สิทธิของผู้พิการก็เป็นสิทธิหนึ่งที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
(พ.ศ.
๒๕๕๐)
ที่รัฐจะต้องดูแลและพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
ในสถาบันของเราก็ได้ทำการปรับปรุงทางเดินและตัวอาคาร
โดยในส่วนของทางเดินเท้านั้นก็ได้มีการปูกระเบื้องพื้นทางเดินสำหรับคนตาบอด
และทำทางลาดสำหรับผู้ที่ต้องนั่งรถเข็น
(แต่เห็นมอเตอร์ไซค์ใช้เป็นทางสำหรับขึ้นมาขับขี่และจอดรถบนทางเดินเท้าซะมากกว่า)
ส่วนตัวอาคารเองบางอาคาร
(เช่นโรงอาหารบางโรง)
ก็มีการทำทางลาดสำหรับให้ผู้พิการที่ต้องนั่งรถเข็นเข้าสู่โรงอาหารได้
(ส่วนไปนั่งที่โต๊ะไหนได้นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
รูปที่
๑ พื้นกระเบื้องสำหรับคนตาบอด
(แผ่นสีเหลือง)
ที่เป็นสันนูนในแนวยาวบอกว่าทางเดินยังตรงไปข้างหน้า
ส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ
นั้นเป็นตัวบอกว่ากำลังจะสิ้นสุดทางเดินหรือถึงบริเวณทางแยก
เมื่อเดือนที่ผ่านมา
เห็นทางสถาบันเขามีการกั้นเชือกเส้นทางเดินที่ผมเดินอยู่ประจำระหว่างอาคารจอดรถกับตึกที่ทำงาน
(ห่างกันประมาณ
๑๐๐๐ เมตร)
พร้อมกับคนงานและถุงปูนซิเมนต์
ก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าเขาจะทำอะไรกับทางเดิน
เพราะมันก็ยังอยู่ในสภาพที่ดี
ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร
แต่พอคนงานย้ายตำแหน่งทำงาน
ก็เลยรู้ว่าเป็นการ "เปลี่ยน"
พื้นผิวฝาบ่อพักท่อระบายน้ำ
จากรูปแบบเดิม (รูปที่
๒)
ที่ทำกลมกลืนไปกับเส้นทางเดินสำหรับคนตาบอด
มาเป็นรูปแบบใหม่ (รูปที่
๓)
ที่เป็นผิวคอนกรีตเรียบ
ๆ ธรรมดาแต่มีรูระบาย
ทำให้เส้นทางเดินสำหรับคนตาบอดนั้นขาดเป็นช่วง
ๆ
จะว่าทำเพื่อให้น้ำบนทางเท้าไหลลงท่อได้สะดวกก็ไม่น่าจะใช่
เพราะมันแก้ได้ด้วยวิธีการอื่นก็ได้
จะว่าเป็นเพราะของเดิมมันพังก็ไม่ใช่
(ก็ผมเดินผ่านอยู่เป็นประจำ
ก็เห็นว่ามันยังเรียบร้อยดี)
รูปที่
๒ ฝาท่อระบายน้ำบนทางเดินเดิม
รูปที่
๓ ฝาท่อระบายน้ำที่มีการทำขึ้นมาใหม่
รู้แต่เพียงว่าการทำเช่นนี้ต้องมีค่าใช้จ่าย
ส่วนทำไปทำไมและเพื่ออะไรนั้น
ต้องของบอกตามตรงว่า
นึกหาเหตุผลไม่ออกจริง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น