เปิดสอนแลปสัปดาห์แรกก็สนุกดี
ได้เห็นอะไรหลายต่อหลายอย่าง
การทดลองแรกที่ทำกันก็คือการหาค่า
alkalinity
ของน้ำดื่มและน้ำประปา
โดยการนำน้ำตัวอย่างมาไทเทรตกับสารละลายกรดเข้มข้น
H2SO4
0.01 mol/l และใช้
phenolphthalein
กับ
methyl
red เป็นอินดิเคเตอร์
หลังจากที่อธิบายวิธีการอย่างคร่าว
ๆ ก็ได้ปล่อยให้นิสิตทำการทดลองกันอย่างอิสระ
บอกให้ทราบแล้วว่าถ้าอุปกรณ์ที่จัดให้ไม่ถูกใจหรือไม่เพียงพอ
ก็ขอเพิ่มเติมได้
ถ้ามีให้ก็จะจัดเพิ่มให้ตามความต้องการ
การทดลองมันดูเหมือนจะไม่ยาก
ก็แค่เอาน้ำตัวอย่างใส่ฟลาสค์และสารละลายกรดใส่บิวเรต
แต่สำหรับคนที่พึ่งจะหัดทำจะพบว่ามันไม่ง่ายอย่างที่คิด
เริ่มจากการต้องตัดสินใจว่าจะใช้น้ำตัวอย่างปริมาตรเท่าใด
หลายรายมาถามผม
ผมก็บอกแต่เพียงว่าถ้าน้ำตัวอย่างมี
alkalinity
อยู่น้อย
ก็ต้องใช้ปริมาตรเยอะ
แต่ถ้ามี alkalinity
อยู่เยอะ
ก็ไม่ต้องใช้ปริมาตรมาก
แต่ที่สำคัญคือเราไม่รู้ว่าน้ำตัวอย่างมี
alkalinity
เท่าใด
ดังนั้นคงจะบอกอะไรไม่ได้นอกจากต้องลองทำดูสักครั้งก่อน
แล้วก็ได้เห็นวิธีการเติมสารละลายกรดใส่บิวเรตด้วยเทคนิคที่แตกต่างกัน
(ต้องขอขอบคุณนิสิตที่เป็นผู้แสดงแบบด้วยนะ
เพราะตอนที่ผมถ่ายรูปพวกเขา
เขาคงไม่คิดว่ามันจะมาปรากฏที่นี่)
รูปที่
๑ รูปแบบต่าง ๆ
ของการเทสารละลายลงไปในบิวเรต
รายแรกที่เห็น
(รูปที่
๑ ซ้าย)
ผมยืนดูเขาเอา
transfer
pipette ขนาด
50
ml ดูดสารละลายกรดจาก
volumetric
flask ขนาด
1000
ml ตอนแรกนึกว่าเขาจะเอากรดใส่ฟลาสค์แล้วเอาน้ำตัวอย่างใส่บิวเรต
แต่เพื่อความแน่ใจก็เลยถามเขาดูว่าทำอะไรเหรอ
เขาก็ตอบกลับมาว่าจะดูดเอาสารละลายกรดใส่ในบีกเกอร์
เพื่อเอาไปเทใส่บิวเรต
ผมเห็นเขาใช้ปิเปตดูดสารละลายกรดใส่บีกเกอร์อยู่สองครั้ง
จากนั้นก็เอาสารละลายกรดในบีกเกอร์ไปเทใส่บิวเรต
อันที่จริงเขาก็สามารถเทสารละลายกรดจาก
volumetric
flask ลงในบีกเกอร์ได้เลย
ซึ่งกลุ่มอื่นเขาก็ทำกันอย่างนี้
แต่ทำไมกลุ่มนี้เขาเลือกทำอย่างนี้ก็ไม่รู้เหมือนกัน
รายที่สองที่เจอ
(รูปที่
๑ กลาง)
รายนี้เทกรดใส่บีกเกอร์เรียบร้อยแล้ว
จากนั้นจึงนำเอากรดไปเทใส่บิวเรตที่อ่างน้ำประจำโต๊ะ
การที่เขานำไปเทที่อ่างน้ำแสดงว่าเขากลัวว่าตอนเทนั้นสารละลายกรดอาจจะหกออกมานอกบิวเรตและหยดลงพื้น
(กลัวพื้นเลอะ
แต่ไม่กลัวมือโดนน้ำกรด?)
ก็เลยเอาไปเทตรงอ่างน้ำ
จะว่าไปอุปกรณ์ทำแลปของทุกกลุ่มก็ได้จัดให้มีกรวยเอาไว้ให้แล้ว
แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมไม่เอามาใช้
หรือไม่ทันสังเกตเห็นก็ไม่รู้
รายที่สาม
(รูปที่
๑ ขวา)
รายนี้เทสารละลายกรดจาก
volumetric
flask ลงบิวเรตโดยใช้กรวยช่วย
ตอนแรก ๆ มันก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก
แต่พอมันใกล้เต็มบิวเรตนี่ซิ
มีการกะกันผิดพลาด
สารละลายที่เทลงไปนั้นมันไหลลงบิวเรตไม่สะดวก
เนื่องจากอากาศไหลออกจากบิวเรตไม่สะดวกเพราะตัวกรวยเองนั้นวางแนบกับขอบบนของบิวเรต
พอเทสารละลายกรดลงไปในกรวย
สารละลายจึงค้างอยู่ในกรวยก่อน
เพราะอากาศในบิวเรตก็พยายามที่จะไหลออกผ่านทางกรวยเช่นเดียวกัน
จึงทำให้ของเหลวค่อย ๆ
ไหลจากกรวยลงบิวเรต
ทีนี้พอกะปริมาณสารละลายในกรวยกับที่ว่างในบิวเรตผิดพลาด
จึงทำให้สารละลายกรดหกล้นออกมานอกบิวเรต
วิธีที่ดีกว่าในการเทของเหลวลงบิวเรตคือ
สวมกรวยลงไปบนปากบิวเรต
เอามือข้างหนึ่งจับที่บิวเรตบริเวณข้างใต้กรวย
จากนั้นเอานิ้วหัวแม่มือดันให้กรวยยกตัวขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้เกิดช่องว่างระหว่างกรวยกับบิวเรตสำหรับให้อากาศไหลออก
(ดังรูปข้างล่าง)
พอเทของเหลวลงไปในกรวยของเหลวจะไหลลงบิวเรตได้สะดวก
เพราะอากาศไหลออกจากบิวเรตทางช่องว่างนี้
ไม่ไหลสวนทางกับของเหลวที่ไหลลงมาจากกรวย
ไม่รู้กันว่าสัปดาห์หน้าจะได้เห็นเทคนิคแปลก
ๆ ใหม่ ๆ อีกหรือไม่
รอลุ้นอยู่เหมือนกัน