ผมมักจะบอกคนที่เรียนอินทรีย์เคมีเสมอว่า
ในการทำความเข้าใจปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับสารต่าง
ๆ นั้น อย่าไปมองว่าเป็นการทำสังเคราะห์
"สาร"
ใด
หรือเป็นการทำปฏิกิริยาของ
"สาร"
ใด
แต่ให้มองว่าเป็นการสังเคราะห์
"หมู่ฟังก์ชัน"
(functional group) ใด
หรือเป็นการทำปฏิกิริยาของ
"หมู่ฟังก์ชัน"
ใด
การมองเป็น
"หมู่ฟังก์ชัน"
แทนการมองเป็น
"สาร"
มันช่วยให้เข้าใจอะไรได้ง่ายขึ้นเยอะ
โดยเฉพาะการทำปฏิกิริยาของโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
ซับซ้อนมากขึ้น และมีหมู่ฟังก์ชันหลายหมู่
เพื่อให้เห็นภาพ
เราลองมาดูปฏิกิริยาตัวอย่างกัน
๑.
Chlorination of benzene
ปฏิกิริยาระหว่างธาตุฮาโลเจนกับไฮโดรคาร์บอนนั้นมีกล่าวกันอยู่ทั่วไปในตำราอินทรีย์เคมี
การแทนที่อะตอม H
ที่เกาะอยู่กับอะตอม
C
อิ่มตัวด้วยการทำปฏิกิริยากับ
Cl2
หรือ
Br2
นั้นไม่ใช่เรื่องยาก
แต่การแทนที่อะตอม H
ที่เกาะอยู่กับอะตอม
C
ที่เป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนอะโรมาติกนั้นเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก
และในกรณีหลังนี้จำเป็นต้องใช้ภาวะการทำปฏิกิริยาที่รุนแรงกว่าโดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาช่วย
ตัวอย่างเช่นในกรณีของปฏิกิริยาระหว่างเบนซีน
(C6H6)
กับ
Cl2
ภายใต้ภาวะการทำปฏิกิริยาที่เหมาะสมและมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม
(มักเป็นพวก
Lewis
acid ที่แรงเช่น
FeCl3)
อะตอม
Cl
จะสามารถเข้าไปแทนที่อะตอม
H
ที่เกาะอยู่กับวงแหวนได้
กลายเป็นสารประกอบ chlorobenzene
แต่ข้อเสียของปฏิกิริยานี้คือผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นมักจะเป็นผลิตภัณฑ์ผสมของ
chlorobenzene
ที่มีการแทนที่หลากหลายตำแหน่ง
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นไปได้ที่จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีการแทนที่ตั้งแต่
1-6
ตำแหน่ง
ทำให้ต้องมีการแยกผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นออกเป็นสารต่าง
ๆ อีกครั้ง chlorobenzene
ที่มีการแทนที่หลายตำแหน่งเช่น
1,2,4-trichlorobenzene
และ
1,2,4,5-tetrachlorobenzene
ก็เตรียมได้จากกระบวนการผลิตเช่นนี้
รูปที่
๑ (ซ้าย)
1,2,4-trichlorobenzene (ขวา)
1,2,4,5-tetrachlorobenzene
๒.
Nucleophilic aromatic
substitution ของ
aryl
halide
สารประกอบ
organic
halide โดยเฉพาะพวก
aklyl
halide ต่าง
ๆ นั้นปรากฏอยู่ทั่วไปในตำราอินทรีย์เคมี
เพราะเราสามารถแทนอะตอม
halide
ด้วยหมู่ฟังก์ชันหมู่อื่นได้
ดังนั้นสารประกอบ alkyl
halide จึงมักถูกใช้เป็นตัวกลางในการ
เตรียมสารประกอบอื่น
(ในห้องปฏิบัติการคงใช่
แต่ในระดับอุตสาหกรรมนั้นไม่ค่อยชอบการเตรียมผ่าน
alkyl
halide นัก)
แต่ในกรณีของ
aryl
halide นั้นเหตุการณ์กลับตรงข้ามกัน
เพราะการแทนที่อะตอมฮาโลเจนที่เกาะอยู่กับวงแหวนอะโรมาติกของ
aryl
halide ทำได้ยากกว่ามาก
จำเป็นต้องใช้การทำปฏิกิริยาที่รุนแรง
(โดยอาจต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมด้วย)
ปฏิกิริยานี้เรียกว่า
Nucleophilic
aromatic substitution
ตัวอย่างของปฏิกิริยานี้ได้แก่ปฏิกิริยา
hydrolysis
ของ
chlorobenzene
ด้วยเบส
(OH-)
หรือไอน้ำ
หมู่ -OH
จะเข้าไปแทนที่อะตอม
-Cl
ที่เกาะอยู่กับวงแหวนได้ดังปฏิกิริยา
รูปที่
๒ ปฏิกิริยา Nucleophilic
aromatic substitution อะตอม
-Cl
ด้วยหมู่
-OH
๓.
Williamson ether synthesis
เราสามารถสังเคราะห์อีเทอร์
(R1-O-R2)
ได้จากปฏิกิริยา
dehydration
ของแอลกอฮอล์
แต่ต้องใช้ภาวะที่เหมาะสม
ไม่เช่นนั้นหมู่ -OH
ของแอลกอฮอล์จะเปลี่ยนไปเป็นพันธะ
C=C
แทนการหลอมรวมกันของหมู่
-OH
สองหมู่
วิธีการนี้ใช้ได้ดีในกรณีที่ต้องการอีเทอร์ที่มีหมู่
R1
และ
R2
ที่เหมือนกัน
(คือมีแอลกอฮอล์เพียงชนิดเดียวเป็นสารตั้งต้น)
แต่การเตรียมด้วยปฏิกิริยา
dehydration
นี้จะมีปัญหาถ้าเราต้องการอีเทอร์ที่มีหมู่
R1
และ
R2
ที่แตกต่างกัน
เพราะเราต้องผสมแอลกอฮอล์สองชนิดเข้าด้วยกัน
(R1-OH
และ
R2-OH)
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะประกอบด้วยอีเทอร์
3
ชนิดด้วยกันคือ
R1-O-R1
R2-O-R2 และ
R1-O-R2
Williamson
ether synthesis
เป็นวิธีการที่เหมาะสมกว่าสำหรับเตรียมอีเทอร์ที่มีหมู่สองข้างของอะตอม
O
ที่แตกต่างกัน
ปฏิกิริยานี้เป็นการทำปฏิกิริยากันระหว่างหมู่
-OH
ของแอลกอฮอล์
(ของฟีนอลด้วย)
กับสารประกอบ
organic
halide ดังปฏิกิริยาที่แสดงในรูปที่
๓ ข้างล่าง
รูปที่
๓ (บน)
ปฏิกิริยาระหว่าง
2,4,5-trichlorophenol
กับ
chloroacetic
acid จะได้
2,4,5-trichlorophenoxy
acetic acid (ล่าง)
ปฏิกิริยาระหว่าง
2,4-dichlorophenol
กับ
chloroacetic
acid จะได้
2,4-dichlorophenoxy
acetic acid
ในระหว่างการทำปฏิกิริยาดังกล่าว
โมเลกุล 2,4,5-trichlorophenol
อาจทำปฏิกิริยากันเอง
เชื่อมต่อเป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้นดังรูปที่
๔ ข้างล่าง เกิดเป็นสารประกอบ
2,3,7,8-tetrachlorodibenzoparadioxin
ในภาวะการทำปฏิกิริยาปรกตินั้นจะเกิดสาร
dioxin
ดังกล่าวน้อยมาก
(ในปริมาณที่เรียกว่า
trace
amount) แต่ถ้าอุณหภูมิการทำปฏิกิริยาสูงมากเกินไป
จะทำให้เกิด dioxin
ได้ในมากขึ้น
รูปที่
๔ การเกิด 2,3,7,8-tetrachlorodibenzoparadioxin
จากปฏิกิริยาการหลอมรวมกันของ
2,4,5-trichlorophenol
สองโมเลกุล
dioxin
ตัวนี้จัดว่าติด
๑ ใน ๓ สารที่เป็นพิษรุนแรงที่สุดที่มนุษย์รู้จัก
การทดสอบในสัตว์ทดลองพบว่าปริมาณเพียงแค่
10-9
เท่าของน้ำหนักตัว
(หนึ่งในพันล้านของน้ำหนักตัวสัตว์ทดลองบางชนิด)
ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้
นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งและความผิวปรกติทางพันธุกรรมได้
สารผสมระหว่าง
2,4,5-trichlorophenoxy
acetic acid (50%) กับ
2,4-dichlorophenoxy
acetic acid (50%) ถูกนำมาใช้เป็นสาร
defoliant
(สารทำให้ใบไม้ร่วง)
โดยกองทัพสหรัฐในสงครามเวียดนาม
ทั้งนี้เพื่อให้กองทัพสหรัฐสามารถตรวจจับการเคลื่อนพลทางบกของกองทัพเวียดนามเหนือจากทางอากาศได้
สารดังกล่าวเป็นที่รู้จักในนาม
"Agent
orange" หรือที่คนไทยเรียก
"ฝนเหลือง"
ประมาณว่าจากปริมาณสาร
defoliant
ดังกล่าวที่กองทัพสหรัฐใช้ในสงคราม
มีสาร dioxin
ดังกล่าวประมาณ
170
กิโลกรัมที่ถูกโปรยลงไป
ที่เขียนมานี้เป็นการปูพื้นฐานให้กับเรื่องถัดไปที่มีผู้ขอมา
คือการรั่วไหลของสารประกอบ
dioxin
ที่โรงงานของบริษัท
Icmesa
Chemical Companyที่เมือง
Seveso
ประเทศอิตาลี
ในเช้าวันเสาร์ที่ ๑๐ กรกฎาคม
ปีค.ศ.
๑๙๗๖
(พ.ศ.
๒๕๑๙)
ที่ได้กลายเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญกรณีหนึ่งในสาขาวิศวกรรมเคมี
อันที่จริงเรื่องนี้ผมก็สอนไว้ในวิชาเคมีอินทรีย์
ไม่รู้ว่าคนที่เคยเรียนวิชานี้กับจะยังจำเรื่องนี้ได้หรือเปล่า
รุ่นสุดท้ายที่ได้เรียนก็คือพวกปี
๔ ในขณะนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น