ธรรมชาตินั้นมีการพึ่งพากัน
ไม้เลื้อยจะอาศัยไม้ยืนต้นในการไต่ตัวเองขึ้นไปรับแสงแดด
แต่ในขณะเดียวกันไม้เลื้อยก็ช่วยพันกิ่งต่าง
ๆ ของไม้ยืนต้น
ทำให้กิ่งของไม้ยืนต้นไม่หักโค่นง่าย
ๆ เวลาที่มีลมพัดแรง
แต่ถ้าไม้เลื้อยมันงอกงามดีเกินไป
ไม้ยืนต้นก็แย่เหมือนกัน
เพราะใบของไม้เลื้อยจะไปบังแดดหมด
ทำให้ใบของไม้ยืนต้นไม่ได้รับแสงแดด
บางนี้น้ำหนักของไม้เลื้อยยังไปกดกิ่งอ่อนของไม้ยืนต้น
ทำให้กิ่งของไม้ยืนต้นโน้มลงล่างแทนที่จะชูขึ้นบน
รูปที่ ๑ เถาต้นตำลึงตัวผู้ (ลูกศรสีเหลืองขี้) เลื้อยขึ้นไปพันต้นทับทิมจนบังแดดต้นทับทิมไว้หมด เลยต้องรื้อลงมาบ้าง
รอบ
ๆ บ้านมีไม้เลื้อยขึ้นอยู่หลายพันธุ์
มีทั้งตั้งใจปลูก (เช่นพืชผักสวนครัว)
และที่มันขึ้นมาของมันเอง
(ไม่รู้เหมือนกันว่ามาได้อย่างไร)
บางพันธุ์ก็มีชีวิตอยู่แค่ชั่วคราว
พอออกผลได้ไม่นานก็ตายไป
แต่บางพันธุ์ก็งอกงามโตขึ้นเรื่อย
ๆ ที่บ้านไม้เลื้อยที่เก็บมากินเป็นประจำเห็นจะได้แก่ตำลึง
ตำลึงนั้นเราเอายอดอ่อนและใบอ่อนมากินกัน
(ที่เห็นทำกันมากที่สุดคือแกงจืดหมูสับตำลึง)
จนอาจทำให้บางคนคิดว่าต้นตำลึงเป็นแค่เถาเล็ก
ๆ แบบที่เราเอามากิน
ต้นตำลึงนั้นถ้าปล่อยไว้ให้มันโตไปเรื่อย
ๆ ต้นมันก็โตไปได้เรื่อย ๆ
เช่นกัน อย่างเช่นต้นที่บ้านของผม
ปล่อยให้มันโตไปเรื่อย ๆ
อยู่ราว ๆ ประมาณ ๒ ปี
ก็ได้ต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
๑ เซนติเมตร (รูปที่
๑)
จากลำต้นใหญ่นี้มันก็มีการแตกยอดอ่อนเลื้อยออกไปทางด้านข้างอีก
ตำลึงเองนั้นเขายังแบ่งออกเป็นอีก
๒ พวกคือ "ตำลึงตัวผู้"
กับ
"ตำลึงตัวเมีย"
สองพันธุ์นี้มีลักษณะใบที่แตกต่างกัน
ส่วนที่ว่ามันแตกต่างกันอย่างไรนั้นก็ลองดูในรูปที่
๒ เอาเองก็แล้วกัน
ใบของตำลึงตัวเมียนั้นเรานำมาใช้เป็นอาหาร
ส่วนใบของตำลึงตัวผู้นั้นก็กินได้เช่นเดียวกัน
แต่เขาว่ามันมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
ดังนั้นถ้ากินไปมาก ๆ
ก็เตรียมถ่ายท้องได้
รูปที่ ๒ ใบต้นตำลึงตัวผู้และต้นตำลึงตัวเมีย ที่เลื้อยไปตามพื้นดินรอบ ๆ บ้าน ใบของตำลึงตัวผู้จะมีลักษณะเป็นแฉกที่มากกว่าใบของตำลึงตัวเมีย
ลำต้นของไม้เลื้อยนั้นแม้ว่าดูเหมือนว่ามันจะบอบบาง
แต่มันก็เหนียวเหมือนกัน
เวลาที่มันพันรอบไม้ยืนต้นแล้วพอกิ่งหรือลำต้นของไม้ยืนต้นมันโตขึ้น
(ในขณะเดียวกันเถาของไม้เลื้อยมันก็โตตามไปไปด้วย)
ลำต้นของไม้ยืนต้นเองจะไม่ขยายตัวจนดันให้เถาของไม้เลื้อยขาด
แต่จะเติบโตหลบตำแหน่งที่ไม้เลื้อยนั้นพันอยู่
ทำให้เกิดเหมือนเป็นรอยรัดบนลำต้นของไม้ยืนต้น
รูปที่ ๓
ที่เอามาให้ดูนั้นเป็นรอยรัดของต้นอัญชัญที่รัดไปรอบ
ๆ ต้นกระถิน กระถินเป็นไม้เนื้ออ่อนและโตเร็ว
อัญชัญเป็นไม้เลื้อยที่ปลูกเอาไว้เพื่อให้มันออกดอกล่อแมลงและเป็นไม้ประดับ
ในขณะเดียวกันมันก็ยังเป็นพืชสมุนไพรดอกอัญชัญเองก็สามารถนำมาทำเป็นน้ำอัญชัญได้
รูปที่ ๓ ต้นอัญชัญเลื้อยไปพันต้นกระถิน เถาอัญชัญรัดซะต้นกระถินเป็นร่องบนลำต้นเลย
รูปที่ ๓ ต้นอัญชัญเลื้อยไปพันต้นกระถิน เถาอัญชัญรัดซะต้นกระถินเป็นร่องบนลำต้นเลย
พืชอีกพันธุ์หนึ่งที่มันงอกโผล่มาเองรอบ
ๆ บ้านโดยที่ไม่รู้ว่ามันมาได้อย่างไรคือต้น
"ตำแยแมว"
(รูปที่
๔)
ต้นตำแยแมวนี้เขาว่าเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง
แต่มันก็มีฤทธิ์ทางเป็นสมุนไพรเหมือนกัน
ส่วนมันจะมีฤทธิ์อย่างไรบ้างสำหรับคนนั้นก็ลองค้นจาก
google
เอาเองก็แล้วกัน
แต่ที่ยกมาเล่าในวันนี้เพราะเช้าวันนี้หลังจากตัดกิ่งไม้และวัชพืชที่ขึ้นอยู่ตามพื้นมากองเอาไว้ที่ลานหน้าบ้าน
ก็มีแมวโผล่มาด้อม ๆ มอง ๆ
เหมือนจะหาอะไรกิน
ตอนนี้ที่บ้านผมไม่ได้เลี้ยงสัตว์อะไรอย่างเป็นทางการ
มีแต่แมวจรจัดจากไหนก็ไม่รู้
มาขอข้าวกินทุกเช้า
และมานอนเล่นหน้าบ้านในตอนกลางวัน
จนดูเหมือนว่าจะกลายเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้านไปแล้ว
แต่ก็ไม่ยอมให้ใครแตะต้องตัวมัน
แรก ๆ ที่มันโผล่มาก็บาดเจ็บมาทุกครั้ง
ครั้งหลังสุดหนักสุดเพราะได้แผลลึกที่ขาหน้า
มันหายหน้าไปหลายวัน
โผล่กลับมาใหม่ก็ซมซานเดินสามขากลับมา
เลยต้องพาไปหาหมอ
หมอบอกว่าแผลนั้นมันโดนเส้นเลือดพอดี
ก็เลยเจ็บหนักหน่อย
นี่ก็ผ่านมาหลายเดือนแล้ว
ก็ยังเห็นมันยังเดินแบบไม่ค่อยจะลงน้ำหนักไปที่ขาข้างนั้น
แมวตัวนี้ลูกสาวคนโตตั้งชื่อมันว่า
"หอยหลอด"
ตอนแรกคิดว่ามันจะมาชั่วคราวแล้วก็จากไป
แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะมาขอข้าวเช้า-เย็นกินอย่างเป็นการถาวรแล้ว
เช้าวันนี้วัชพืชที่ถอนมานั้นก็มีตำแยแมวติดมาด้วย
ลูกสาวคนเล็กก็เลยเอาไปให้เจ้าหอยหลอดมันกิน
ตำแยแมวนี้เป็นพืชสมุนไพรสำหรับแมวด้วย
โดยแมวจะกินตรงส่วนราก
ว่ากันว่าถ้ามีตำแยแมวให้กิน
แมวจะกินอย่างเคลิบเคลิ้ม
ท่าทางของเจ้าหอยหลอดที่นอนกินรากต้นตำแยแมวเมื่อเช้าก็เป็นเช่นนั้น
ก็เลยถ่ายรูปมาให้ดูเล่น
รูปที่
๔ ต้นตำแยแมวที่ขึ้นกระจายอยู่รอบบ้าน
รูปที่ ๖ อีกมุมหนึ่งของความสุขของเจ้าหอยหลอดในการนอนกินรากต้นตำแยแมวที่มีคนถอนมาให้กิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น