เป็นเรื่องปรกติที่ช่วงเวลานี้ของปี
สารคดีสงครามโลกครั้งที่
๒ ที่สร้างจากฝั่งอังกฤษหรืออเมริกา
มักจะกล่าวถึงวัน D-Day
หรือวันยกพลขึ้นบกของกองทัพ
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และแคนาดา
ที่หาดนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส
ในวันอังคารที่ ๖ มิถุนายน
ค.ศ.
๑๙๔๔
(พ.ศ.
๒๔๘๗)
เนื้อหาของสารคดีมักจะเป็นไปในทำนองเดียวกัน
คือการกล่าวถึงความสำเร็จของกองทัพพันธมิตรตะวันตกในการหลอกให้กองทัพเยอรมันเชื่อว่าการยกพลขึ้นบกของจริงจะเกิดขึ้นขึ้นที่เมือง
Calais
ซึ่งเป็นช่วงที่แคบสุดของช่องแคบอังกฤษ
ไม่ใช่ที่หาดนอร์มังดี
แต่ในหนังสือ
"The
German Generals Talk" ของ
B.H.
Liddell Hart
ที่ได้สัมภาษณ์นายพลเยอรมันที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันแนวรบด้านตะวันตกในช่วงนั้น
(จอมพล
von
Runstedt และนายพล
Blumentritt)
และจัดพิมพ์ขึ้นหลังสงครามสิ้นสุดเพียง
๓ ปี (พิมพ์ในปีค.ศ.
๑๙๔๘
หรือพ.ศ.
๒๔๙๑)
ได้ให้ภาพที่แตกต่างออกไป
รูปที่
๑
เส้นทางการเดินทัพของกองทัพสัมพันธมิตรชาติตะวันตกจากนอร์มังดีไปยังเยอรมัน
รูปจากบทที่ ๑๗ Paralysis
in Normandy ในหนังสือ
"The
German Generals talk" ของ
B.H.
Liddell Hart ในกรอบสีแดงข้างบนคือเมือง
Calais
ที่คาดว่าการยกพลขึ้นบกจะเกิดขึ้น
ส่วนในกรอบสีเขียวข้างล่างคือหาดนอร์มังดีที่มีการยกพลขึ้นบกเกิดขึ้นจริง
เหตุผลหลักที่กองทัพพันธมิตรตะวันตกยกพลไม่ยกพลขึ้นบกในตำแหน่งทีช่องแคบอังกฤษแคบที่สุดก็เพราะคาดว่าเยอรมันเองก็ต้องเตรียมกำลังไว้หนาแน่นในบริเวณนั้น
และความแข็งแกร่งของ "Atlantic
wall" ที่ฝ่ายเยอรมันเองโฆษณาว่าแข็งแกร่ง
แต่ถึงกระนั้นก็พยายามหลอกให้ฝ่ายเยอรมันเชื่อว่าการยกพลขึ้นบกจะเกิดที่บริเวณ
Calais
จริง
จอมพล
von
Runstedt ที่กำกับดูแลแนวรบด้านนี้
(เป็นโดยนาม
โดยผู้มีอำนาจออกคำสั่งจริงคือฮิตเลอร์)
ให้สัมภาษณ์แก่
Liddell
Hart ว่า
อันที่จริงกองทัพเยอรมันในแนวรบด้านตะวันตกมีเพียง
๕๙ กองพล ต้องดูแลแนวฝั่งที่ยาวถึง
๓,๐๐๐
ไมล์ จากอิตาลีตอนใต้ไปจนถึงนอร์เวย์ตอนเหนือ
และส่วนใหญ่ก็เป็นกองกำลังป้องกันชายฝั่ง
หรือกองพลประเภท "low
grade" หรือไม่ก็มีเพียงแต่ชื่อเท่านั้น
(ในขณะนั้นการรบทางแนวรบด้านตะวันออกกับรัสเซียหนักมาก
กองทัพเยอรมันวางกำลังไว้รับมือกับรัสเซียถึง
๑๕๐ กองพล
แนวรบด้านตะวันตกในฝรั่งเศสใช้เป็นที่พักฟื้นหน่วยทหารที่บอบช้ำมาจากการรบในแนวรบด้านตะวันออก)
และความแข็งแกร่งของ
"Atlantic
wall" นั้นก็เป็นเพียงภาพลวงตา
จอมพล
von
Runstedt ยังกล่าวต่อไปว่า
เขารู้สึกแปลกใจที่ทัพพันธมิตรชาติตะวันตกไม่ยกพลขึ้นบกที่บริเวณ
Calais
นี้
เพราะถ้ายกพลขึ้นบกที่นี่จะสามารถเดินทางไปถึงพรมแดนเยอรมันได้ภายใน
๔ วันเท่านั้น (แต่พอไปยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี
กลับต้องใช้เวลาถึง ๖ เดือน)
นี่นับว่าเป็นสิ่งที่กองทัพเยอรมันหลอกทัพพันธมิตรชาติตะวันตกได้
คือหลอกว่าถ้ายกพบขึ้นบกที่แถว
Calais
จะพบกับการต้านทานอย่างหนักและมีการเตรียมความพร้อมอย่างดี
จากหนังสือของ
Liddell
Hart นั้นทำให้ทราบว่าทั้ง
ฮิตเลอร์ จอมพล von
Runstedt จอมพล
Rommel
และนายพล
Blumentritt
ต่างคาดการณ์เอาไว้แล้วว่าพันธมิตรชาติตะวันตกจะทำการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี
แต่สิ่งที่บรรดาผู้นำทัพเยอรมันคาดการณ์คือการยกพลขึ้นบกจะเกิดขึ้นที่
Calais
ด้วย
คือการยกพลขึ้นบกจะเกิดขึ้นที่สองแห่ง
(ถูกหลอกด้วยตัวเลขจำนวนทหารอเมริกาที่ถูกส่งเข้ามาเตรียมตัวในอังกฤษ)
นี่นับว่าเป็นสิ่งที่พันธมิตรตะวันตกหลอกกองทัพเยอรมันได้
คือหลอกว่าจะมีการยกพลขึ้นบกที่
Calais
อีกแห่ง
ทำให้ทางกองทัพเยอรมันลังเลใจที่จะเคลื่อนกองหนุนจากทางด้านเหนือลงมาปิดกั้นการยกพลขึ้นบกทางด้านใต้
ผลจากการยกพลขึ้นบกได้สำเร็จแต่ที่สถานที่ที่ไม่เหมาะสมเท่าใดนัก
ทำให้ทัพพันธมิตรชาติตะวันตกไปติดค้างอยู่บริเวณดังกล่าวร่วม
๒ เดือนกว่าที่จะทำลายกำแพงกองทัพเยอรมันที่ขวางอยู่ได้
ในฐานะที่เป็นผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่
๒ คนหนึ่ง ตรงนี้คงต้องขอชมทหารเยอรมันว่า
ตามมาตรฐานของเยอรมันแล้ว
ทหารเหล่านี้อาจจัดได้ว่าเป็นทหารเกรดสอง
(ตามที่จอมพล
von
Runstedt กล่าวไว้)
หรือเป็น
กองกำลังที่อยู่ระหว่างการพักฟื้น
แต่ก็สามารถต้านทานกองกำลังที่เหนือกว่าทั้งด้านกำลังพล
การฝึกฝน และการสนับสนุนทั้งทางบกและทางอากาศได้นานร่วม
๒ เดือน (ในขณะนั้นทัพอากาศพันธมิตรครองน่านฟ้าฝรั่งเศสแล้ว
ทำให้ทัพเยอรมันประสบปัญหาในการเคลื่อนกำลังตอนกลางวัน)
และจะว่าไปแล้วสมรภูมิการรบใหญ่ในยุโรปในเดือนมิถุนายน
ปีค.ศ.
๑๙๔๔
ไม่ใช่ที่นอร์มังดีในฝรั่งเศส
แต่เป็นทางด้านแนวรบตะวันออกใน
Belorussian
(บางที่เรียกว่า
White
russia ซึ่งปัจจุบันคือ
Belarus)
ในปฏิบัติการทางทหารที่เรียกว่า
"Operation
Bagration" ของกองทัพรัสเซียที่กระทำต่อ
Army
Group Centre ของกองทัพเยอรมัน
ในปฏิบัติการของทัพรัสเซียในครั้งนั้นกองทัพเยอรมันเสียทหารไปกว่า
๓๐๐,๐๐๐
นายหรือประมาณ ๓๐ กองพล
ในขณะที่กองทัพพันธมิตรชาติตะวันตกเพิ่งจะหาทางออกจากบริเวณนอร์มังดีมาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น