ช่วงตั้งแต่เปิดเทอมที่ผ่านมา
ผมรู้สึกแปลก ๆ
กับโปสเตอร์ตัวหนึ่งที่มีการนำมาวางไว้ทั่วมหาวิทยาลัย
(โดยหน่วยงานใดก็ไม่รู้
เดาว่าน่าจะเป็นส่วนของกิจการนิสิต)
คือเป็นรูปนิสิตหญิงยืนประนมมือไหว้ที่ระดับอก
และมีข้อความติดเอาไว้ว่า
"อนุรักษ์ความเป็นไทย
ในโลกาภิวัฒน์"
(ดูรูปข้างล่าง)
ที่ผมสงสัยคือ
เขาต้องการสื่ออะไร ยกมือไหว้
หรือยืนฟังเทศน์
แต่โดยส่วนตัวคิดว่าการยืนฟังเทศน์มันไม่ใช่ขนบธรรมเนียมไทย
ในหน้าเว็บเครือข่ายกาญจนภิเษก
(http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/mthai/res.html)
ในหัวข้อการแสดงความเคารพนั้น
ได้ให้รายละเอียดวิธีการแสดงความเคารพตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
ซึ่งขอคัดลอกมาบางเรื่องดังนี้
๑.
การประนมมือ
(อัญชลี)
ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน
ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น
แขนแนบตัวระดับอก ไม่กาง
ศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน
การประนมมือนี้ใช้ใน การสวดมนต์
ฟังพระสวดมนต์ ฟัง พระธรรมเทศนา
และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น
ที่เคารพนับถือ เป็นต้น
(ดูรูปข้างบน)
๒.
ไหว้
(วันทนา)
การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม
มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้
การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น
3
แบบ
ตามระดับของบุคคลดังนี้
ระดับที่
1
การไหว้พระ
ได้แก่การไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย
สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้
โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้
"จรดส่วนบนของหน้าผาก"
ชาย
ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น
ไหว้
หญิง
ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย
ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด
พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้
ระดับที่
2
การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้มีอาวุโส
ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย
ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถืออย่างสูง
โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้
"จรดระหว่างคิ้ว"
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
หญิง
ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ
โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ
ขึ้นไหว้
ระดับที่
3
การไหว้บุคคลทั่ว
ๆ ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส
รวมทั้งผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือยกขึ้นให้ปลายนิ้วชี้
"จรดปลายจมูก"
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้
หญิง
ยืนแล้วย่อเข่าลง
น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ
โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย
พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชายและหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกันหรือในเวลาใกล้เคียงกัน
ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็นหมู่คณะควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน
การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้
ปฏิบัติให้เรียบ
ร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม
๓.
การรับความเคารพ
เมื่อผู้น้อยมาทำความเคารพ
ควรรับความเคารพด้วยการประนมมือหรือค้อมศีรษะรับตามควรแก่กรณี
(ตรงนี้ในเว็บไม่ได้ให้รายละเอียดการประนมมือเอาไว้
แต่ทั่วไปที่ปฏิบัติกันผู้ใหญ่จะประนมมือที่ระดับหน้าอกที่เรียกกันว่ารับไหว้)
ที่นำมาข้างต้นเป็นรูปแบบการไหว้ที่ได้เรียนรู้มาแต่เด็ก
อีกอย่างที่ได้เรียนมาแต่เด็กก็คือการไหว้ที่ยกมือขึ้นประนมไว้ที่ระดับหน้าอกนั้นมีไว้สำหรับ
"ให้ผู้ใหญ่รับไหว้ผู้ที่อ่อนกว่า"
และสำหรับ
"นั่งสวดมนต์
ฟังเทศน์ ฟังธรรม"
(ตามข้อ
๑.)
แต่ท่านี้กลับเป็นท่าที่รู้สึกว่ามีการเผยแพร่กันมากเหลือเกิน
ไม่ว่าจะเป็นท่าที่พนักงานต้อนรับใช้ต้อนรับแขก
ภาพโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ของร้านค้าต่าง
ๆ แม้กระทั่งชาวต่างชาติเวลายกมือไหว้ก็ยังเห็นทำแบบนี้
(คือเขาคงคิดว่าการไหว้คือการยกมือประนมที่ระดับหน้าอก
แต่เรื่องนี้จะไปโทษเขาไม่ได้
ต้องกลับมาดูว่าเราให้เขาเรียนรู้วัฒนธรรมของเราอย่างไร)
และตอนนี้ก็เห็นลามมาถึงภาพเชิญชวนรณรงค์ให้
"อนุรักษ์"
วัฒนธรรมไทยในมหาวิทยาลัย
บางหน้าเว็บที่สอนการไหว้นั้นเอารูปนิสิตมหาวิทยาลัย
(มีการบอกด้วยว่าเป็นฑูตวัฒนธรรม)
ยกมือขึ้นประนมที่ระดับอกเพื่อไหว้อาจารย์
โดยอาจารย์ก็ยกมือขึ้นรับไหว้ที่ระดับอกเช่นเดียวกัน
ผมมองว่าถ้าอยากรณรงค์ให้อนุรักษ์วัฒนธรรมในเรื่องการไหว้ในการทักทายกัน
ก็ควรแสดงท่าไหว้ที่ถูกต้อง
ซึ่งมันมีหลายแบบและขึ้นอยู่กับระดับบุคคลที่จะทำการไหว้
แต่ถ้าไม่อยากให้มีอะไรบังหน้าตานายแบบนางแบบ
ก็ควรหาภาพทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ไม่ใช่ยกมือไหว้แบบแปลก
ๆ นี้
และถ้าอยากจะบอกว่าสิ่งที่ผมเคยเรียนมาตั้งแต่เด็กนั้นเป็นสิ่งล้าสมัย
ปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ก็ไม่ควรนำคำว่า "อนุรักษ์"
มาใช้ในโปสเตอร์ดังกล่าว
โปสเตอร์รณรงค์การไหว้ที่ผมเห็นว่าดีนั้นกลับเป็นโปสเตอร์เล็ก
ๆ มีไม่กี่แผ่นติดอยู่ที่ประตูทางเข้าโรงเรียน
ลองดูเอาเองแล้วกันว่าเมื่อเห็นแล้วรู้สึกแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น