บ้านผมนั้นอยู่สุดซอย
ซอยนี้กว้างเพียงแค่รถเก๋งสองคันสวนทางกันได้
บ้านหลังเก่านั้นอยู่ตรงข้ามกับบ้านหลังนี้
ตอนเด็ก ๆ ก็เตะบอลเล่นบ้าง
ตีแบดเล่นบ้าง
พอลูกบอลหรือลูกแบดลอยไปตกในบ้านหลังนี้ก็ต้องปีนเข้าไปเก็บเป็นประจำ
(กลางวันเจ้าของบ้านเขาไม่อยู่
เขาไปเปิดร้านค้าอยู่ริมถนนใหญ่)
พอเขาจะย้ายออกไปทางคุณพ่อคุณแม่ของผมก็ไปซื้อต่อมา
นั่นก็กว่า ๒๐ ปีที่แล้ว
ส่วนมะม่วงที่อยู่หน้าบ้านนั้นเจ้าของเดิมเขาปลูกเอาไว้
ถ้านับอายุถึงปัจจุบันก็หย่อน
๔๐ ปีไม่เท่าไร
ผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมาหลายครั้ง
แต่ก็ยังคงมีผลให้เก็บกินเป็นประจำ
ที่เก็บกินได้ก็เฉพาะพวกที่อยู่ต่ำ
ๆ พอจะสอยถึง
พวกที่อยู่สูงกว่านั้นต้องใช้บันไดพาดปีนแล้วสอยต่อ
ตอนหลังก็ขี้เกียจเก็บ
(ประเภทสอยมะม่วงมีแถมรังมดแดง)
ก็เลยปล่อยให้เป็นอาหารกระรอกกับกระแตที่วิ่งเล่นกันอยู่ทั่วไปหมด
ทั้งบนต้นไม้ ขอบรั้ว
และหลังคาบ้าน
ด้วยความที่มันเป็นไม้ใหญ่อายุมาก
โคนต้นจึงร่มรื่นตลอดเวลา
มีแต่แสงแดดที่ส่องลอดช่องระหว่างใบเท่านั้นที่ส่องถึงพื้น
ก็เลยใช้เป็นที่ผูกชิงช้าให้ลูกนั่งเล่น
ชิงช้าที่ทำขึ้นก็ไม่มีอะไรซับซ้อน
ใช้เชือกไนลอนที่ยาวประมาณ
๑๐ เมตร เอาตรงกลางไปพันไว้กับง่ามกิ่งที่อยู่เหนือพื้นสัก
๔-๔
เมตร ส่วนปลายเชือกข้างล่างก็เอามาผู้กับท่อนไม้ฉำฉา
(เก็บมาจากเศษไม้ที่เขาทิ้งจากการรื้อลังอุปกรณ์ที่เขาส่งมายังที่ทำงาน)
กลายเป็นชิงช้าแบบง่ายที่คนนั่งต้องคอยเกาะเชือกเอาไว้
ชิงช้าที่มีระยะแกว่งขนาด
๔ เมตรนี้มันสนุกกว่าชิงช้าตามสนามเด็กเล่นที่มีระยะแกว่งไม่ถึง
๒ เมตรมาก
ทำชิงช้าเสร็จก็เป็นหน้าที่ของผู้เป็นพ่อต้องเล่นก่อน
ก็คือทดสอบความแข็งแรงนั่นแหละว่าเชือกคงไม่ขาดและกิ่งคงไม่หัก
จากนั้นจึงค่อยให้ลูกเล่นได้
นับตั้งแต่ผูกเชือกเส้นดังกล่าว
มันก็อยู่ตรงนั้นมาเกือบ
๑๕ ปีแล้ว
รูปที่
๑ (บน)
ต้นมะม่วงกับชิงช้าและแปลงบวบ
(ล่าง)
ดอกบวบที่กำลังจะกลายเป็นผล
เมื่อต้นฤดูร้อนที่ผ่านมามีลมพัดแรงบ่อยครั้ง
ต้นไม้ที่บ้านกิ่งหักไปหลายต้น
แต่ต้นมะม่วงต้นนี้ก็ยังคงอยู่
แต่มาวันหนึ่งรู้สึกว่าต้นมันเอียงไปเล็กน้อย
ดูที่โคนต้นก็เห็นดินด้านหนึ่งมันนูนขึ้นมา
ก็เลยคิดว่าถึงเวลาที่ต้องทำการตัดแต่งกิ่งขนานใหญ่
ทางคุณแม่ก็ติดต่อคนรับจ้างตัดต้นไม้เขามาดำเนินการให้
แต่เขาก็บอกให้รอไปก่อน
เอาไว้ให้เข้าใกล้หน้าฝนแล้วค่อยตัด
มันจะได้แตกกิ่งออกไปได้
ดังนั้นช่วงก่อนถึงหน้าฝนก็เลยเป็นหน้าที่ของผมที่ต้องตัดเล็มกิ่งเล็กออกไปก่อน
เพื่อไม่ให้มันต้านลมมากเกินไป
พอเขามาตัดเล็มกิ่งใหญ่ออก
หน้าบ้านก็สว่างจ้าเลย
แดดส่องดีในตอนบ่าย
พื้นดินที่แดดส่องแทบไม่ถึงขนาดหญ้ามาเลย์ยังขึ้นไม่ได้ก็ได้รับแดดแรง
ๆ สักที เห็นที่มันว่าง ๆ
อยู่ภรรยาก็เลยคิดอยากจะปลูกผักสวนครัว
แต่ด้วยความขี้เกียจของพ่อบ้าน
แทนที่จะขุดดินเป็นร่องให้ปลูกผัก
ก็ใช้วิธีขุดดินเป็นขอบกำแพงแทน
จากนั้นก็ใช้ดินสำเร็จรูปที่เขาขายเป็นถุงเทลงไป
ก็ได้แปลงผักเล็ก ๆ แปลงหนึ่ง
จากนั้นภรรยากับลูกก็เอาเมล็ดพันธ์ผักมาฝังไปทั่วแปลงนั้น
ผมก็ไม่รู้ว่าเขาฝังอะไรไปบ้าง
เพิ่งจะมารู้ตอนที่มันโตเป็นต้นแล้วก็คือมีถั่วเขียวกับบวบ
บวบเป็นไม้เลี้อยล้มลุก
พอมันงอกก็ต้องหาหลักให้มันเกาะ
ไม้ที่ใช้ทำหลักก็ใช้ไม้ไผ่ที่ตัดมาจากต้นไผ่ที่ปลูกเอาไว้ในบ้าน
กับท่อพีวีซีที่เหลือจากการสร้างบ้าน
ปลูกเอาไว้ไม่นานมันก็เลี้อยขึ้นเต็มซุ้มที่ทำเอาไว้
(ผมไม่ได้เป็นคนทำซุ้ม
แต่คุณแม่ผมเป็นคนทำให้)
พร้อมกับออกดอกเต็มไปหมด
ช่วงนี้มันก็ทยอยออกผลกันน่าดู
ทั้งลูกเล็กและลูกใหญ่
ก็เลยคิดว่าได้เวลาที่ต้องถ่ายรูปเก็บเอาไว้ก่อนที่มันจะเหี่ยวแห้งตาย
(ตามอายุของมัน)
รูปที่
๒ (บน)
ผลบวบที่ยังเล็กอยู่
(ล่าง)
ลูกที่โตขึ้นมาหน่อย
ที่เขียนเรื่องนี้ก็เพื่อเป็นการบันทึกความทรงจำให้ลูก
ๆ และเพื่อให้เด็กกรุงเทพได้รู้จักต้นไม้และรูปร่างหน้าตาของผลบ้าง
เวลาประชุมผู้ปกครองที่โรงเรียนทีไรคุณครูก็มักจะบอกถึงเด็กที่อยู่แต่ในคอนโด
บ้านกลางเมืองในหมู่บ้านที่ปลูกบ้านจนเต็มพื้นที่จนแทบไม่มีที่ให้ปลูกต้นไม้
หรือไม่ก็ปลูกแต่ไม้ประดับ
เด็กที่ไม่รู้จักว่าผลมะพร้าว
ลูกขนุน หรือทุเรียน
มีหน้าตาอย่างไร รูปที่เอาลง
blog
ก็เลือกใช้รูปขนาดใหญ่หน่อยเผื่อจะมีเด็กต้องการรูปไปทำรายงาน
ในโรงเรียนเองก็เน้นแต่ปลูกพวกไม้ดอกไม้ประดับ
รูปที่
๓ (บนและล่าง)
ต้นบวบที่เลี้อยอยู่บนซุ้ม
เดือนที่แล้วเขียนแต่เรื่องวิชาการติด
ๆ กันร่วมสิบตอน
เริ่มต้นเดือนใหม่ก็ขอประเดิมด้วยเรื่องเบา
ๆ ที่หาสาระไม่ค่อยได้ก็แล้วกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น