเติมก็จะเขียนมาเล่าให้ฟังกันอีก) โดยจะลองสมมุติว่าถ้าตัวเองเป็นเจ้าหน้าที่สอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว จะสอบสวนในมุมมองใดบ้าง

ประเด็นที่ ๑ เหตุการณ์การท่วมล้นหอกลั่น


๑.๑ รู้ได้อย่างไรว่ามีปัญหาการท่วมล้นหอกลั่น
- มีอุปกรณ์แจ้งเตือน หรือผู้ปฏิบัติงานต้องวิเคราะห์เอาเอง
- ข้อมูลโรงงานขณะนั้นยืนยันตรงกันว่าเหตุการณ์การท่วมล้นหอกลั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
- การท่วมล้นหอกลั่นเป็นเหตุการณ์แรกที่เกิด หรือมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์อื่นก่อนหน้า ประเด็นตรงนี้คือถ้ามองเพียงแต่เหตุกาณ์ที่หอกลั่นซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต การแก้ปัญหาอาจจะมุ่งไปที่เมื่อเกิดการท่วมแล้วจะทำอย่างไร โดยไม่ได้มุ่งไปที่ทำอย่างไรจึงจะไม่ทำให้เกิดการท่วม


๑.๒ ถ้าปัญหาการท่วมล้นหอกลั่นเคยเกิดขึ้นมาแล้ว ก่อนหน้านี้มีความรุนแรงเหมือนครั้งนี้หรือไม่
- ถ้าเคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว ก่อนหน้านี้แก้ปัญหากันอย่างไร
- การแก้ปัญหาที่ใช้ในครั้งนี้กับก่อนหน้านี้เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
- ถ้าใช้การแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน เป็นเพราะเหตุใด เช่น
- ความรุนแรงของสถานการณ์แตกต่างกัน
- ไม่มีการบันทึกข้อมูลการแก้ปัญหาก่อนหน้าไว้เป็นหลักฐานใช้วิธีจำต่อ ๆ กันมา
- มีการบันทึกข้อมูลการแก้ปัญหาไว้เป็นหลักฐาน แต่ผู้ปฏิบัติงานไม่ทราบว่ามี หรือไม่ทราบว่าข้อมูล
ดังกล่าวอยู่ที่ไหน


๑.๓ ถ้าหากว่าเหตุการณ์การท่วมล้นหอกลั่นเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
- ใครเป็นผู้วิเคราะห์และให้ข้อสรุปว่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
- หลังจากที่ระบุปัญหาได้แล้ว ผู้มีอำนาจตัดสินใจมีเวลาเท่าใดในการตัดสินใจแก้ปัญหาก่อนที่ปัญหาจะรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้พิจารณาว่าการตัดสินใจดังกล่าวเป็นการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่ต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างรวดเร็ว หรือมีการปรึกษาหารือกัน
- การตัดสินใจให้แก้ปัญหาด้วยการเอาถังไปรองรับเป็นแนวความคิดของใคร
- ของหัวหน้างานที่มีอำนาจตัดสินใจเพียงงคนเดียว หรือ
- หรือการประชุมร่วมกันเพื่อระดมความคิด แต่ผู้ที่ต้องแบกภาระที่ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ และผู้ที่
มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ตัดสินใจ (ประเด็นนี้สำคัญคือ บางรายเกรงว่าตัวเองตัดสินใจแล้วถ้ามี
ข้อผิดพลาดจะต้องรับผิดชอบ ก็เลยโยนว่าให้เป็นมติที่ประชุม หรือโยนว่าคนในที่ประชุมคนนั้น
เป็นคนบอกให้ทำ หรือใช้วิธีบอกให้คนอื่นไปจัดการแทน พอเกิดเรื่องขึ้นมาก็จะได้แก้ตัวว่า ไม่ได้
ทำเอง คนโน้นเป็นคนทำ จะได้รอดตัวไป ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่ออำนาจตัดสินใจอยู่ที่
คนใดคนหนึ่ง (ไม่ได้อยู่ที่มติที่ประชุม) บุคคลผู้นั้นอาจเรียกประชุมเพียงเพื่อระดมความเห็นได้
โดยไม่จำเป็นต้องมีการขอมติใด ๆ และไม่จำเป็นต้องทำตามความเห็นส่วนใหญ่ในที่ประชุมด้วย)


๑.๔ เคยมีการคาดการณ์ (หรือจำลอง) เหตุการณ์ดังกล่าว (การท่วมล้นหอกลั่น) เอาไว้หรือไม่
- ถ้าเคยมีการคาดการณ์ว่าจะมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วมีการวางแผนอะไรรองรับไว้หรือไม่
- ถ้าเคยมีการวางแผนรับเหตุการณ์เอาไว้ โครงสร้างโรงงาน ณ เวลาที่วางแผนการณ์กับโครงสร้างโรงงาน ณ เวลาที่เกิดเหตุนั้นเหมือนกันหรือไม่


๑.๕ ตัวโรงงานเองเคยมีการทำ HAZOP (Hazard and Operability study) หรือไม่ ถ้าเคยมีการทำ HAZOP แล้วทำไมถึงมองข้ามเหตุการณ์นี้ไปได้

ประเด็นที่ ๒ จากคำบอกเล่าที่กล่าวว่า "พอ CS2 ท่วมก้นหอกลั่น ก็เลยต้องระบายออกสู่ถังรองรับข้างนอก" ในการกระทำดังกล่าวนี้


๒.๑ แสดงว่าต้องมีผู้ปฏิบัติงานอยู่ ณ ก้นหอกลั่นนั้นใช่ไหม เพราะการระบายของเหลวจากก้นหอกลั่นออกสู่ถังรองรับคงไม่ได้ใช้ระบบอัตโนมัติควบคุม (เพราะต้องมีคนเอาถังไปรอง)


๒.๒ จากข้อ ๒.๑ ดังนั้นถ้าต้องมีผู้ปฏิบัติงานทำงานดังกล่าว
- จำนวนคนที่ส่งเข้าไปปฏิบัติการนั้น เพียงพอกับขนาดของปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่
- ผู้ปฏิบัติงานคนนั้นเป็นใคร ใช่ผู้เสียชีวิตและผู้ที่บาดเจ็บหรือไม่
- ผู้ปฏิบัติงานผู้นั้นได้รับผลกระทบใดจากการรั่วไหลด้วยหรือไม่


๒.๓ จากข้อ ๒.๑ ถ้าไม่มีผู้เฝ้าดูแลการระบายเอา CS2 จากก้นหอกลั่นลงสู่ถังรองรับ ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นได้ เช่น
- ผู้ดูแลถูกเรียกให้ไปที่อื่นในขณะนั้น
- ผู้ดูแลไปทำธุระอย่างอื่นในขณะนั้น
- มีกลิ่นแรงมากจนผู้ดูแลต้องหลบออกมาเพราะไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน ฯลฯ

ประเด็นที่ ๓ เครื่องตรวจวัดแก๊สนั้นตรวจวัดแก๊สอะไร (CS2 หรือ H2S)


๓.๑ เครื่องตรวจวัดนี้จะทำงานเมื่อใดและให้ค่าใดบ้าง
- ทำงานเพียงแค่ส่งสัญญาณเตือนเมื่อวัดความเข้มข้นของแก๊สได้เกินค่าต่ำสุดที่ตั้งไว้ใช่ไหม(กล่าวคือความเข้มข้นจะสูงเท่าใดก็ไม่สำคัญ ของแค่ให้เกินค่าต่ำสุดก็พอ)
- มีการวัดความเข้มข้นที่แท้จริงของแก๊สที่รั่วไหลหรือไม่
- ถ้ามีการวัด ข้อมูลดังกล่าวต้องไปดูที่ตัวเครื่องหรือส่งตรงมายังห้องควบคุม


๓.๒ ตำแหน่งที่ตั้งเครื่องตรวจวัด
- จุดที่เครื่องตรวจวัดติดตั้งอยู่กับจุดที่เป็นต้นเหตุของการแพร่กระจายของแก๊สอยู่ห่างกันแค่ไหน
- ในบริเวณดังกล่าวมีเครื่องตรวจวัดแก๊สกี่เครื่อง และมีสักกี่เครื่องที่ตรวจวัดการรั่วไหลของแก๊สได้
- สภาพอากาศในวันดังกล่าวมีลมพัดหรือไม่ ในทิศทางใด
- บริเวณที่เกิดการรั่วไหลมีการระบายอากาศที่ดีหรือไม่

ประเด็นที่ ๔ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล


- ทางโรงงานมีการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันให้หรือไม่
- ถ้าโรงงานมีการจัดอุปกรณ์ป้องกันเอาไว้ให้
- มีการฝึกอบรมหรือไม่ว่าอุปกรณ์ที่จัดไว้นั้นให้ใช้เมื่อใดและในกรณีใด
- อุปกรณ์ที่มีอยู่นั้น อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
- อุปกรณ์ที่มีอยู่นั้น ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดหรือไม่
- การบังคับใช้อุปกรณ์
- ผู้เข้าไปตรวจที่เกิดเหตุนั้นมีอุปกรณ์ป้องกันติดตัวไปด้วยหรือเปล่า
- มีการบังคับใช้อุปกรณ์เมื่อจำเป็นต้องใช้หรือไม่
- มีการตรวจสอบการฝ่าฝืนไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยเมื่อจำเป็นต้องใช้หรือไม่
- ถ้าตรวจพบการฝ่าฝืนดังกล่าว ทางหน่วยงานใส่ใจที่จะลงโทษอย่างไร หรือไม่ใส่ใจ (ประเด็นตรงจุด
นี้คืออุปกรณ์บางอย่างนั้นเมื่อใช้แล้วต้องมีการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนใหม่ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของ
หน่วยงาน ทำให้หน่วยงานมองว่าถ้าหากผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ก็จะช่วยลดค่าใช้
จ่ายได้ หรือช่วยให้ผลิตสินค้าได้รวดเร็วขึ้น (ลดขั้นตอนการปฏิบัติในการทำงาน) โดยอาจมองว่า
ขั้นตอนปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ในด้านความปลอดภัยของพนักงานนั้น เป็นขั้นตอนที่ถ่วงเวลาการ
ผลิต ถ้าหน่วยงานตรวจพบและไม่ใส่ใจ แสดงว่าหน่วยงานควรต้องรับผิดด้วย)

ประเด็นที่ ๕ สาเหตุการเสียชีวิต ผู้เสียชีวิตเสียชีวิตด้วยสาเหตุใด


๕.๑ ความเป็นพิษของแก๊สนั้นเอง ซึ่งแก๊สนั้นในความเข้มข้นต่ำ ๆ ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ แม้ว่าในบริเวณนั้นจะมีออกซิเจนอยู่เพียงพอ


๕.๒ การขาดออกซิเจน เนื่องจากแก๊สที่รั่วออกมานั้นเข้าไปแทนที่อากาศ ทำให้ผู้ที่เข้าไปอยู่ในบริเวณนั้นขาดออกซิเจนกระทันหันจนไม่สามารถช่วยตนเองหรือแม้แต่ร้องขอความช่วยเหลือได้
ในกรณี (๕.๑) นั้นสามารถใช้หน้ากากกรองแก๊สป้องกันได้ เพราะแก๊สพิษที่อยู่ในอากาศที่หายใจเข้าไปจะถูกไส้กรองแก๊สดักเอาไว้ แต่ถ้าอยู่นานจนไส้กรองหมดสภาพ ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ แต่ถ้าบริเวณนั้นไม่มีออกซิเจนเพียงพอ แม้ว่าแก๊สที่รั่วออกมาจะไม่ใช่แก๊สพิษ ก็สามารถทำให้ผู้ที่หลงเข้าไปอยู่ในบริเวณนั้นขาดออกซิเจนจนเสียชีวิตได้ ซึ่งจะเข้าข่ายกรณี (๕.๒) กรณี (๕.๒) นี้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดถังอากาศติดประจำตัว (แบบที่นักดำน้ำหรือพนักงานดับเพลิงใช้กัน)

การสอบสวนอุบัติเหตุในบ้านเรานั้นมักจะมุ่งเน้นไปที่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ว่าเป็นผู้กระทำผิด ดังนั้นถ้าหากว่ามีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นก็มักจะมองหาแต่ว่าผู้ก่อเรื่องต้องเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ผู้ว่าจ้างนั้นไม่เกี่ยวข้อง แต่ถ้าเป็นคดีจ้างวานฆ่าผู้อื่น (ซึ่งก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตเหมือนกัน) กลับมองว่าผู้ว่าจ้างแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ ก็ต้องมีความผิดเช่นเดียวกันกับผู้ที่ลงมือกระทำการณ์ให้มีผู้เสียชีวิต


ในหลายประเทศนั้นเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในโรงงาน เขาพิจารณาไปถึงตัวผู้ว่าจ้างด้วยว่าต้องมีส่วนรับผิดชอบกับเหตุการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่นพนักงานขับรถบรรทุกคนหนึ่งขับไปแล้วหลับใน ไปชนรถอื่นทำให้มีผู้เสียชีวิต ทางบ้านเราก็จะสรุปเลยว่าเป็นความผิดของพนักงานขับรถบรรทุกผู้นั้น แต่ในหลายประเทศนั้นจะพิจารณาก่อนว่าทำไมพนักงานขับรถผู้นั้นถึงหลับใน เขาถูกใช้งานจนไม่มีเวลาพักผ่อนหรือเปล่า (ส่งที่นี่เสร็จก็ให้ไปส่งที่อื่นต่อ) หรือบริษัทกำหนดให้ต้องส่งสินค้าให้ทันเวลา ทำให้ต้องขับรถเป็นระยะเวลายาวนานโดยไม่สามารถหยุดพัก หรือบริษัทกำหนดเงื่อนไขที่ผิดกฎจราจร (เช่นสัญญาว่าจะส่งของให้ภายในเวลา .. ชั่วโมง ทั้ง ๆ ที่ถ้านำเอาระยะทางกับความเร็วรถที่กฎหมายกำหนดในเส้นทางนั้นมาคำนวณดูก็จะเห็นว่า จะส่งของให้ทันได้ก็ต่อเมื่อพนักงานขับรถต้องขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด) ฯลฯ ซึ่งถ้าเขาเห็นว่าการหลับในดังกล่าวเป็นผลจากการใช้งานพนักงานขับรถดังกล่าวจนเกินความสามารถของคนที่จะทนได้ ก็ถือว่าผู้บริหารบริษัทนั้นต้องมีส่วนรับผิดชอบโดยตรงเหมือนผู้ลงมือกระทำในเหตุการณ์ด้วย


ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นยังมีการพิจารณาด้วยว่าโรงงานนั้นใช้คนที่มีความรู้ถูกต้องกับงานที่มอบหมายให้ทำหรือไม่ และมีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้เกี่ยวกับงานที่มอบหมายให้ปฏิบัติหรือไม่ ไม่ใช่ปล่อยให้ไปศึกษาเอาเองเพียงอย่างเดียวที่หน้างาน มหาวิทยาลัยสอนได้แต่ความรู้กลาง ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั่วไปเท่านั้น ความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ ที่จะต้องสอนให้พนักงานแต่ละคนมีความเข้าใจ (ก็มหาวิทยาลัยไม่ได้ผลิตบัณฑิตเพื่อบริษัทใดบริษัทหนึ่งนี่)

H2S หรือที่คนไทยเรียกกันว่าแก๊สไข่เน่านั้นเป็นแก๊สที่มีกลิ่นเหม็น แต่ถ้าสูดดมเป็นเวลานานจะทำให้ประสาทรับกลิ่นเสียไปและไม่รู้สึกเหม็นได้ แก๊สนี้เกิดขึ้นระหว่างการผลิต CS2 จากปฏิกิริยาระหว่าง CH4 กับกำมะถัน (S8) ซึ่งจะได้ CS2 กับ H2S (ในทำนองเดียวกันกับปฏิกิริยาระหว่าง CH4 กับออกซิเจน (O2) ซึ่งจะได้ CO2 กับ H2O) ใน MSDS (ย่อมาจาก Material Safety Data Sheet) ที่แนบท้ายมาก็กล่าวไว้ว่าการหายใจเอาแก๊สนี้ที่ความเข้มข้น 1000 ppm (0.1%) เข้าไปเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้ผู้หายใจเข้าไปมีอาการเข้าขั้นโคม่าได้ ทั้ง CS2 และ H2S นั้นไม่เพียงแต่เป็นแก๊สพิษเท่านั้น แต่ยังสามารถลุกติดไฟได้ด้วย

ข้อมูล MSDS ของ CS2 กับ H2S ได้มาจาก http://msds.chem.ox.ac.uk ตอนแรกคิดว่าจะให้ไปเปิดอ่านกันเอง แต่เชื่อว่าคงไม่มีใครไปเปิดอ่าน ก็เลยต้องขอคัดลอกมาแปะไว้ในที่นี้

Carbon disulfide

General
Synonyms: carbon bisulphide, carbon bisulfide, carbon disulphide, carbon sulfide, dithiocarbonic anhydride, NCI-C04591, weeviltox, sulphocarbonic anhydride
Use: Disinfectant, insecticide, bactericide, preservative, solvent, chemical reagent
Molecular formula: CS2
CAS No: 75-15-0
EC No: 200-843-6
Annex I Index No: 006-003-00-3

Physical data
Appearance: colourless to light yellow liquid with an unpleasant odour
Melting point: -112 C
Boiling point: 46 C
Vapour density: 2.67 (air = 1)
Vapour pressure: 300 mm Hg at 20 C
Density (g cm-3): 1.26
Flash point: -30 C
Explosion limits: 1 - 50%
Autoignition temperature: 90 C
Water solubility: slight

Stability
Stable. Extremely flammable. Highly volatile. Note low flash point and very wide explosion limits. Protect from heat, friction, shock, sunlight. Reacts violently with fluorine, azide solutions, zinc dust, liquid chlorine in the presence of iron. Incompatible with strong oxidizing agents, azides, aluminium, zinc, most common metals, nitrogen oxides, chlorine, fluorine, hypochlorites.

Toxicology
Poison - may be fatal if swallowed or inhaled. Serious health hazard, affecting the CNS. Readily absorbed through the skin. Sufficient material may be absorbed through the skin to be fatal. May cause reproductive damage, including imparing fertility. Chronic exposure may cause liver, kidney and CNS damage, or impaired vision. Causes burns. Severe eye and respiratory irritant. Skin irritant. Typical PEL 7 ppm.

Toxicity data
(The meaning of any abbreviations which appear in this section is given here.)
IHL-HMN LCLO 4000 ppm/30m
IPR-GPG LDLO 400 mg kg-1
IHL-MAM LCLO 2000 ppm/5m
ORL-RAT LD50 3188 mg kg:-1
ORL-MUS LD50 2780 mg kg-1
ORL-RBT LD50 2550 mg kg-1
IHL-MUS LC50 10000 mg/m3/2h

Risk phrases
R11 R23 R24 R25 R62 R63.

Transport information
Major hazard class 3. Subsidiary risk 6.1. UN No 1131. Not permitted on passenger or commercial cargo planes.

Personal protection
Because of its low iginition temperature vapours of this material may ignite if reaching hot objects such as hot water pipes, light bulbs, hot plates, heating mantles etc. Vapour may flow a considerable distance to a source of ignition. Wear safety glasses and Viton or PVA gloves, and use good ventilation.

Hydrogen sulfide

General
Synonyms: hydrogen sulphide, hepatic acid, sewer gas, sulfur hydride, dihydrogen monosulfide, dihydrogen monosulphide, sulphur hydride, stink damp, sulfureted hydrogen
Molecular formula: H2S
CAS No: 7783-06-4
EC No: 231-977-3

Physical data
Appearance: colourless gas with strong odour of rotten eggs (odour threshold ca 0.2 ppt)
Melting point: -85 C
Boiling point: -60 C
Vapour density: 1.19
Vapour pressure: [Typical cylinder pressure ca. 17 bar)
Critical pressure: 88 atm
Specific gravity: 0.993 g/ml (liquid at BP), 1.539 g/l at 0C, 760 mm Hg (gas)
Flash point: -82 C
Explosion limits: 4.3 % - 46 %
Autoignition temperature: 260 C

Stability
Stable. Highly flammable. May form explosive mixture with air. Note wide explosive limits. Incompatible with strong oxidizing agents, many metals. May react violently with metal oxides, copper, fluorine, sodium, ethanal.

Toxicology
Highly toxic - may be fatal if inhaled. Inhalation of a single breath at a concentration of 1000 ppm ( 0.1% ) may cause coma. Corrosive when moist. Skin contact may cause burns. There is a rapid loss of sense of smell on exposure to gas concentrations above 150 ppm, and this means that the extent of exposure may be underestimated. Perception threshold ranges from 0.5 ppt to 0.1 ppm. Irritant. Asphyxiant.

Toxicity data
(The meaning of any abbreviations which appear in this section is given here.)
IHL-RAT LC50 444 ppm.
IHL-HMN LC50 800 ppm (5 min).
IHL-MUS LC50 634 ppm/1h.
IHL-GPG LCLO 1 mg/m3/8h

Risk phrases
R12 R26.

Transport information
UN No 1053. Major hazard class 2. Subsidiary risks 6.1, 3.

Personal protection
Safety glasses, rubber gloves, good ventilation. Remove all sources of ignition from the working area.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น