ตอนเข้าเรียนปี
๑ นั้น นิสิตปี ๑
ทั้งคณะก็มีกันกว่าสี่ร้อยคน
สิ่งแรกที่รุ่นพี่พยายามทำก็คือทำอย่างไรจึงจะให้นิสิตปี
๑ นั้นรู้จักเพื่อนฝูงร่วมรุ่นกันให้ได้มากที่สุด
สำหรับนิสิตปี
๑ นั้น
ทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดตารางสอนและตอนเรียนให้กับนิสิตทุกคน
โดยใช้รายชื่อที่เรียงตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษ
ดังนั้นคนที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยตัวอักษรเดียวกันหรืออยู่ติดกัน
ก็มักจะได้เรียนห้องเดียวกันเสมอไม่ว่าจะเป็นวิชาอะไร
ด้วยการจัดแบ่งวิธีนี้
คนที่ชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร
"A"
ก็จะได้เรียนกับคนที่ชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร
"A"
หรือ
"B"
เท่านั้น
โอกาสที่จะได้เรียนกับคนที่ชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร
"P"
"S" "T" ฯลฯ
นั้นไม่ต้องพูดถึง
ทางรุ่นพี่ก็หาทางทำให้นิสิตปี
๑ ที่ไม่ได้เรียนห้องเรียนเดียวกันได้มีโอกาสทำความรู้จักกัน
ไม่ว่าจะใช้การแบ่ง "Group"
ที่ให้นิสิตปี
๑ ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยการแบ่ง
"Group"
นั้นใช้วิธีการนำรายชื่อที่เรียงตามลำดับอักษรนั้นมาเขียนอักษร
A-Z
(อันที่จริง
Group
สุดท้ายไม่ใช้
Z
หรอก
แต่ผมจำไม่ได้)
เรียงลำดับ
A,
B, C, ... จนไปถึง
group
สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอักษร
A
ใหม่
ใครมีอักษรตัวไหนนำหน้าชื่อก็ได้อยู่
Group
นั้น
คนแรกที่ชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร
"A"
ก็อยู่
group
A คนที่สองของอักษร
"A"
ก็อยู่
group
B ด้วยวิธีการนี้จึงทำให้คนที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร
"A"
ได้มีโอกาสทำงานและทำความรู้จักคนที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร
"Z"
แม้ว่าจะไม่เคยเรียนด้วยกัน
เหตุผลหลักที่จัดแบ่งกลุ่มกันด้วยวิธีนี้ก็เพื่อให้คนที่มาจากต่างที่กันและไม่ได้เรียนห้องเรียนเดียวกันได้มีโอกาส
"ทำความรู้จักกัน"
เมื่อมีกิจกรรมกลุ่ม
โดยไม่ได้เน้นไปตรงที่ผลงานของกิจกรรมนั้น
เช่นการทำพานดอกไม้ไหว้ครู
จะเน้นไปที่การที่ทำให้คนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนได้มีโอกาสมาทำความรู้จักกันและทำกิจกรรมร่วมกัน
ส่วนความสวยงามของพานดอกไม้ไหว้ครูของกลุ่มนั้นถือเป็นผลพลอยได้
วิธีการอื่นนอกจากนั้นก็มีตอนซ้อมเชียร์เย็น รุ่นพี่ก็จะบอกให้นิสิตปี ๑ หันไปถามคนที่อยู่รอบข้างทั้ง ๘ คนให้หมด (ถ้านั่งอยู่กลางวง) ว่าใครชื่ออะไร มาจากไหน จะได้ทำความรู้จักกัน นอกจากนี้ยังมีการมอบแฟ้มให้นิสิตปี ๑ ถือพร้อมทั้งให้เขียนชื่อไว้บนแฟ้มด้วย เวลาเจอหน้ากันแล้วลืมไปว่าคนนี้ชื่ออะไร ก็ใช้วิธีการชำเลืองเอาบนแฟ้ม จะได้ไม่ต้องคอยถามกันบ่อย ๆ โดยเฉพาะตัวผมเองที่ความจำเรื่องชื่อคนไม่ค่อยจะดี มักจะใช้วิธีการนี้เป็นประจำ
สำหรับบริเวณที่นั่งในคณะนั้นก็มีบริเวณที่มีเฉพาะนิสิตปี
๑ ไปนั่งจับกลุ่มกัน
ซึ่งก็เป็นบริเวณข้างหอนาฬิกาฝั่งตรงข้ามตึกจักรพงษ์ในปัจจุบัน
รุ่นพี่ปีอื่นก็มีบริเวณเฉพาะของแต่ละชั้นปีซึ่งในขณะก็เป็นบริเวณที่เรียกว่า
"ลานอักษร"
(ตอนนี้กลายเป็นสวนหย่อมที่ไม่เปิดโอกาสให้นิสิตเข้าไปนั่งพัก
แต่สมัยนั้นมีแต่โต๊ะสำหรับนั่งพักใต้ร่มไม้เต็มไปหมด
แถมยังใช้เป็นสถานที่เตะฟุตบอลด้วย)
รุ่นพี่ก็มักจะบอกว่าไปรู้จักเพื่อนร่วมรุ่นกันให้ครบก่อน
แล้วค่อยมาทำความรู้จักรุ่นพี่คนอื่น
ๆ
ในขณะที่คณะอื่นในมหาวิทยาลัยนั้นมีระบบโต๊ะ
Group
และพี่รหัส
น้องรหัส
แต่คณะที่ผมเรียนอยู่ตอนนั้นไม่มีระบบดังกล่าว
ไม่ว่าจะเป็นในระดับคณะหรือของภาควิชา
รุ่นพี่ก็บอกแต่เพียงว่าพี่ก็เป็นพี่ของน้องทุกคน
รุ่นน้องคนไหนมีปัญหาก็ปรึกษารุ่นพี่คนใดก็ได้
ไม่จำเป็นต้องเป็น "พี่รหัส"
ส่วนรุ่นพี่ก็ยินดีช่วยน้องทุกคนโดยไม่สนว่าน้องคนนั้นเป็น
"น้องรหัส"
หรือไม่
ด้วยระบบแบบนี้นอกจากจะทำให้รู้จักเพื่อนร่วมรุ่นทั้งชั้นปีได้ดีแล้ว
(แม้จะไม่ทุกคนก็ตาม)
เวลาเป็นปี
๑ ก็จะรู้จักรุ่นพี่ขึ้นไปถึงปี
๔ เวลาอยู่ปี ๔ ก็จะรู้จักรุ่นน้องลงมาถึงปี
๑ ดังนั้นช่วงเวลา ๔
ปีในมหาวิทยาลัยจึงรู้จักกัน
๗ รุ่น คือรุ่นก่อนหน้า ๓
รุ่นและรุ่นที่ตามหลังมาอีก
๓ รุ่น เวลามีกิจกรรมใด ๆ
ก็ตามที่ต้องมีการระดมพล
ก็ทำเพียงแค่บอกกล่าวไปยังหัวหน้าชั้นปีซึ่งก็จะบอกต่อกันจนทราบกันทั้งชั้นปี
ส่วนรุ่นพี่กลุ่มไหนจะสนิทสนมกับรุ่นน้องกลุ่มไหนมากเป็นพิเศษนั้น
ไม่ได้มาจากการอยู่ร่วม
group
เดียวกัน
แต่มาจากการเข้าร่วมชมรมหรือทำกิจกรรมร่วมกัน
เช่นเข้าร่วมชมรมกีฬาหรือกลุ่มกองเชียร์
(ผมเองก็เข้าไปร่วมวงทั้งสองอย่าง)
หรือร่วมทำงานนิทรรศการฯ
ร่วมกัน
ความผูกพันแบบนี้เห็นได้ชัดในวันรับปริญญา
ในเย็นวันที่คณะรับปริญญานั้น
เป็นที่ทราบกันระหว่างนิสิตปี
๒-๔
ว่า คืนนั้นพี่นายช่างที่เพิ่งจะรับปริญญาไปในบ่ายวันนั้น
จัดงานเลี้ยงให้รุ่นน้องปี
๒-๔
ที่ห้องอาหารหรือที่ห้องจัดเลี้ยงของโรงแรมไหน
(ปี
๑ ไม่เกี่ยว)
ดังนั้นหลังจากส่งรุ่นน้องปี
๑ กลับบ้านหลังส่งเสด็จแล้ว
บรรดานิสิตปี ๒-๔
ก็จะไปรวมตัวกัน ณ สถานที่จัดงาน
เรียกว่าไปกินฟรีโดยมีพวกพี่
ๆ ที่จบรับปริญญานั้นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
(ทั้งอาหารและเครื่องดื่ม)
ชุดที่ไปร่วมงานก็เป็นชุดนิสิตที่ใส่ในงานรับปริญญานั่นแหละ
ตอนที่ผมเป็นนิสิตก็ได้มีโอกาสไปร่วมงานที่พี่
ๆ จัดให้
และตอนที่จบรับปริญญาก็ได้มีโอกาสจัดงานเช่นนี้ให้กับรุ่นน้องอีก
๓ ชั้นปีที่ทันเห็นหน้ากันตอนผมเรียนปี
๔ ด้วย
จำได้ว่าการจัดงานดังกล่าวก็ไม่ได้มีการบังคับให้ต้องจ่ายเงิน
ใครอยากช่วยเท่าใดก็ช่วยตามเท่าที่มี
(เพราะบางคนมีงานทำแล้วแต่บางคนยังไม่มีงานทำ)
แต่ทุกคนก็สามารถไปร่วมงานดังกล่าวได้หมด
งานเลี้ยงดังกล่าวผมไม่ทราบเหมือนกันว่ามีจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อใด
และจัดเป็นครั้งสุดท้ายในปีพ.ศ.ใด
เพราะเมื่อผมกลับมาทำงานในอีก
๖ ปีต่อมา ก็ไม่พบว่ามีการจัดงานรูปแบบดังกล่าวแล้ว
สมัยที่เรียนหนังสือนั้น
ตอนเป็นรุ่นน้องก็ไม่เคยได้รับหนังสืออะไรจากรุ่นพี่
หรือมีรุ่นพี่พาไปเลี้ยงเป็นการเฉพาะกลุ่มเล็ก
ๆ จะไปกันทีก็เป็นในฐานะชมรมหรือไม่ก็ภาควิชา
และก็ไม่ได้คาดหวังว่าต้องได้ในสิ่งนั้นด้วย
และพอเป็นรุ่นพี่ก็ไม่เคยให้หนังสือเรียนอะไรแก่รุ่นน้อง
(เพราะจะเก็บเอาไว้ใช้ตอนทำงาน)
และก็ไม่ได้พารุ่นน้องไปเลี้ยงอะไร
(เพราะไม่ค่อยมีตังค์)
และก็ไม่คิดว่ามันเป็นหน้าที่หลักที่รุ่นพี่พึงกระทำ
นอกจากนี้ก็ไม่เห็นรุ่นน้องคาดหวังให้รุ่นพี่ทำอย่างนั้นด้วย
(คิดเอาเองนะ)
สิ่งสำคัญที่ได้รับจากรุ่นพี่ในตอนนั้นก็คือ
น้ำใจ ความห่วงใย
และการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ
ภาพแรกที่เอามาแสดงคือแฟ้มที่ผมใช้ตอนเป็นนิสิตปี
๑ ส่วนภาพที่ ๒ นั้นเห็นโผล่ทาง
facebook
เมื่อไม่นานนี้
เขียนมาถึงตรงนี้ก็ยังสงสัยอยู่เหมือนกันว่ามันเกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้หรือเปล่า
เอาเป็นว่าขอจบ Memoir
ฉบับนี้ลงที่ตรงนี้ก็แล้วกัน :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น