วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

รถไฟเล็กลากไม้สายตะวันออก (ศรีราชา) ภาค ๖ (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๕๔) MO Memoir : Thursday 9 January 2557

ผมเขียนเรื่องรถไฟเล็กลากไม้ของบริษัทศรีราชาที่เริ่มจากอำเภอศรีราชาในปัจจุบันไว้ครั้งสุดท้ายก็เกือบครบรอบปีแล้ว (ดู Memoir ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๖๕ วันศุกร์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ เรื่อง "รถไฟเล็กลากไม้สายตะวันออก (ศรีราชา) ภาค ๕ (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำตอนที่ ๓๕) จากนั้นก็ไม่คิดว่าจะมีเรื่องอะไรให้เขียนอีก แต่บังเอิญช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาได้ไปเห็นแผนที่ประเทศไทยที่จัดทำขึ้นโดยทางทหาร (ทั้งของอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศไทย) เมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และช่วงสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามเวียดนาม แผนที่ทางทหารเหล่านี้มักจะมีรายละเอียดที่ดีและพิกัดให้เปรียบเทียบ ก็เลยขอนำมาลงเอาไว้กันลืมว่าได้ไปเห็นมาจากไหน และเพื่อช่วยเผยแพร่เผื่อใครต้องการสืบค้นข้อมูลเก่า ๆ ของประเทศไทยในอดีตจากแผนที่เก่า

ที่น่าสนใจคือแผนที่เหล่านี้ให้รายละเอียดของเส้นทางรถไฟเล็กลากไม้ที่ศรีราชานี้ตลอดทั้งเส้นทาง

แผนที่ชุดแรกนั้นจัดทำขึ้นโดยกองทัพอังกฤษ เดาว่าเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ พิมพ์เผยแพร่ในปีค.ศ. ๑๙๔๕ (พ.ศ. ๒๔๘๘ ปีที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุด) แผนที่ชุดนี้ครอบคลุมบริเวณกว้างแค่ไหนก็ไม่รู้ แต่ National Library of Australia มีเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของจังหวัดกาญจนบุรีไปจนถึงด้านตะวันตกของจังหวัดฉะเชิงเทรา คาดเดาว่าคงเป็นการเตรียมการเผื่อกองทัพอังกฤษต้องเดินทัพบุกเข้าประเทศไทย รายละเอียดของแผนที่ดังกล่าวมีดังนี้

Creator : Great Britain. Army. Indian Field Survey Company.
Title : Siam 1 inch to 1 mile [cartographic material] / revised from air photographs by
4 Indian Field Survey Company.
Scale : Scale 1:63,360, 1 in. = 1 mile ;
Lambert spheroid Everest (E 99?00'-- E 101?00'/N 15?00'--N 12?00')
Publisher : [London] : Indian Field Survey Co., [1945- ]
Date : 1945 - 9999
Material Type : Map
Physical Description : maps : col., some mounted on linen ; 59 x 43 cm., or smaller.
Notes : Topographic map series of central Thailand (Siam) including Kanchanaburi,
Bangkok, Chachoengsao and Phetchaburi, showing international, province and
district boundaries, railways, roads, water features, buildings and built-up areas.
Relief shown by contours and spot heights.
Sheets individually titled and numbered, e.g.: Krang, HIND 611, Sheet 843.
Includes on some sheets the following series designations: GSGS 4671, HIND 611, and L702.
Edition may vary.
Revised by 3 through 7 Ind. Fd. Svy. Coy, I.E. Some by 7 Ind. Air Survey Coy, I.E.
Includes index to adjoining sheets, feet to meter conversion graph, notes, and vocabulary.
Maps, and index indicating National Library of Australia holdings, in an online version at: http://nla.gov.au/nla.map-vn2018580
Subjects : Thailand -- Maps.
Topographic maps. -- lcgft
Call Number : MAP G8025 s63
Amicus Number : 10189459
To cite this item use : http://nla.gov.au/nla.map-vn2018580


แผนที่ชุดที่สองเป็นแผนที่รหัส L509 จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกองทัพสหรัฐกับกรมแผนที่ทหารของไทย แผนที่ชุดนี้เป็นฉบับภาษาไทยคู่กับภาษาอังกฤษ มีการระบุว่ามุมระหว่างทิศเหนือจริงกับทิศเหนือแม่เหล็กเป็นมุมในปีค.ศ. ๑๙๖๐ (พ.ศ. ๒๕๐๓) (พิมพ์ครั้งที่ ๒) ดังนั้นข้อมูลในแผนที่จึงควรเป็นข้อมูลก่อนปีพ.ศ. ๒๕๐๓ รายละเอียดของแผนที่ดังกล่าวแสดงไว้ข้างล่าง โดยมีการระบุว่าจัดพิมพ์ปีค.ศ. ๑๙๕๗ (พ.ศ. ๒๕๐๐) ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นการจัดพิมพ์ครั้งแรกหรือไม่
Creator : United States. Army Map Service.
Title : Indochina and Thailand 1:250,000 [cartographic material] / prepared by
the Army Map Service (PV), Corps. of Engineers, U.S. Army.
Scale : Scale 1:250 000 ;
transverse Mercator proj. (E 97?30' --E 109?30'/N 24?00'--N 3?00')
Publisher : Washington, D.C. : AMS, 1957-
Date : 1957 - 9999
Material Type : Map
Physical Description : [100] maps : col. ; 56 x 28 cm. or smaller.
Notes : Map series covering Vietnam. Laos, Cambodia and Thailand showing international
and province boundaries, transportation, ground and water features, vegetation and
populated places. Relief shown by contours and spot heights.
Standard map series designation : [Series] L509.
Includes index to adjoining maps diagram, glossary and grid data.
Maps, and index indicating National Library of Australia holdings, in an online version at: http://nla.gov.au/nla.map-vn1183939
Subjects : Southeast Asia -- Maps.
Call Number : MAP G8000 s250
Amicus Number : 8177187
To cite this item use :http://nla.gov.au/nla.map-vn1183939

แผนที่ชุดที่หนึ่งและชุดที่สองนี้ดาวน์โหลดฉบับเต็มมาไม่ได้ แต่สามารถขยายดูภาพเป็นส่วน ๆ ได้ ผมก็เลยใช้วิธีนี้เลือกภาพมาเป็นส่วน ๆ โดยให้มีการเหลื่อมกันอยู่โดยอาจเป็นแนวตั้งหรือแนวดิ่ง

แผนที่ชุดที่สามเป็นแผนที่รหัส L509 เช่นเดียวกัน แต่ดูเหมือนเป็นการพิมพ์ใหม่หลังครั้งที่พิมพ์ชุดที่สองที่กล่าวมาข้างต้น ชุดนี้เป็นฉบับภาษาอังกฤษอย่างเดียว และแม้จะระบุว่าเป็นแผนที่ชุด L509 เหมือนกัน แต่ตัวแผนที่ก็มีความแตกต่างกันในบางจุด (ดูรายละเอียดที่รูป)
แผนที่ชุดนี้หาดูได้จาก http://lib.utexas.edu/maps/ams/indochina_and_thailand/index_map.html  โดยสามารถดาวน์โหลดฉบับเต็มความละเอียดสูงมาได้

ถัดจากนี้ไปก็ดูแผนที่เก่า ๆ เอาเองก็แล้วกัน ถ้าใครอยากรู้ว่าแต่ก่อนแถวละแวกบ้านตัวเองมีความเจริญแค่ไหน (เช่นมีถนนเข้าถึงหรือยัง หรือเป็นถนนแบบไหน) ก็ลองไปหาดูจากแผนที่เหล่านี้ได้

รูปที่ ๑ ภาพขยายจากแผนที่ชุดแรกบริเวณตัวอำเภอศรีราชา จะเห็นเส้นทางรถไฟไปสิ้นสุดที่เกาะลอย เส้นทางรถไฟคือเส้นทึบสีดำมีเส้นตรงสั้น ๆ ตัดขวาง ส่วนที่เห็นเป็นเส้นทึบสีดำมีวงกลมดำทับอยู่เป็นระยะคือแนวเสาโทรเลข ซึ่งอยู่ประมาณแนวถนนสุขุมวิทในปัจจุบัน ที่แปลกใจคือตรงบริเวณโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา แผนที่วาดเหมือนกับมีทางรถไฟลงไปในทะเลด้วย

รูปที่ ๒ เป็นส่วนที่อยู่ต่อมาทางด้านขวาของรูปที่ ๑ ที่น่าสนใจคือแผนที่นี้ให้รายละเอียดเส้นทางแยกจากบ้านหนองอีบู่ขึ้นไปทางเหนือ ไปทางบ้านวังหินและบ้านห้วยกรุ หรือเป็นถนนเส้นด้านทิศตะวันออกของอ่างเก็บน้ำบางพระในปัจจุบัน (เส้นที่อยู่ระหว่างอ่างเก็บน้ำบางพระและทางหลวงสาย ๗) แผนที่ที่แสดงเส้นทางแยกสายนี้นอกจากแผนที่นี้แล้วก็มีที่เคยนำมาลงในรูปที่ ๓ ของ Memoir ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๑๕ วันจันทร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง "ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๒๕ รถไฟเล็กลากไม้สายตะวันออก (ศรีราชา) ภาค ๒" เส้นทางสายนี้หายไปจากแผนที่ที่จัดทำขึ้นในช่วงหลัง (รูปที่ ๔ ของ Memoir ฉบับ ๕๑๕ และแผนที่ชุด L509 ที่นำมาให้ดูในหน้าถัดไป)

รูปที่ ๓ เป็นส่วนที่อยู่ต่อมาทางด้านขวาของรูปที่ ๒ แสดงเส้นทางแยกขึ้นไปทางบ้านวังหิน แถมระบุไว้ด้วยว่าบริเวณบ้านนาพร้าวมีสวนกล้วย

รูปที่ ๔ เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านบนของรูปที่ ๓ ระบุว่าไปบ้านห้วยกุ่มอีก ๒ กิโลเมตร ปัจจุบันแนวทางรถไฟนี้น่าจะเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างบ้านวังหิน ถนนเลียบอ่างเก็บน้ำบางพระด้านทิศตะวันออก และเส้นทางไปบ้านห้วยกุ่ม

รูปที่ ๕ เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านล่างของรูปที่ ๓ ระบุว่าไปหนองค้ออีก ๕ กิโลเมตร ที่น่าเสียดายคือแผนที่ชุดนี้ไม่มีส่วนที่อยู่ทางด้านตะวันออกถัดจากนี้ไปอีก ก็เลยไม่รู้ว่า ณ เวลานั้นเส้นทางรถไฟดังกล่าวทอดยาวไปถึงไหน

รูปที่ ๖ เป็นแผนที่ชุดที่สองที่เป็นแผนที่รหัส L509 ลูกศรสีแดงชี้แนวเส้นทางรถไฟ ในแผนที่นี้ปรากฏอ่างเก็บน้ำบางพระแล้ว และเส้นทางรถไฟที่แยกไปทางด้านบ้านห้วยกุ่มก็หายไปแล้ว แผนที่ชุดนี้ดูได้ที่ http://nla.gov.au/nla.map-vn1183939

รูปที่ ๗ เป็นแผนที่ชุดที่สองที่เป็นแผนที่รหัส L509 เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านขวาของรูปที่ ๖ ลูกศรสีแดงชี้แนวเส้นทางรถไฟ แผนที่นี้แสดงปลายทางของเส้นทาง คือทางด้านบนที่แยกจากบริเวณบ้านหนองค้อขึ้นเหนือ ก่อนจะมีทางแยกอีกครั้ง (บริเวณบ้านหัวกุญแจในปัจจุบัน ตรงลูกศรสีแดงอันบนสุด และดูรูปที่ ๕ ของ Memoir ฉบับที่ ๕๑๕ ที่เป็นแผนที่เขตสุขาภิบาลหัวกุญแจ) เส้นแรกเป็นสั้น ๆ ในแผนที่ที่แยกขึ้นไปด้านบน ส่วนเส้นที่สองไปทางทิศตะวันออกก่อนวกลงใต้เล็กน้อยไปสิ้นสุดที่บ้านหนองตาสน ผมเทียบกับแผนที่ปัจจุบันคิดว่าถนนรถไฟเก่าในปัจจุบันคือเส้นทางรถไฟเส้นนี้ (ดู Memoir ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๒๖ วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เรื่อง "ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๑๒ รถไฟเล็กลากไม้สายตะวันออก (ศรีราชา)") ส่วนเส้นที่แยกจากหนองค้อลงมาทางด้านล่างมีการแยกอีกทีบริเวณบ้านพันเสด็จใน เส้นที่แยกไปทางด้านตะวันออกมุ่งไปทางบ้านระเวิง และเลยไปอีกยังมีทางแยกออกอีกสองสาย ส่วนเส้นที่มุ่งลงใต้ก็ไปสิ้นสุดบริเวณคลองหินลอย (มันไปปรากฏเป็นติ่งเล็ก ๆ อยู่ในแผนที่อีกฉบับแค่นั้นเอง ก็เลยไม่นำมาแสดง)

รูปที่ ๘ เป็นแผนที่ชุดที่สามที่เป็นแผนที่รหัส L509 เช่นเดียวกัน แต่ให้รายละเอียดแตกต่างไปจากชุดที่สอง คือให้เฉพาะภาษาอังกฤษ และยังมีความแตกต่างจากแผนที่ชุดที่สองด้วย เช่นไม่ปรากฏอ่างเก็บน้ำบางพระ (ทั้ง ๆ ที่มันน่าจะมีอยู่ทางด้านเหนือของเขาฉลาก ตรงที่เป็นบ้านหนองกระวาย) และเส้นทางที่แยกจากบ้านหนองค้อลงมาทางทิศใต้นั้น บริเวณทางแยกที่บ้านพันเสด็จนอกนั้น ในแผนที่ชุดที่สองนั้นจะชัดเจนว่าแยกไปกันคนละทิศ แต่ในแผนที่ชุดนี้ไม่มีเส้นทางแยกไปทางทิศตะวันออก มีแต่มุ่งลงใต้อย่างเดียวไปยังบ้านพันเสด็จใน แผนที่ชุดนี้ดูได้ที่ http://lib.utexas.edu/maps/ams/indochina_and_thailand/index_map.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น