ปปป.
ในที่นี้คือ
"คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ"
ปปช.
ในที่นี้คือ
"คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ"
จะด้วยความ
"ไม่รู้"
หรือ
"จงใจ"
ให้ผู้อื่นเข้าใจผิดผมก็ไม่รู้เหมือนกัน
แต่เห็นมีหลายคนส่งต่อข้อความที่กล่าวหาว่าคณะกรรมการ
ปปช.
เป็นพวกที่ตั้งขึ้นมาจากการรัฐประหารปีพ.ศ.
๒๕๔๙
ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ.
๒๕๔๐
นั้น
การตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการนั้นเป็นหน้าที่ของ
"คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ"
หรือที่เรียกย่อ
ๆ ในสมัยนั้นว่า ปปป.
ทำงานอยู่ใน
"สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ"
ปปป.
นั้นตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
พ.ศ.
๒๕๑๘
แต่เป็นการทำงานที่อยู่ภายใต้การกำกับการของคณะรัฐมนตรี
และถ้าดูเนื้อหาโดยเฉพาะตรงคำจำกัดความ
"เจ้าหน้าที่รัฐ"
และการสั่งให้ลงโทษถ้าเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นทุจริต
ที่ต้องผ่านนายกรัฐมนตรีนั้น
จะเห็นว่าจะจำกัดอยู่เฉพาะข้าราชการประจำ
ลูกจ้างในหน่วยงาน ฯลฯ
โดยไม่ครอบคลุมไปถึงข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(ดู พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ที่ลิงค์นี้)
(ดู พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ที่ลิงค์นี้)
นี่เป็นจุดอ่อนของ
ปปป.
ในการสอบสวนหาผู้อยู่เบื้องหลังผู้กระทำความผิดถ้าหากผู้กระทำความผิดนั้นเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
แต่กว่าจะมีการแก้ไขปัญหานี้ก็ต้องรอจนถึงรัฐธรรมนูญ
พ.ศ.
๒๕๔๐
ปปป.
ถูกยกฐานะขึ้นเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญในรัฐธรรมนูญ
"พ.ศ.
๒๕๔๐"
โดยไปปรากฏอยู่ในหมวด
๑๐ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ส่วนที่ ๒
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
การเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญมันทำให้บทบาทและหน้าที่ขององค์กรนี้ไม่ถูกครอบงำด้วยฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
เพราะถ้าเป็นหน่วยงานที่ไม่มีชื่อปรากฏในรัฐธรรมนูญ
ฝ่ายบริหารและ/หรือฝ่ายนิติบัญญัติก็อาจจัดรูปแบบใหม่โดยลดบทบาทหน้าที่ลง
หรือยกเลิกหน่วยงานนั้นก็ได้ด้วยการผ่านกฎหมายยกเลิก
แต่พอไปอยู่ในรัฐธรรมนูญแล้ว
การแก้ไขต้องไปแก้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเรื่องที่ยากกว่า
ที่สำคัญคือในหมวด
๑๐ นี้มีส่วนที่ ๔
ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
"การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"
ที่ให้อำนาจ
ปปช.
สอบสวนเมื่อมีผู้ร้องเรียน
ตรงจุดนี้คิดว่าเป็นจุดที่นักการเมืองส่วนใหญ่ไม่ชอบกัน
เพราะจากเดิมที่ไม่สามารถทำการตรวจสอบได้มาเป็นการทำให้การตรวจสอบทำได้ง่ายขึ้น
รัฐธรรมนูญ
พ.ศ.
๒๕๔๐
ในส่วนของบทเฉพาะกาล มาตรา
๓๒๑ ได้ให้
"คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ"
และ
"สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ"
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
เป็น "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริจแห่งชาติ"
และ
"สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริจแห่งชาติ"
ไปก่อน
จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง
"คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริจแห่งชาติ"
และ
"สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริจแห่งชาติ"
ขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ซึ่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.
๒๕๔๐
กำหนดให้กระทำภายใน ๒
ปีนับตั้งแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ด้วยเหตุนี้ปปป.
จึงถูกเปลี่ยนฐานะมาเป็น
ปปช.
ด้วยรัฐธรรมนูญ
พ.ศ.
๒๕๔๐
นี้เอง
ในรัฐธรรมนูญ
พ.ศ.
๒๕๕๐
นั้น ปปช.
ปรากฎในหมวด
๑๑ องค์การตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ ๑ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๓.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ใช้รัฐธรรมนูญ
พ.ศ.
๒๕๔๐
เป็นแม่แบบ
รัฐธรรมนูญ
พ.ศ.
๒๕๕๐
ในส่วนบทเฉพาะกาล มาตรา ๒๙๙
กำหนดให้ กรรมการการเลือกตั้ง
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
และสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
พ.ศ.
๒๕๕๐
ให้คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระ
โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
ความแตกต่างในส่วนบทเฉพาะกาลเป็นเพราะตอนที่ใช้รัฐธรรมนูญ
พ.ศ.
๒๕๔๐
นั้นมี ปปป.
แต่ยังไม่มี
ปปช.
จึงได้ให้
ปปป.
ทำหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะตั้ง
ปปช.
แต่ตอนที่ใช้รัฐธรรมนูญ
พ.ศ.
๒๕๕๐
นั้นมี ปปช.
แล้ว
จึงได้ให้ ปปช.
ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ก่อนหน้านั้นให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนครบวาระ
ดังนั้นในความเห็นผม
การกล่าวว่า ปปช.
นั้นเป็นหน่วยงานที่เป็นผลพวงของการรัฐประหารพ.ศ.
๒๕๔๙
นั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
แต่เป็นผลพวงจากการที่ประชาชนทนไม่ไหวกับพฤติกรรมการฉ้อราษฎร์บังหลวงของนักการเมือง
จึงได้มีการผลักดันให้มีหน่วยงาน
ปปช.
มีฐานะเป็นองค์กรอิสระ
และมีอำนาจมากขึ้นในการตรวจสอบความร่ำรวยผิดปรกติและการใช้อำนาจโดยมิชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ซึ่งกว่าจะได้ ปปช.
มาก็ต้องรอถึงปีพ.ศ.
๒๕๔๐
หรือเมื่อ ๑๖ ปีที่แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น