เมื่อเกือบ
๒๐
ปีที่แล้วได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้จัดหาครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการเคมีทดแทนของเดิมที่หมดสภาพ
ตอนนั้นก็ได้ติดต่อพบปะกับตัวแทนจำหน่ายหลายรายเรื่องรูปทรงและวัสดุที่ใช้ทำโต๊ะ
ปัญหาก่อนหน้านี้ที่นิสิตบ่นมาก็คือโต๊ะเดิมนั้น
"เตี้ย"
เกินไป
การได้พบปะกับผู้ทำธุรกิจด้านเฟอร์นิเจอร์ก็ทำให้ได้เรียนรู้ข้อกำหนดต่าง
ๆ
ในการออกแบบเพราะขนาดของเฟอร์นิเจอร์นั้นขึ้นอยู่กับขนาดของบุคคลและท่าท่างที่บุคคลเหล่านั้นจะใช้เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นด้วย
สำหรับโต๊ะใช้งานในห้องปฏิบัติการเคมีนั้นต้องมีความสูงพอที่เมื่อยืนทำงานแล้วจะยืนทำงานได้ถนัด
ดังนั้นเก้าอี้ที่ใช้เลยต้องเป็นแบบปรับระดับความสูงได้
เพราะถ้าใช้เก้าอี้ที่ใช้กับโต๊ะทำงานที่นั่งทำงานทั่วไป
จะพบว่าเก้าอี้มันเตี้ยเกินไป
ความสูงของโต๊ะนั้นก็ต้องดูจากค่าความสูงเฉลี่ยของคนทั่วไปที่โตเต็มวัย
(เฟอร์นิเจอร์ขายในไทยก็ต้องใข้ค่าเฉลี่ยความสูงคนไทยเป็นหลัก)
ในขณะนั้นมีการปรับค่าเฉลี่ยให้สูงขึ้นเพราะคนยุคหลังนั้นมีค่าเฉลี่ยความสูงมากกว่าคนยุคก่อนหน้า
ดังนั้นโต๊ะปฏิบัติการเคมีเมื่อได้มาใหม่นั้นคนใช้ก็ชมว่าใช้งานได้สบาย
(คือความสูงกำลังดี)
แต่พักหลัง
ๆ ปรากฏว่าเริ่มมีเสียงบ่นว่าโต๊ะสูงเกินไป
(ทั้ง
ๆ ที่ขนาดมันก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง)
ซึ่งประเด็นนี้คิดว่าไม่ได้มาจากการที่ความสูงเฉลี่ยของคนไทยนั้นลดลง
(ก็เห็นนิสิตเข้าใหม่แต่ละปีตัวสูง
ๆ กันทั้งนั้น)
แต่น่าจะเป็นเพราะความสูงเฉลี่ยของนิสิตที่เลือกมาเรียนภาควิชาของเรานั้นมันลดลง
(ก็คือเตี้ยลงนั่นแหละ)
เพราะเห็นบางปี
(เช่นปีล่าสุดที่กำลังจะรับปริญญานี้)
ก็มีพวกแก๊งค์
๑๕๐ (เซนติเมตร)
ยกพวกเข้ามาเรียนที่ภาคเราตั้งเกือบสิบคน
ไม่เพียงแต่ความสูงของคนที่เพิ่มขึ้น
ระยะช่วงแขนก็เพิ่มตามไปด้วย
ซึ่งระยะช่วงแขนนี้ส่งผลต่อการออกแบบความกว้างของโต๊ะทำงาน
ความกว้างของโต๊ะทำงานนั้นไม่ควรกว้างเกินกว่าที่เมื่อวางสิ่งของแล้วเอื้อมหยิบไม่ถึง
โต๊ะที่ผมใช้อยู่ก็กว้างประมาณ
๘๐ เซนติเมตร
แม้วางของไว้อีกฟากหนึ่งของโต๊ะก็สามารถเอื้อมหยิบได้โดยไม่ต้องลุกขึ้นยืน
ถ้าเป็นโต๊ะทำงานที่ให้คนสองคนทำงานหันเข้าหากัน
(เช่นโต๊ะที่เราใช้กันในห้องปฏิบัติการเคมี)
ก็จะมีความกว้างได้มากกว่านี้
แต่มันไม่ควรที่จะกว้างจนกระทั่งไม่สามารถเอื้อมถึงบริเวณตอนกลางของโต๊ะไม่ว่าจะเอื้อมมาจากฝั่งไหน
ผมเองนั้นได้มีโอกาสได้เข้าไปนั่งประชุมในห้องประชุมแห่งหนึ่งที่มีโต๊ะสำหรับการประชุมติดตั้งไว้อย่างถาวร
คือมีทั้งปลั๊กไฟ
ไมโครโฟนประจำที่นั่ง
และพอร์ตสำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องฉาย
ตัวไมโครโฟนนี้ออกแบบมาติดตายกับตัวโต๊ะโดยอยู่ฝั่งตรงหน้าผู้นั่งแต่ละราย
(ดังรูป)
แผงกดปุ่มเปิด-ปิดก็ติดตั้งอยู่ที่แผงข้างไมโครโฟนด้วย
จากการที่โต๊ะได้รับการออกแบบให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีพื้นที่สำหรับวางเอกสารและคอมพิวเตอร์ได้อย่างสบาย
ผลก็คือความกว้างของโต๊ะมันก็เลยทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมไม่สามารถกดปุ่มเปิดไมโครโฟนได้สะดวกเพราะต้องเอื้อมแขนค่อนข้างมาก
โดยเฉพาะคนตัวเตี้ยจะมีปัญหามาก
(เพราะแขนมักสั้นตามไปด้วย)
การแก้ปัญหาที่เขาทำก็คือวางดินสอไว้ให้ประจำทุกที่นั่ง
ซึ่งผมก็ไม่เห็นใครเขาใช้ดินสอที่วางเอาไว้นี้จดบันทึกอะไร
(เพราะมักมีปากกาติดตัวมากันเอง)
แต่ใช้สำหรับกดปุ่มเพื่อเปิด-ปิดไมโครโฟนมากกว่า
เชื่อว่าในระหว่างการออกแบบก่อสร้างห้องประชุมนี้
ไม่ได้มีการรวมงบค่าดินสอสำหรับใช้ในการเปิด-ปิดไมโครโฟนเข้าไปด้วย
ถ้าจะถามว่าห้องประชุมนี้มันใช้งานได้ตามที่ออกแบบไหม
คำตอบก็คือใช้งานได้
และใช้ได้ดีด้วย
แต่ถ้าเพิ่มดินสอสักแท่งให้กับแต่ละที่นั่ง
ก็จะทำให้ใช้งานได้สะดวกขึ้นไปอีก
:)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น