ย่างเข้าสู่หน้าหนาว
หลายต่อหลายคนก็คงจะวางแผนไปเที่ยวตามยอดเขาต่าง
ๆ เพื่อไปสัมผัสกับอากาศหนาวและม่านหมอก
ผมเองถ้ามีโอกาสก็ชอบขับรถตะลอน
ๆ ไปตามเส้นทางต่าง ๆ
และแวะถ่ายรูปภูมิประเทศตามทางไปเรื่อย
ๆ
และได้สังเกตเห็นพฤติกรรมการจอดรถบนทางที่เป็นทางลาดอันหนึ่งที่หายไปของคนในยุคหลัง
ๆ นั่นคือ "การหักล้อให้เลี้ยว"
แม้ว่าการจอดโดยเข้าเกียร์ทิ้งไว้หรือดึงเบรคมือนั้นก็สามารถป้องกันไม่ให้รถไหลได้ แต่รถก็ยังมีโอกาสไหลอยู่ตอนที่ต้องออกตัว ในกรณีที่มีขอบทางเท้านั้นก็สามารถใช้วิธีการหักล้อให้ล้อหน้ายันเข้ากับขอบทางเท้าดังรูปที่ถ่ายมาให้ดู ปรกติถ้าเป็นรถใหญ่ เวลาจอดบนทางลาด (เช่นทางขึ้นเนิน) จะเห็นมีการนำไม้มาหนุนล้อเอาไว้เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้รถไหล ไอ้เจ้าไม้หนุนล้อรถนี้ยังเห็นรถบรรทุกใช้งานเวลาที่ขึ้นเนินลาดชันเป็นระยะทางยาวที่รถไม่สามารถไต่ขึ้นไปทีเดียวพ้นเนิน เวลารถไต่ไปได้สักพักรถจะหมดแรงวิ่งขึ้นเนิน คนขับต้องมีผู้ช่วยคอยเอาไม้หนุนล้อเอาไว้ไม่ให้รถไหลกลับ แล้วค่อยเร่งเครื่องขึ้นไปใหม่ ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงยอดเนิน
แต่ถ้ามีปัญหามาก
ๆ ก็อาจต้องใช้การถอยหลังขึ้น
เพราะเกียร์ถอยหลังมันทดรอบมากกว่าเกียร์หนึ่งอีก
(ผมเห็นอัตราทดรอบเกียร์ของรถยนต์เกียร์ธรรมดามันเป็นเช่นนี้
แต่ของเกียร์ออโต้มันไม่ใช่)
เวลาที่ผมแวะจอดรถถ่ายรูปตามเส้นทางที่เป็นทางบนเขา
อย่างแรกคือต้องหาที่ปลอดภัยในการจอด
ไม่ใช่รถคันอื่นโผล่ออกมาจากโค้งก็เจอเราพอดี
ประเภทหลบไม่ทัน
พอได้ที่จอดแล้วก็ต้องดูด้วยว่าถ้ารถเกิดการไหล
ไหลไปทางไหนจะปลอดภัยที่สุด
ก็ให้หักพวงมาลัยเพื่อให้รถ
(ถ้าหากเกิดเรื่อง)
ไหลไปในทิศทางนั้น
ปรกติก็จะไม่หักพวงมาลัยให้รถไหลลงเหว
แต่จะให้ไหลไปในทิศทางที่มีอะไรที่แข็งแรงพอที่จะหยุดการไหลของรถเอาไว้ได้
คนจำนวนไม่น้อยที่ขับรถยนต์
พอต้องขับตามหลังรถบรรทุกใหญ่ที่ขึ้นเขามักจะรู้สึดหงุดหงิด
เพราะรถเหล่านี้จะแล่นช้าและบังทัศนวิสัยข้างหน้าเอาไว้
ทำให้แซงได้ยาก
และโดยปรกติเส้นทางบนเขาก็มักจะไม่มีที่ให้แซงอยู่แล้ว
แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่าผู้ขับขี่รถบรรทุกเหล่านี้มักจะมีมารยาทดี
คือถ้าเราขับตามหลังเขาไปเรื่อย
ๆ โดยที่เขารู้ว่าเราอยู่ข้างหลังเขา
(อย่าไปพยายามแซงรถเขาในที่คับขันหรือในที่ไม่ปลอดภัย)
พอเขาเห็นว่าข้างหน้านั้นปลอดภัยให้เราแซงได้เขาจะให้สัญญาณแก่เราเอง
สัญญาณที่เขาให้ก็คือไฟเลี้ยว
ถ้าเขาเปิดไฟเลี้ยวซ้ายให้เราเห็นก็แสดงว่าข้างหน้านั้นปลอดภัย
ให้เราแซงขึ้นไปได้
แต่ถ้าเขาไม่ให้สัญญาณหรือเปิดไฟเลี้ยวขวาก็อย่างแซงขึ้นไป
แสดงว่าเขาเห็นว่ามีรถสวนมาหรือทางข้างหน้านั้นเป็นทางโค้งที่บดบังทัศนวิสัยเอาไว้
ไม่รู้ว่าจะมีรถวิ่งสวนมาหรือเปล่า
แต่จะว่าไปแล้วผมว่าขับรถขึ้นเขาไม่ยากหรอก
ถ้ามันไม่มีแรงขึ้นเขามันก็หยุดวิ่งของมันเอง
ขับรถลงเขาอันตรายกว่าอีก
เพราะถ้าคิดหวังจะพึ่งแต่เบรค
ก็มีสิทธิเบรคไหม้เอาได้ง่าย
ๆ ต้องอาศัยระบบเกียร์ช่วย
แม้ว่าจะขับเกียร์ออโต้ก็ตาม
รูปสุดท้ายเป็นประสบการณ์ของตนเองเมื่อตอนเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ระหว่างขับบนทางหลวงสาย
1090
จาก
อ.อุ้มผาง
กลับมาอ.
พบพระ
ที่จังหวัดตากหลังฝนตกและลมกรรโชกแรง
ปรากฎว่ามีต้นไม้ล้มพาดสายไฟฟ้าทำให้เสาไฟฟ้าล้มลงขวางถนน
เส้นทางที่พอจะขับผ่านได้ก็มีแค่ตรงลูกศรสีส้มชี้
(ข้างซ้ายเป็นร่องระบายน้ำ)
ตรงนี้โชคดีที่สายไฟแรงสูงที่ลงมาพาดพื้นถนนนั้นเป็นแบบมีฉนวนหุ้ม
แต่ยังไงก็ไม่ควรเดินเข้าไปใกล้สายไฟเหล่านั้น
รายการนี้เรียกว่าล้อซ้ายไต่ขอบไม่เต็มล้อ
ส่วนล้อขวาก็เกือบเบียดหัวเสาไฟฟ้าจึงรอดไปได้
ไม่เช่นนั้นก็คงต้องรอบนเขาอีกหลายชั่วโมงแน่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น