แถวบางแสนรอบมหาวิทยาลัยมักจะมีตลาดนัดกลางแจ้งสลับกันเปิดขาย
ด้านหลังมหาวิทยาลัยบ้าง
ด้านหน้ามหาวิทยาลัยบ้าง
ตอนลูกยังเรียนอนุบาลอยู่ที่นั่นนั้นครอบครัวผมก็มักจะไปจ่ายกับข้าวที่นี่เป็นประจำ
ภรรยาจะเป็นคนเดินจ่ายกับข้าว
ส่วนผมก็รับหน้าที่นั่งเฝ้าลูกที่ชอบไปนั่งระบายสีตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์
ลูกจะเรียกตลาดนัดนี้ว่าตลาดระบายสี
มีวันหนึ่งคุณแม่ท่านหนึ่งที่พาลูกมานั่งระบายสีที่โต๊ะเดียวกันก็ถามว่าลูกผมเรียนชั้นไหน
ผมก็ตอบไปว่าเรียนอนุบาลอยู่
แกก็ถามต่อว่าที่โรงเรียนอนุบาลที่ลูกผมเรียนนั้นเขาสอนเด็กให้บวกเลขได้กี่หลักแล้ว
ที่โรงเรียนที่ลูกแกเรียนนั้นเขาสอนให้เด็กบวกเลขสองหลักได้แล้ว
ผมก็ตอบกลับไปว่าที่โรงเรียนที่ลูกผมเรียนนี้เขาไม่เน้นวิชาการ
แต่เน้นให้เด็กสนุกกับการเรียน
ตอนนี้หนังสือยังอ่านได้เฉพาะคำง่าย
ๆ บางคำเท่านั้นเอง
แล้วแกก็ชมว่าลูกผมระบายสีตุ๊กตาได้เรียบร้อยดีจัง
ในขณะที่ลูกของแกนั้นระบายซะเละเทะไปหมด
หลังจากที่ลูกเข้าเรียนชั้นประถมแล้ว
อยู่มาปีหนึ่งน้องคนหนึ่งที่ลูกเพิ่งจะเข้าเรียนชั้นป.
๑
ก็มาถามผมว่า ตอนลูกผมเข้าเรียนป.
๑
นั้นเขาอ่านหนังสือได้หรือยัง
ผมก็ตอบว่าเพิ่งจะมาอ่านพอได้ตอนเทอม
๒ ส่วนลูกของน้องคนนั้นเขาอ่านหนังสือเป็นเล่มได้แล้วตั้งแต่จบอนุบาล
จากนั้นเขาก็ถามผมต่อว่าส่งลูกไปเรียนพิเศษที่ไหนบ้างหรือเปล่า
ลูกของเขาเองนั้นต้องส่งไปเรียนพิเศษด้านศิลปะ
เพราะงานศิลปะที่อาจารย์มอบหมายให้ทำนั้นออกมาไม่ค่อยจะได้เรื่อง
อาจเป็นเพราะว่าผมไม่ได้เดือดร้อนเรื่องหาโรงเรียนให้ลูกเรียนชั้นประถม
ตอนหาโรงเรียนอนุบาลก็เลยไม่ได้เลือกโรงเรียนที่เน้นให้เด็กไปสอบเข้าป.
๑
แต่เลือกโรงเรียนที่เน้นให้เด็กสนุกกับการเรียน
และเปิดโอกาสให้เขาได้มีการพัฒนาการตามวัยของเขา
วิชาหนึ่งที่ผมรู้สึกว่ามีความสำคัญกับเด็กเล็กคือวิชาศิลปะ
วิชานี้มันไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด
มันเป็นจินตนาการหรือความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนที่จะแสดงออกมา
และยังเป็นวิชาที่ดีสำหรับการฝึกฝนกล้ามเนื้อมัดเล็ก
(เช่นนิ้วมือ)
การทำงานประสานกันระหว่างประสาทตาและการควบคุมมือ
และเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการฝึกเพื่อการทำงานละเอียดที่ใช้มือทำ
ไม่ว่าจะเป็นการระบายสีไม่ให้ล้ำแนวกรอบ
การใช้มือในการปั้น
วางเรียงสิ่งของ และประดิษฐ์สิ่งของต่าง
ๆ
ในห้องปฏิบัติการเคมีที่ผมทำงานอยู่นั้นมันก็มีงานหลายอย่างที่ต้องใช้การควบคุมมือและนิ้วมือและการประสานการทำงานกับสายตาที่ดี
ตัวอย่างง่าย ๆ
ตัวอย่างหนึ่งเห็นจะได้แก่การใช้ปิเปต
สมัยที่ผมเรียนหนังสือนั้นอาจารย์ผู้สอนจะสอนให้ใช้นิ้วหัวแม่มือในการควบคุมการดูดของเหลวเข้าสู่ปิเปต
คือกำลูกยางไว้ในมือ
ไล่อากาศออกจากลูกยาง
สวมลูกยางเข้ากับด้านบนของปิเปต
แล้วค่อย ๆ
คลายนิ้วหัวแม่มือเพื่อดูดของเหลวเข้าปิเปต
(รูปกลาง)
เหตุผลที่ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือก็เพราะสามารถควบคุมอัตราการดูดสารเข้าปิเปตได้ง่าย
และพอดูดสารขึ้นมาเลยขีดที่ต้องการแล้วก็นำเอาลูกยางออก
แล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งปิดรูด้านบนของปิเปตเอาไว้
จากนั้นใช้กาขยับนิ้วชี้เพื่อปรับระดับของเหลวในปิเปตให้ตรงกับขีดบอกปริมาตร
เหตุผลที่ใช้นิ้วชี้ก็เพราะเป็นนิ้วที่ไวต่อความรู้สึก
ทำให้สามารถควบคุมการปรับระดับของเหลวทีละน้อย
ๆ ได้ง่าย
มาช่วงหลัง
ๆ พบว่านิสิตใหม่ส่วนใหญ่เวลาที่ใช้ปิเปตมักจะใช้นิ้ว
๔ นิ้วคือ ชี้ กลาง นาง และก้อย
ในการบีบลูกยาง เข้าหาอุ้งมือ
โดยมีนิ้วหัวแม่มือลอยอยู่ข้างบน
(ท่าเหมือนกับการใช้
autopipette)
และใช้นิ้วหัวแม่มือของมืออีกข้างหนึ่งคอยอุดรูด้านบนปิเปตเอาไว้ตอนถอดลูกยางออก
(รูปซ้าย)
ผมเคยถามเขาดูว่าทำไมถึงใช้วิธีนั้น
บางคนก็บอกว่ามีอาจารย์สอนมาอย่างนั้น
(ผมเดาว่าอาจารย์คนนั้นคงเป็นคนที่อายุน้อยกว่าผมหลายปีอยู่)
บางคนก็บอกว่าเขาถนัดที่จะทำแบบนี้
ความเคยชินบางอย่างมันไม่ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้
ตอนที่ผมหัดเป่าฟลุตใหม่
ๆ นั้นผมจะมีปัญหาเรื่องการกดนิ้วเสียงมีขั้นที่สอง
คือกดผิดเป็นประจำ
พอกดผิดครูผู้สอนก็จะเตือน
ตอนแรกเขาก็งงเหมือนกันว่าทำไมผมถึงกดโน๊ตตัวนี้ผิดเป็นประจำ
พอผมตอบเขาไปว่าผมไปชินกับการกดนิ้วของ
recorder
ครูผู้สอนก็เข้าใจทันที
เพราะการกดนิ้วของฟลุตกับ
recorder
นั้นสำหรับโน๊ตหลาย
ๆ ตัวนั้นค่อนข้างจะคล้ายกัน
จะมีบางตัวที่แตกต่างกันค่อนข้างจะเยอะอยู่
โดยเฉพาะเสียงเรขั้นที่สองและเสียงมีขั้นที่สอง
แต่มันก็ต้องใช้การฝึก
แม้ว่าตอนนี้จะดีขึ้นมากแล้ว
แต่ถ้าเผลอก็หลงไปบ้างเหมือนกัน
ตอนที่หัดยิงปืนก็เช่นกัน
ปัญหาหนึ่งที่ทำให้ยิงลงต่ำก็เพราะการขยุ้มไก
(กระชากนิ้วชี้ที่ใช้เหนี่ยวไกเข้ามากระทันหัน)
ครูผู้สอนก็บอกได้แต่เพียงว่าต้องใช้การฝึกหัด
ค่อย ๆ ฝึกลากไกเข้าหาตัวอย่างสม่ำเสมอจนมันลั่นไปเอง
แต่กว่าจะควบคุมได้ก็หมดกระสุนไปหลายกล่องเหมือนกัน
(ดีที่ตอนนั้นกระสุนราคาเพียงครึ่งเดียวของตอนนี้)
คืนนี้คิดว่าบ่นมามากพอแล้ว
ว่าแต่ว่าพวกคุณเอง
มีความสามารถในการควบคุมการใช้นิ้วมือได้มากน้อยแค่ไหน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น