จากเรื่อง
"ชีวิตคุณย่า"
โดย
เหม เวชกร ในหนังสือชุด "ภูติ
ผี ปิศาจ ไทย ๑๐๐ ปี เหม เวชกร"
ตอนใครอยู่ในอากาศ
โดยสำนักพิมพ์วิริยะ
พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗
"จากเรื่องผีของครูเหม
ทำให้ได้รู้ว่าในอดีตเคยมีรถไฟวิ่งจากบางยี่ขันไปบางบัวทอง,
ปากคลองตลาดเคยเป็นที่ตั้งห้างฝรั่ง
..."
คำนิยมในหนังสือชุด
"ภูติ
ผี ปิศาจ ไทย ๑๐๐ ปี เหม เวชกร"
โดย
จุลศักดิ์ อมรเวช หรือ จุก
เบี้ยวสกุล
นิยายเรื่อง
"ชีวิตคุณย่า"
ที่ยกมาข้างต้นนั้น
ให้คำบรรยายถึงรถยนต์รางหรือรถไฟขนาดเล็ก
ที่เคยวิ่งจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาแถววัดบวรมงคล
(หรือวัดลิงขบ)
ไปตัดกับทางรถไฟสายใต้ที่มาจากสะพานพระราม
๖ ที่สถานีบางบำหรุ
ก่อนผ่านไปยังบางกรวยและบางบัวทอง
รถไฟสายบางบัวทองนี้มีบางที่จะเรียกชื่อตามเจ้าของคือ
"รถไฟสายเจ้าคุณวรพงษ์"
หรือ
"รถไฟสายพระยาวรพงษ์"
แนวเส้นทางรถไฟสายนี้ส่วนที่เริ่มจากวัดบวรมงคลปัจจุบันคือซอยพระยาวรพงษ์หรือซอยจรัญสนิทวงศ์
๔๖ นั่นเอง ตัดไปยังซอยฝั่งตรงข้าม
(จรัญสนิทวงศ์
๕๗)
ไปโผล่ที่สถานีรถไฟบางบำหรุ
ส่วนถัดไปจากนั้นคือแนวถนนเทอดพระเกียรติไปจนบรรจบถนนสายบางกรวย-ไทรน้อย
และตามถนนสายบางกรวย-ไทรน้อยไปยังท่าน้ำนนท์ฝั่งตรงข้ามศาลากลาง
(หลังเก่า)
และอำเภอบางบัวทอง
ในนิยายเรื่องดังกล่าวยังกล่าวถึงรถยนต์รางที่
"ปากลัดพระประแดง"
เส้นทางสายนี้
B.R.
Whyte กล่าวไว้ในหนังสือของเขา
(รูปที่
๔)
ว่าเป็นเส้นทางสั้น
ๆ ยาวประมาณ 1900
เมตร
หนังสือเรื่องผีของ
เหม เวชกร นั้น
หวังว่าในงานสัปดาห์หนังสือที่กำลังจะถึงในวันศุกร์นี้ยังพอหาซื้อได้
ที่ร้านหนังสือสารคดี
ถ้าใครยังไม่มีก็ขอแนะนำให้ซื้อเก็บเอาไว้
ผมรู้จักเส้นทางรถไฟสายนี้ครั้งแรกตอนที่มหาวิทยาลัยจัดแสดงนิทรรศการแผนที่เก่าของกรุงเทพที่หอสมุดกลาง
แล้วไปสังเกตเห็นว่าแถวบ้านเคยมีทางรถไฟจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาไปบางบัวทอง
เส้นทางรถไฟสายบางบัวทองนี้มีกลุ่มคนสนใจศึกษาประวัติศาสตร์กันมาก
ที่รวบรวมไว้ดีมากที่หนึ่งคือที่เว็บ
"รถไฟไทยดอทคอม
-
http://portal.rotfaithai.com" หรือจะไปอ่านที่
http://www.th.wikipedia.org
ก็ได้
ในที่นี้ผมเพียงเอารูปที่เกี่ยวกับรถไฟสายนี้จากเอกสารที่มีในมือมาเล่าให้ฟังคือ
"Air
objective folder Thailand"
ซึ่งเป็นคู่มือของกองทัพอากาศสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่
๒ ที่มีแผนที่เส้นทางรถไฟในประเทศไทยที่เป็นเป้าหมายโจมตีทางอากาศ
และจากหนังสือที่เขียนโดยชาวต่างชาติอีกสองเล่มคือ
"The
Railway Atlas of Thailand, Laos and Cambodia" โดย
R.R.
Whyte และ
"The
Railways of Thailand" โดย
R.
Ramaer และเท่าที่ค้นเจอในราชกิจจานุเบกษา
รูปที่
๑ แผนที่แนบท้ายราชกิจจานุเบกษาเล่มที่
๕๔ หน้า ๑๘๕๙ วันที่ ๑๔ มีนาคม
พ.ศ.
๒๔๘๐
เรื่อง "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบางบัวทอง
จังหวัดนนทบุรี พุทธศักราช
๒๔๘๐"
จะเห็นแนวทางรถไฟปรากฏอยู่ในแผนที่
(ตามแนวเส้นประสีแดง)
รูปที่
๒ หน้าสารบัญของเอกสาร
Air
objective folder Thailand ฉบับวันที่
๑ กุมภาพันธ์ ๑๙๔๓ (พ.ศ.
๒๔๘๖)
ของหน่วยข่าวกรองทางทหารของสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่
๒ ในเอกสารนี้มีรายละเอียดเป้าหมายการทิ้งระเบิดของสถานที่สำคัญต่าง
ๆ ในกรุงเทพและรูปถ่ายสถานที่ที่เป็นเป้าหมาย
มีการระบุเอาไว้ด้วยว่าห้ามเอาติดขึ้นเครื่องเมื่อออกปฏิบัติการโจมตี
เอาไว้ว่าง ๆ จะค่อย ๆ
ตัดตอนออกมาเล่าสู่กันฟัง
รูปที่ ๓ รูปนี้ขยายออกมาจากแผนที่ในหน้า ๒๓ ของเอกสาร Air objective folder Thailand มีปรากฏชื่อสถานีรถไฟบางบัวทอง (ปัจจุบันคือบริเวณวัดบวรมงคล) และจุดตัดทางรถไฟสายใต้ที่สถานีรถไฟบางบำหรุ แนวทางรถไฟคือตามเส้นประสีแดง
รูปที่ ๓ รูปนี้ขยายออกมาจากแผนที่ในหน้า ๒๓ ของเอกสาร Air objective folder Thailand มีปรากฏชื่อสถานีรถไฟบางบัวทอง (ปัจจุบันคือบริเวณวัดบวรมงคล) และจุดตัดทางรถไฟสายใต้ที่สถานีรถไฟบางบำหรุ แนวทางรถไฟคือตามเส้นประสีแดง
รูปที่
๔ หนังสือ "The
Railway Atlas of Thailand, Laos and Cambodia" โดย
ฺB.R.
Whyte และ
"The
Railways of Thailand" โดย
R.
Ramaerที่มีการรวบรวมเรื่องราวต่าง
ๆ ของเส้นทางรถไฟต่าง ๆ
ที่เคยมีในเมืองไทยในอดีต
รูปที่
๕ ภาพเขียนหัวรถจักรรถไฟสายบางบัวทอง
(จากหนังสือ
"The
Railways of Thailand" โดย
R.
Ramaer หน้า
๑๘๓)
รูปที่
๖ ภาพหัวรถจักรรถไฟสายบางบัวทอง
(จากหนังสือ
"The
Railways of Thailand" โดย
R.
Ramaer หน้า
๑๘๔)
รูปที่
๗ หัวรถจักรรถไฟสายบางบัวทอง
หลังจากเลิกกิจการได้ถูกขายต่อให้กับบริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย
(ภาพจากหนังสือ
"The
Railways of Thailand" โดย
R.
Ramaer หน้า
๑๘๔)
รูปที่
๘ แผนที่แนบท้ายราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ ๔๗ หน้า ๑๐ วันที่
๑๑ พฤษภาคมพ.ศ.
๒๔๗๓
เรื่อง
พระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นสร้างรถไฟราษฎร์สายบางบัวทอง
รูปนี้แสดงบริเวณแยกไปทางน้ำนนท์ฝั่งตรงข้ามศาลากลางจังหวัดหลังเก่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น