บทความนี้เขียนเล่น
ๆ ไม่มีสาระนะ
ผมเห็นคนเขาโพสท่าโยคะ
ที่ยืนด้วยขาขวา
ยกขาซ้ายขึ้นให้ขาท่อนบนขนานพื้น
ขาท่อนล่างพับมาข้างหน้า
ในขณะเดียวกันก็ก้มตัวไปข้างหน้า
ลำตัวขนานพื้น
มือซ้ายเอื้อมไปจับเท้าซ้ายเอาไว้
ส่วนมือขวาก็เหยียดตรงไปข้างหน้าขนานพื้น
จากการค้นเน็ตพบว่าเขาเรียกท่านี้ว่า
"ท่าเต้นรำประยุกต์"
ถ้านึกภาพไม่ออกก็ลองดูรูปที่
๑ ข้างล่าง
รูปที่
๑ Free
body diagram ของโยคะท่าเต้นรำประยุกต์
ที่แตกต่างจากรูปทั่วไปที่ค้นพบในอินเทอร์เน็ตคือรูปที่ค้นเจอนั้นล่างส่วนขาท่อนล่างและลำตัวจะแอ่นโค้งเว้าขึ้น
ในขณะที่รูปที่ผมเห็น
(ไม่กล้าเอามาลง)
เขาจะวางขาท่อนบนและลำตัวได้ขนานพื้นมากกว่า
ที่ผมแปลกใจในตอนแรกที่เห็นรูป
(ที่ผมไม่ได้เอามาลงให้ดูเพราะเกรงว่าเดี๋ยวเขาจะรู้จักผม)
ก็คือ
เขาทำให้ส่วนขาและลำตัววางค่อนข้างจะ
"ขนาน"
กับพื้นได้อย่างไร
ผมเองลองทำท่าดังกล่าวดูก็ไม่สำเร็จ
(เกรงว่าขาและหลังจะหักและหัวจะทิ่มพื้นซะก่อน)
เท่าที่เคยเห็นในรูปนั้นผู้ทำจะแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของลำตัวและส่วนขา
คือสามารถพับขามาข้างหน้าและแอ่นตัวไปทางด้านหลังได้มาก
จนส่วนขาที่ยกขึ้นและส่วนลำตัวนั้นมีลักษณะที่
"โค้งเว้าขึ้น"
และถ้าข้อต่อส่วนขาและลำตัวนั้นมีความอ่อนตัวมาก
ก็จะโค้งได้เกือบเป็นรูปตัว
U
เพื่อตอบข้อสงสัยดังกล่าวก็เลยลองวาดรูป
Free
body diagram ของคนที่ทำท่าทางดังกล่าว
(รูปที่
๑)
แล้วก็ไปขุดคุ้ยเอาความรู้วิชาสถิตศาสตร์
(Engineering
Statics) ที่เคยเรียนเมื่อเกือบ
๓๐ ปีที่แล้วมาวิเคราะห์แรงสักหน่อย
การที่สามารถยืนอยู่บนขาข้างเดียวได้อย่างสมดุลนั้น
แสดงว่าโมเมนต์ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
(ด้านซ้าย)
เท่ากับโมเมนต์ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
(ด้านขวา)
โดยมีตำแหน่งบนเท้าข้างขวาเป็นจุดหมุน
จากการพิจารณา
Free
body diagram
เห็นว่าน้ำหนักของส่วนสะโพกและขาขวาข้างที่ใช้ยืนนั้นจะตกลงสู่จุดหมุน
ดังนั้นโมเมนต์ที่เกิดจากน้ำหนักของส่วนสะโพกและลำตัวจะกลายเป็นศูนย์
จากรูปที่
๑
น้ำหนักที่ทำให้เกิดโมเมนต์ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาคือส่วนของขาท่อนบน
(ต้นขา)
และขาท่อนล่าง
(น่อง)
ส่วนน้ำหนักที่ทำให้เกิดโมเมนต์ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาคือส่วนของลำตัว
แขนซ้าย ศีรษะ และแขนขวา
แม้ว่าศีรษะและแขนขวาจะมีน้ำหนักที่ไม่มากเมื่อเทียบกับส่วนของลำตัวหรือท่อนขา
แต่เนื่องจากตำแหน่งจุดศูนย์กลางมวล
(centre
of mass) ของมันอยู่ที่ตำแหน่งห่างจากจุดหมุนมากกว่าส่วนอื่น
ดังนั้นจึงไม่สามารถตัดออกจากการพิจารณาได้
ต่อไปก็เป็นการพิจารณาตำแหน่งจุดศูนย์กลางมวลโดยรวม
ในกรณีนี้พบว่าตำแหน่งจุดศูนย์กลางมวลของมวลทางด้านซ้าย
(น้ำหนัก
ต้นขา +
น่อง
=
w1)
นั้นจะอยู่ใกล้กับแนวแกนที่เป็นแกนหมุนมากกว่าตำแหน่งจุดศูนย์กลางมวลของมวลทางด้านขวา
(น้ำหนัก
ลำตัว +
ศีรษะ
+
แขนขวา
=
w2) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือระยะ
d1
< d2
ที่ภาวะสมดุลนั้นผลรวมของโมเมนต์ตามและโมเมนต์ทวนต้องเท่ากับศูนย์หรือ
w1d1
= w2d2 แต่เนื่องจาก
d1
< d2 นั่นก็แสดงว่า
w1
> w2
ถ้าแปลเป็นภาษาธรรมดาก็เห็นจะสรุปได้ว่าคนที่สามารถยืนท่านี้ได้โดยที่สามารถวางลำตัวได้ขนานพื้น
(หรือใกล้เคียง)
และไม่มีอุปกรณ์เสริมนั้น
ควรเป็นคนที่มี "น่องโตและต้นขาใหญ่"
คงต้องขอบอกว่าอย่าโทษผมนะ
หลักวิชาการมันพาผมไปสู่ข้อสรุปอย่างนั้นเอง
:)