การหมุนรอบตัวเองของวัตถุในขณะที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ในของไหล
(เช่นในอากาศ)
ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อรูปแบบการเคลื่อนที่ของวัตถุในของไหลนั้น
แต่ยังส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อตกกระทบพื้นผิวของแข็งด้วย
นักฟุตบอลเวลาที่ต้องการให้ลูกฟุตบอลเคลื่อนที่แบบโค้งทางด้านข้าง (จะเลี้ยวซ้ายหรือขวาก็ตาม) ในขณะที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น ก็ต้องพยามเตะลูกบอลให้มีการหมุนรอบตัวเอง โดยให้แนวแกนหมุนนั้นทำมุม (เช่นมุมฉาก) กับทิศทางการเคลื่อนที่ และทำมุมที่ไม่ใช่นอนราบเมื่อเทียบกับพื้น หัวกระสุนปืนที่ออกจากลำกล้องที่มีเกลียวจะมีการหมุนรอบตัวเองโดยแกนหมุนจะในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ เพื่อทำให้หัวกระสุนแหวกอากาศและทรงตัวได้ดีขึ้น ทำให้วิถีกระสุนราบเรียบขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความแม่นยำในระยะไกลเพิ่มขึ้น
นักฟุตบอลเวลาที่ต้องการให้ลูกฟุตบอลเคลื่อนที่แบบโค้งทางด้านข้าง (จะเลี้ยวซ้ายหรือขวาก็ตาม) ในขณะที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น ก็ต้องพยามเตะลูกบอลให้มีการหมุนรอบตัวเอง โดยให้แนวแกนหมุนนั้นทำมุม (เช่นมุมฉาก) กับทิศทางการเคลื่อนที่ และทำมุมที่ไม่ใช่นอนราบเมื่อเทียบกับพื้น หัวกระสุนปืนที่ออกจากลำกล้องที่มีเกลียวจะมีการหมุนรอบตัวเองโดยแกนหมุนจะในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ เพื่อทำให้หัวกระสุนแหวกอากาศและทรงตัวได้ดีขึ้น ทำให้วิถีกระสุนราบเรียบขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความแม่นยำในระยะไกลเพิ่มขึ้น
นักกีฬาโบว์ลิ่งเวลาโยนลูกโบว์ลิ่งออกไป
ลูกโบว์ลิ่งจะมีการหมุนรอบตัวเอง
โดยที่แนวแกนหมุนนั้นตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่และวางตัวขนานไปกับพื้น
(หรือประมาณว่าขนานไปกับพื้นถ้าต้องการให้ลูกวิ่งโค้ง)
โดยทิศทางการหมุนนั้นจะเป็นไปในลักษณะเคลื่อนที่
"ไปข้างหน้า"
ดังนั้นเมื่อลูกโบว์ลิ่งตกกระทบพื้น
ลูกโบว์ลิ่งก็จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าต่อไปอีกได้ไกล
(รูปที่
๑ บนซ้าย)
เช่นเดียวกัน
นักกีฬาเปตองเวลาโยนลูกเปตอง
ก็ต้องทำให้ลูกเปตองที่โยนออกไปนั้นมีการหมุนรอบตัวเอง
โดยที่แนวแกนหมุนนั้นตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่และวางตัวขนาน
ไปกับพื้น
(หรือประมาณว่าขนานไปกับพื้นถ้าต้องการให้ลูกวิ่งโค้ง)
แต่ทิศทางการหมุนจะเป็นไปในลักษณะเคลื่อนที่
"ถอยหลัง"
ดังนั้นเมื่อลูกเปตองตกกระทบพื้น
ลูกเปตองอาจมีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เพียงเล็กน้อยก่อนที่จะหยุด
(รูปที่
๑ บนขวา)
หรืออาจจะหยุดอยู่กับที่
ณ ตำแหน่งที่ตกกระทบก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมตกกระทบและความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของลูกเปตอง
รูปที่ ๑ ผลการหมุนรอบตัวเองของวัตถุต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นเมื่อปะทะเข้ากับพื้นผิว : บนซ้าย - เมื่อทิศทางการหมุนเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการเคลื่อนที่ และตกลงบนพื้นราบ : บนขวา - เมื่อทิศทางการหมุนเป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ และตกลงบนพื้นราบ : ล่าง - เมื่อทิศทางการหมุนเป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ แต่เข้าปะทะกับผนังที่ตั้งฉาก
นักกีฬาบาสเก็ตบอล
เวลาชู๊ตลูกบาสให้กระทบแป้นแล้วกระดอนเข้าห่วงนั้น
จำเป็นต้องปั่นให้ลูกบาสมีการหมุนแบบเดียวกับนักกีฬาเปตอง
โดยให้ลูกบาสหมุนในทิศทางยที่แนวแกนหมุนนั้นตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่และวางตัวขนาน
ไปกับพื้น
(หรือประมาณว่าขนานไปกับพื้นถ้าต้องการให้ลูกวิ่งโค้ง)
และทิศทางการหมุนจะเป็นไปในลักษณะเคลื่อนที่
"ถอยหลัง"
ดังนั้นเมื่อลูกบาสกระทบกับแป้น
(ที่วางตั้งฉาก)
ลูกบาสจะมีแนวโน้มที่จะกลิ้งหรือกระดอนลงด้านล่างเข้าหาห่วง
แทนที่จะกระดอนขึ้นไป (รูปที่
๑ ล่าง)
การที่การหมุนรอบตัวเองของวัตถุส่งผลต่อทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นเมื่อวิ่งเข้ากระทบผนัง ถูกนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่สองในปฏิบัติการที่เรียกว่า Operation Chastise ของกองทัพอากาศอังกฤษ
การที่การหมุนรอบตัวเองของวัตถุส่งผลต่อทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นเมื่อวิ่งเข้ากระทบผนัง ถูกนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่สองในปฏิบัติการที่เรียกว่า Operation Chastise ของกองทัพอากาศอังกฤษ
รูปที่
๒ หนังสือเรื่อง The
Dambusters Raid โดย
John
Sweetman (ซ้าย)
และแนวความคิดในการโดยระเบิดให้กระดอนไปบนผิวน้ำ
ก่อนปะทะเข้ากับตัวเขื่อนและกลิ้งไต่ลงมาตามผนังเขื่อนและมาระเบิดใต้น้ำ
(ขวา)
เล่มที่ผมมีเป็นฉบับพิมพ์ในปีค.ศ.
๒๐๐๒
โดยสำนักพิมพ์ Cassell
Military Paperbacks
ในปีค.ศ.
๑๙๔๓
(พ.ศ.
๒๔๘๖)
เพื่อที่จะทำลายอุตสาหกรรมสนับสนุนการรบของประเทศเยอรมัน
กองทัพอากาศอังกฤษได้วางแผนการณ์ทำลายเขื่อนกั้นน้ำสองแห่งที่เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าให้กับเขตอุตสาหกรรม
โดยคาดหวังว่าเมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้า
อุตสาหกรรมก็จะดำเนินต่อไปไม่ได้
และน้ำที่จะท่วมเมื่อเขื่อนพัง
ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เขตอุตสาหกรรมได้
เขื่อนที่ถูกเลือกเป็นเป้าหมายคือเขื่อน
Möhne
และเขื่อน
Eder
โดยธรรมชาติของแรงระเบิดนั้น แรงระเบิดจะกระจายไปในทิศทางที่แรงต้านทานน้อยที่สุด ดังนั้นถ้าทิ้งระเบิดลงที่ผนังด้านหลังของเขื่อน แรงระเบิดส่วนใหญ่จะกระจายออกสู่อากาศ (สมัยนั้นยังไม่มีจรวดที่จะยิงทะลุผนังคอนกรีตเข้าไปแล้วค่อยระเบิดเหมือนสมัยนี้) แต่ถ้าทำให้เกิดการระเบิดใต้น้ำด้านหน้าของเขื่อนได้ แรงต้านของน้ำจะช่วยทำให้ปริมาณแรงระเบิดที่กระทำต่อโครงสร้างของเขื่อนเพิ่มมากขึ้น
โดยธรรมชาติของแรงระเบิดนั้น แรงระเบิดจะกระจายไปในทิศทางที่แรงต้านทานน้อยที่สุด ดังนั้นถ้าทิ้งระเบิดลงที่ผนังด้านหลังของเขื่อน แรงระเบิดส่วนใหญ่จะกระจายออกสู่อากาศ (สมัยนั้นยังไม่มีจรวดที่จะยิงทะลุผนังคอนกรีตเข้าไปแล้วค่อยระเบิดเหมือนสมัยนี้) แต่ถ้าทำให้เกิดการระเบิดใต้น้ำด้านหน้าของเขื่อนได้ แรงต้านของน้ำจะช่วยทำให้ปริมาณแรงระเบิดที่กระทำต่อโครงสร้างของเขื่อนเพิ่มมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้การป้องกันเขื่อนจึงกระทำโดยการวางตาข่ายใต้น้ำเพื่อป้องกันการโจมตีด้วยตอร์ปิโดที่ทิ้งจากเครื่องบิน
ให้พุ่งเข้าชนเขื่อนใต้ระดับผิวน้ำ
การทิ้งระเบิดจากเครื่องบินโดยตรงให้ลงไปทางผนังด้านหน้าของเขื่อนด้วยเทคโนโลยีสมัยนั้นก็จัดว่าเป็นเรื่องของโชคมากกว่า
ทางเลือกที่มีการพิจารณากันก็คือ
การทิ้งให้ลูกระเบิดแฉลบไปบนผิวน้ำ
จนเข้าปะทะผนังด้านหน้าของเขื่อน
แล้วกลิ้งไต่ผนังลงมา
พอจมลึกใต้น้ำถึงระดับที่ตั้งไว้
ก็ให้ระเบิดทำงาน
วัตถุที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ
ถ้าปล่อยให้ตกน้ำลงไปตรง
ๆ ก็จะจมลงสู่ใต้น้ำ
แต่ถ้าให้ตกกระทบผิวน้ำโดยไม่ทำมุมกับผิวน้ำมากเกินไป
และด้วยความเร็วที่พอเหมาะ
วัตถุนั้นก็จะแฉลบ (หรือกระดอน)
ไปบนผิวน้ำได้
และเมื่อความเร็วตกลง
เมื่อวัตถุนั้นตกกระทบผิวน้ำอีกที
ก็จะจมลงสู่ใต้น้ำ
และนี่ก็คือวิธีการส่งลูกระเบิดให้วิ่งเข้าหาผนังเขื่อน
โดยการปล่อยลูกระเบิด
(ที่มีรูปร่างที่เหมาะสม)
ออกจากเครื่องบินที่บินขนานไปกับผิวน้ำด้วยความเร็วที่พอเหมาะ
ก็จะทำให้ลูกระเบิดที่ตกลงสู่ผิวน้ำด้านหน้าเขื่อนนั้นกระดอนไปบนผิวน้ำ
กระโดดข้ามแผงตาข่ายป้องกันตอร์ปิโดที่จมอยู่ใต้น้ำได้
และลอยเข้าปะทะกับผนังเขื่อน
(ดูรูปที่
๒)
ปัญหาถัดมาคือทำอย่างไรเพื่อที่จะทำให้ลูกระเบิดที่เข้าปะทะกับผนังเขื่อนนั้นจมลงสู่ใต้ผิวน้ำโดยให้ไต่ลงมาตามผนังเขื่อนแทนที่จะกระดอนถอยหลังออกมา
วิธีการที่ใช้ก็คือการหมุนปั่นลูกระเบิดให้หมุนรอบตัวเอง
โดยให้มีแกนหมุนตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่
และหมุนไปในทิศทางที่ตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ด้วยรอบการหมุนที่พอเหมาะ
แบบเดียวกับการหมุนปั่นลูกบาสเก็ตบอล
ที่ต้องการใช้ลูกบาสเก็ตบอลกระดอนถอยหลัง
"ลงล่าง"
ลงสู่ห่วงเมื่อกระทบแป้นบาส
ปฏิบัติการทำลายเขื่อนที่มีชื่อเรียกขานว่า
Dambusters
raid นั้นประสบความสำเร็จ
ที่น่าเสียดายคือทหารอากาศที่เข้าร่วมกับฝูงบินในปฏิบัติการดังกล่าว
แม้ว่าจะรอดชีวิตจากปฏิบัติการครั้งนั้น
แต่ก็เสียชีวิตทุกนายก่อนสงครามสิ้นสุด
ในทางกลับกัน
ถ้าวัตถุที่เคลื่อนที่เข้ามาในอากาศนั้นมีการหมุนในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการเคลื่อนที่เสมือนกับว่าวัตถุนั้นกลิ้งตัวไปข้างหน้า
เมื่อวัตถุดังกล่าวปะทะกับผนังที่ตั้งฉาก
วัตถุนั้นก็มีแนวโน้มที่จะกลิ้งไต่ผนังขึ้นข้างบน
และเมื่อหมดแรงส่งก็จะตกกลับลงมาด้านล่าง
ถ้าจังหวะที่วัตถุนั้นหมดแรงส่งขึ้นไปข้างบน
วัตถุยังแนบชิดติดผนังอยู่
วัตถุนั้นก็จะหมุนตัวย้อนกลับไต่ลงมาตามผนัง
แต่ถ้าวัตถุนั้นไม่ได้แนบชิดติดผนัง
(มีการสะท้อนถอยหลัง)
ทิศทางการหมุนก็จะยังคงเดิม
รูปในชุดถัดไปนั้นผมนำเอามาจากคลิปวิดิโอ
"ตำรวจเตะระเบิด"
ที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตในสัปดาห์ที่แล้ว
เป็นของเหตุการณ์เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศในวันอังคารที่
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา
คลิปวิดิโอดังกล่าวถ่ายไว้ด้วยอัตรา
๓๐ ภาพต่อวินาที
ดังนั้นถ้าเราหยุดดูภาพทีละเฟรมก็จะเห็นภาพนิ่งการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นห่างกัน
๑/๓๐
วินาที
ภาพที่จับเอามาให้ดูนี้เป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวินาทีที่
๙ ถึงวินาทีที่ ๑๐
ส่วนตัวเลขที่อยู่ข้างหลังเป็นตัวเลขบอกว่าเป็นภาพที่เท่าไรในระหว่างช่วงวินาทีที่
๙ ถึงวินาทีที่ ๑๐ นั้น เช่นเลข
๙ ก็เป็นภาพที่ ๙ เลข ๑๔
ก็เป็นภาพที่ ๑๔
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ลูกระเบิด
(ในกรอบสีเหลืองหรือที่ลูกศรสีเหลืองชี้)
ที่ลอยเข้าใส่กลุ่มตำรวจนั้นปรากฏเป็นครั้งแรกในคลิป
(ภาพ9-09
ในกรอบ)
โดยจะเห็นเป็นแค่เงาเนื่องจากลูกระเบิดเคลื่อนที่เร็ว
แต่เมื่อเข้าปะทะกับโล่ของตำรวจในภาพที่
9-14
จะเห็นว่าลูกระเบิดเกือบจะหยุดอยู่ตรงบริเวณดังกล่าว
(แทบจะไม่กระดอนออกหรือตกลงข้างล่างทันที)
ไปจนถึงภาพที่
9-18
ที่เห็นลูกระเบิดพลิกกลิ้งลงล่างอย่างชัดเจน
จากคลิปที่เห็น
พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น
ประเด็นหนึ่งคือระยะเวลาที่ระเบิดเข้ามาปรากฏตัวในคลิปจนถึงเวลาที่ระเบิดนั้นยาวประมาณ
๓.๐
-
๓.๕
วินาที
ซึ่งระเบิดขว้างที่เคยเห็นเป็นข่าวทั่วไปในบ้านเรานั้นมักจะเป็นชนิดที่ใช้ชนวนถ่วงเวลาประมาณ
๔ วินาที
ตามความเห็นส่วนตัวจึงเห็นว่าตำแหน่งของผู้ขว้าง
(หรือทอย)
ลูกระเบิดนั้นจะต้องสามารถขว้าง
(หรือทอย)
ลูกระเบิดให้เข้ามาปรากฏในกล้องได้โดยลูกระเบิดใช้เวลาเดินทางไม่เกิน
๑ วินาที ส่วนจะขว้าง (หรือทอย)
มาจากที่ใดหรือใครเป็นคนกระทำนั้น
ก็คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
และหวังว่าจะดำเนินการกับทุก
ๆ คดี โดยเฉพาะคดีที่ประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นผู้เสียหาย
สองภาพสุดท้ายเป็นภาพที่ผมไปถ่ายมาจากสถานที่เกิดเหตุจริง
ภาพแรกเป็นภาพจุดระเบิดตรงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
โดยเลือกมุมมองให้ใกล้เคียงกับมุมภาพที่ปรากฏในคลิป
(ใช้มุมมองที่ทำให้เห็นการบังกันของป้ายบอกทางสีเขียวที่อยู่ข้างหลังใกล้เคียงกัน)
แต่ไม่ได้ใช้ซูมเพราะต้องการให้เห็นภาพมุมกว้างของบริเวณ
ส่วนภาพที่สองเป็นจุดที่ลูกระเบิด
M-79
จากเครื่องยิงลูกระเบิดตกบริเวณหน้าห้างบิ๊กซีราชดำริ
ส่งผลให้เด็กเล็กสองพี่น้องเสียชีวิต
๒ รายและผู้ใหญ่อีก ๑ ราย
ที่เอามาลงที่นี้ก็เพื่อไว้เป็นเครื่องเตือนความจำว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะสามารถหาคนผิดที่ทำร้ายได้แม้กระทั่งเด็กเล็ก
ๆ ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรได้หรือไม่
สถานที่เกิดเหตุที่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศในวันอังคารที่
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
ลูกศรชี้ตรงตำแหน่งที่เกิดระเบิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น