ท่าตะโก
อำเภอ ขึ้น จ.
นครสวรรค์
ตั้งที่ว่าการ ต.
ท่าตะโก
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ
อ.
หนองบัว
อยู่ทางทิศตะวันตกของ อ.
วิเชียรบุรี
จ.
เพชรบูรณ์
อยู่ทางทิศเหนือของ อ.
ตาคลี
อยู่ทางทิศตะวันออกของ อ.
เมืองนครสวรรค์
คมนาคมจากเมืองไปอำเภอโดยทางหลวงจังหวัด
ผ่านสถานีรถไฟนครสวรรค์
(หนองปลิง)
ระยะทาง
๔๕ กม.
ภูมิประเทศตอนเหนือเป็นที่ลุ่ม
ตอนอื่น ๆ ลุ่มบ้าง ดอนบ้าง
ทำนาได้ทั่ว ๆ ไป แต่ที่ดอนต้องทำนาน้ำฝน
พลเมือง ๗๕,๒๐๖
คน (พ.ศ.
๒๕๑๘)
นำนาเป็นพื้น
อ.
ท่าตะโก
มี ๙ ตำบล คือ ๑.
ท่าตะโก
๒.
เขาพนมเศษ
๓.
ดอนคา
๔.
ทำนบ
๕.
พนมรอก
๖.
วังมหากร
๗.
วังใหญ่
๘.
สายลำโพง
๙.
หัวถนน
อ.ภ.
(อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย
ฉบับราชบัณฑิตสถาน)
ข้อความข้างต้นนำมาจาก
"สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน
เล่ม ๑๔ ทะเบียน-ธรรมราชา"
พิมพ์ครั้งที่
๒ พ.ศ.
๒๕๒๗-๒๕๒๘
โดยบริษัท ประยูรวงศ์ จำกัด
หน้า ๘๕๘๙ แผนที่หน้า ๘๕๙๐
(รูปที่
๑)
ที่หยิบเอาอำเภอนี้ขึ้นมาก็เพราะตอนที่ทำการย้ายหนังสือของพ่อไปเก็บอีกบ้าน
เพื่อยกชั้นวางหนังสือให้กับลูก
ได้มีโอกาสเอาหนังสือดังกล่าวมาพลิกดูรูปต่าง
ๆ ข้างใน บังเอิญเล่มนี้กล่าวถึงอำเภอต่าง
ๆ ในประเทศไทยไว้หลายอำเภอ
และมีแผนที่ประกอบด้วย
ทำให้รู้ว่าแต่ก่อนนั้นพื้นที่ในแต่ละอำเภอเป็นอย่างไร
และในส่วนของ อ.
ท่าตะโก
จ.
นครสวรรค์
นั้น แผนทีก็แสดงให้เห็นด้วยว่าเคยมีรถไฟเดินทางไปถึง
(รูปที่
๒)
รูปที่
๑ หนังสือสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่ม
๑๔ (เล่มซ้าย)
ที่นำข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอท่าตะโกมาเล่าให้ฟัง
ส่วนเล่ม ๑๘ (ขวา)
เคยนำเอาเรื่อง
"ปลุกผี"
มาเล่าให้ฟังไปเมื่อต้นเดือนนี้เอง
รูปที่
๒ แผนที่อำเภอท่าตะโก
จังหวัดนครสวรรค์
จากหนังสือสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน
เล่ม ๑๔ ทะเบียน-ธรรมราชา
พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ.
๒๕๒๗-๒๕๒๘
โดยบริษัท ประยูรวงศ์ จำกัด
หน้า ๘๕๙๐
ปรากฏเส้นทางรถไฟเล็กหัวหวาย-ท่าตะโกมาสิ้นสุดที่ตำบลท่าตะโก
ไม่มีเส้นทางต่อขึ้นไปเหนืออีก
แผนที่ที่แสดงนี้คงเป็นแผนที่เก่าที่ใช้ในการพิมพ์ครั้งแรก
(หนังสือไม่ยักบอกว่าพิมพ์ครั้งแรกเมื่อใด)
แต่ในเวลาที่พิมพ์ครั้งที่
๒ เส้นทางรถไฟนี้ได้หายไปแล้ว
(บ้านเราใช้ขนาดรางกว้างมาตรฐาน
1
เมตร
(metre
gauge) ถ้าใช้รางแคบกว่านี้จะเรียกว่ารถไฟเล็ก)
รูปที่
๓ แผนที่เส้นทางรถไฟสายเหนือช่วงจังหวัดนครสวรรค์
แสดงแนวเส้นทางรถไฟสายหัวหวาย-ท่าตะโก
ซึ่งปัจจุบันเป็นถนนไปแล้ว
B.R.
Whyte
ทำเครื่องหมายไว้ว่าสงสัยว่าเส้นทางนี้จะมีต่อขึ้นเหนือเลยอำเภอท่าตะโกขึ้นไปอีก
แผนที่นี้อยู่ในส่วนท้ายของหนังสือ
"The
Railway Atlas of Thailand, Laos and Cambodia" โดย
B.R.
Whyte
รูปที่
๔
แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์ที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
ในท้องที่อำเภอตาคลีและอำเภอท่าตะโก
จังหวัดนครสวรรค์ ๒๔๘๔
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๕๘ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๔๘๔
หน้า ๖๑๔-๖๑๖
ขณะนั้นเป็นช่วงประเทศไทยจะเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่
๒ เพียงไม่กี่เดือน
รถจักรไอน้ำของประเทศไทยนั้นใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงหลัก
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการลำเลียงไม้ที่ตัดจากป่ามายังสถานีรถไฟ
ด้วยเหตุนี้จึงมีการสร้างทางรถไฟเพื่อขนไม้ฟืนจากป่าในบริเวณข้างเคียงมายังสถานีรถไฟที่อยู่บนเส้นทางหลัก
สถานีรถไฟหัวหวายก็เป็นหนึ่งในสถานีนั้น
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๑
น่า ๓๐๕ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์
พ.ศ.
๒๔๖๗
ประกาศพระบรมราชโองการ
พระราชทานพระบรมราชาณุญาต
ให้ใช้รถไฟหลวงทางขนาดย่อมที่ตำบลหัวหวาย
เพื่อรับส่งสินค้า (สมัยรัชกาลที่
๖)
ได้ให้รายละเอียดว่าเดิมเป็นทางรถไฟขนาดรางกว้าง
๖๐ เซนติเมตร ระยะทางยาวถึง
๒๘ กิโลเมตร
จากเดิมที่ใช้เฉพาะการรถไฟเพื่อบรรทุกไม้
ก็อนุญาตให้ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าด้วย
เส้นทางนี้ในหนังสือของ
B.R.
Whyte ระบุว่าสร้างและเปิดใช้ในปีค.ศ.
๑๙๐๗
(พ.ศ.
๒๔๕๐
หรือปลายรัชกาลที่ ๕)
รูปที่
๕
แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์ที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
ในท้องที่อำเภอตาคลีและอำเภอท่าตะโก
จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ.
๒๔๘๙
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอนที่ ๒๕ เล่ม ๖๓ วันที่ ๓๐
เมษายน พ.ศ.
๒๔๘๙
หน้า ๒๔๙-๒๕๑
เหมือนเป็นการเอาประกาศตอนพ.ศ.
๒๔๘๔
มาปัดฝุ่นใช้ใหม่
เพราะยังใช้รูปเดิมแนวทางเดิม
แสดงว่าช่วงสงครามนั้นคงไม่มีการก่อสร้างใด
ๆ แต่ตอนนี้เป็นช่วงสงครามเพิ่งจะสิ้นสุดใหม่
ๆ
ที่พอจะหาได้กลับเป็นแผนที่ที่แสดงแนวเส้นทางรถไฟสายหัวหวาย-ท่าตะโก
อีกเส้นหนึ่ง (ไม่ใช้เส้นรถขนฟืน)
ดังที่นำมาแสดงในรูปที่
๒,
๗
และ ๘ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่สร้างหลังสงครามโลกครั้งที่
๒ สิ้นสุด
แต่ก็ดูเหมือนว่ามีอายุใช้งานอยู่ไม่นานก่อนที่จะถูกรื้อทิ้งไป
ขนาดความกว้างของรางรถไฟสายนี้
แผนที่ในรูปที่ ๒ บอกว่าเป็นรถไฟเล็ก
(ความกว้างของรางน้อยกว่า
1
เมตร)
แต่แผนที่ในรูปที่
๗ และ ๘ นั้นแสดงเป็นใช้เครื่องหมายแบบเดียวกับทางรถไฟปรกติ
ส่วน "ถนนไปบ้านหนองหลวง"
นั้นคงเป็นแนวทางรถไฟขนฟืนเส้นเดิม
ใน
"http://th.wikipedia.org/wiki/สถานีรถไฟหัวหวาย"
บอกว่าเส้นทางแยกไปท่าตะโกนี้มีการเปลี่ยนขนาดรางเป็น
1
เมตรในปีพ.ศ.
๒๔๘๓
และเปลี่ยนแนวทางใหม่
แต่ดูจากราชกิจจานุเบกษาที่ค้นได้แล้วคิดว่าไม่น่าจะใช่
เพราะปีพ.ศ.
๒๔๙๔
ก็ยังมีการประกาศเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทาง
ดังนั้นการสร้างทางใหม่ควรจะเกิดหลังจากปีพ.ศ.
๒๔๙๔
รูปที่
๖
แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์ที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
ในท้องที่อำเภอตาคลีและอำเภอท่าตะโก
จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ.
๒๔๙๔
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอนที่ ๖๖ เล่ม ๖๘ วันที่ ๓๐
ตุลาคม พ.ศ.
๒๔๙๔
หน้า ๑๔๙๒-๑๔๙๔
ก็เป็นเสมือนการเอาประกาศในปี
๒๔๘๙ มาปัดฝุ่นใช้ใหม่
เพราะยังคงใช้แผนที่เดิมและแนวเดิมอยู่
แต่ครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะมีการลงมือสร้างจริง
เพราะแผนที่ที่ปรากฏในอีกไม่กี่ปีถัดมา
(รูปที่
๗)
ก็มีเส้นทางรถไฟให้เห็นแล้ว
ที่ผมคิดว่าเส้นทางนี้แปลกก็คือมันมีแนวทางรถไฟเล็กเดิมอยู่แล้ว
แต่แทนที่จะปรับปรุงเส้นทางเดิมให้เป็นทางมาตรฐาน
กลับเลือกที่จะสร้างเส้นทางใหม่
แต่ก็เปิดใช้งานได้ไม่นานก่อนจะถูกยกเลิกไปในปีพ.ศ.
๒๕๐๗
เรื่องของทางรถไฟสายนี้นี้มีผู้ถกเถียงเอาไว้เยอะแล้ว
ลองใช้ google
หาโดยใช้คำ
"รถไฟเล็กหัวหวาย"
แล้วไปอ่านในเว็บ
portal.rotfaithai.com
ได้
(ผมขอไม่คัดลอกลิงค์มาเต็ม
ๆ เพราะชื่อลิงค์มันยาวมาก)
รูปที่
๗ แผนที่แสดงแนวเขตป่าสงวนท้ายกฎกระทรวงฉบับที่
๒๑ (พ.ศ.
๒๕๐๑)
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่
๗๕ ตอนที่ ๗๙ วันที่ ๑๔ ตุลาคม
พ.ศ.
๒๕๐๑
หน้า ๕๕๙-๕๖๑
มีเส้นทางรถไฟปรากฏให้เห็นแล้ว
รูปที่
๘ แผนที่แสดงแนวเขตป่าสงวนที่เพิกถอนท้ายกฎกระทรวงฉบับที่
๑๕๑ (พ.ศ.
๒๕๐๕)
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่
๗๙ ตอนที่ ๑๑๕วันที่ ๓๑ ธันวาคม
พ.ศ.
๒๕๐๕
หน้า ๘๖-๘๘
ยังคงใช้รูปเดิมจากประกาศพ.ศ.
๒๕๐๑
(รูปที่
๘)
แต่ทำในสิ่งที่ตรงข้ามกัน
คือฉบับนี้เป็นการเพิกถอนสภาพความเป็นป่าสงวนที่ประกาศในพ.ศ.
๒๕๐๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น