Octave
Levenspiel เกิดในเมือง
Shanghai
ประเทศจีนในปีค.ศ.
๑๙๒๖
(พ.ศ.
๒๔๖๙)
จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมเคมีในปีค.ศ.
๑๙๕๒
Prof.
Levenspiel เป็นผู้เขียนตำรา
Chemical
Reaction Engineering รุ่นแรกของสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
(สมัยผมเรียนป.ตรีก็ใช้ตำราเล่มนี้)
ในปีค.ศ.
๑๙๙๓
(พ.ศ.
๒๕๓๖)
Prof. Levenspiel ได้เขียนบทความลงในวารสาร
"Chemical
Engineering Research and Design : Transcations of the Institiute of
Chemical Engineers Part A"
ซึ่งเป็นวารสารวิชาการของสมาคมวิชาชีพวิศวกรรมเคมีของสหราชอาณาจักร
ในบทความเรื่อง "Anomaly
Hunters" ตีพิมพ์ในวารสารฉบับพิเศษประจำเดือนพฤศจิกายน
ปีค.ศ.
๑๙๙๓
หรือเมื่อ ๑๙ ปีที่แล้ว
ในบันทึกนี้ผมเอามาลงให้ดูเพียง
๓ หน้าแรก
ซึ่งก็คงจะทำให้พวกคุณแปลกใจว่าทำไมวารสารวิชาการทางด้านวิศวกรรมเคมีจึงมีเรื่องไดโนเสาร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
แล้วอยู่ดี ๆ ก็เลี้ยวไปเป็น
Fluidised
bed
ส่วนตอนจบจะเป็นอย่างไรนั้นก็ลองไปอ่านในบทความฉบับเต็มที่ผมส่งแยกมาเป็นไฟล์ต่างหาก
ถ้าสนใจติดตามเรื่องนี้ต่อ
ก็ลองไปอ่านที่เว็บ http://www.levenspiel.com/octave/dinosaurs.htm
ซึ่งเป็นเว็บของ
Prof.
Levenspiel เอง
และในเว็บนี้คุณก็สามารถดาวน์โหลดบทความเรื่องไดโนเสาร์ในรูปแบบ
pdf
ได้เองด้วย
โดยต้องอาศัยความรู้เรื่อง
Bernoulli's
equation ร่วมด้วย
ผมบอกกับนิสิตที่จะมาเรียนป.โทกับผมเสมอว่า
ถ้าเรียนแล้วไม่สามารถพูดคุยเรื่องอะไรได้นอกจากเรื่องที่ตัวเองทำวิจัยก็อย่ามาเรียนเลย
แสดงว่ายิ่งเรียนยิ่งโง่
คนที่เรียนสูงขึ้นไม่เพียงแต่ต้องมีความรู้ลึกในด้านศาสตร์ที่ตัวเองเรียนแล้ว
ยังควรที่จะต้องมีความรู้ที่กว้างขวางมากขึ้นในด้านอื่น
ๆ รอบตัวด้วย แต่ปัจจุบันดูเหมือนว่าทั้งอาจารย์
นักวิจัย
และนิสิตจำนวนไม่น้อยมองว่าการศึกษาหาความรู้ด้านอื่นนอกเหนือจากงานที่ตัวเองทำวิจัยนั้นเป็นเรื่องเสียเวลาเปล่า
เพราะมันไม่ได้ช่วยให้มีผลงานที่เอาไปขอผลตอบแทนได้
บทความของ
Prof.
Levenspiel ที่ผมเอามาให้ดูนั้นเขียนด้วยภาษาอังกฤษที่เรียบง่าย
ไม่ซับซ้อนอะไร
แต่ใช่ว่าจะอ่านแล้วเข้าใจว่าเขาเขียนถึงเรื่องอะไร
เพราะจำเป็นต้องมีความรู้รอบตัวในเรื่องต่าง
ๆ หลายด้านมาก
โดยเฉพาะเรื่องประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ในวงการต่าง
ๆ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในหน้าแรก
ผมสงสัยอยู่เหมือนกันว่าบทความฉบับนี้จะมีสักกี่คนในวงการวิศวกรรมเคมีในบ้านเราที่จะอ่านแล้วเข้าใจ