ผมเริ่มเขียนบันทึกที่ตั้งชื่อขึ้นมาว่า
MO
Memoir ตั้งแต่วันพุธที่
๙ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๕๑
ตอนนั้นก็มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อบันทึกสิ่งที่สอนนิสิตปริญญาโทในการเรียนและการทำการทดลอง
เนื่องด้วยเห็นว่าหลายต่อหลายเรื่องนั้นมันเป็นเรื่องเกิดขึ้นซ้ำเดิม
ดังนั้นแทนที่จะมานั่งคอยอธิบายให้นิสิตแต่ละรุ่นรับทราบถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา
แถมเหตุการณ์บางเหตุการณ์นั้นมันไม่เกิดขึ้นบ่อย
บางทีมันก็ทิ้งห่างกันหลายปี
ก็เลยคิดว่าเขียนเป็นบันทึกไว้แล้วให้เขาไปอ่านกันเองดีกว่า
(ซึ่งก็พบว่าพวกเขาก็มักไม่อ่านอยู่ดี)
แต่พอเขียนไปได้
๑๐๐ ฉบับ ก็พบว่าการค้นข้อมูลย้อนหลังมันเริ่มวุ่น
ก็เลยเกิดแนวความคิดว่าทำไมไม่เอามาไว้บนหน้าเว็บ
จะได้ค้นหาง่ายหน่อย
ก็เลยเริ่มทยอยนำบทความต่าง
ๆ ที่เขียนไว้มาลงอินเทอร์เน็ตในรูปของ
blog
(ที่เลือกทำ
blog
เพราะเห็นว่ามันทำง่ายกว่าทำหน้าเว็บเพจ)
โดยเริ่มเขียน
blog
ในวันแรกคือวันศุกร์ที่
๑๕ มกราคม พ.ศ.
๒๕๕๓
ชื่อ
"ทามาก็อตซิล่า"
หรือ
"tamagozzilla"
ที่เอามาทำเป็นชื่อ
blog
ก็เป็นฉายาที่ใช้เรียกลูกสาวตอนที่ยังเป็นเด็กเล็ก
เพราะเห็นเด็ก ๆ
เล็กที่กำลังเจริญเติบโตนั้นมีความน่ารักแบบ
"ทามาก็อตจิ"
ที่เป็นสัตว์เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์ที่เคยเป็นที่นิยมกันในสมัยหนึ่ง
ที่ผู้เล่นต้องคอยดูแลเอาใจใส่มัน
โดยที่มันเองนั้นก็ไม่สนด้วยว่าตอนนั้นเป็นเวลากี่โมง
ซึ่งก็เห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่เหมือนกับเด็กเล็ก
ๆ ที่แสดงอาการออกมาตามความต้องการตามธรรมชาติของร่างกาย
โดยไม่สนด้วยว่าจะเป็นเวลากี่โมงกี่ยาม
แถมพอโตขึ้นก็ยังเรียนรู้ด้วยแบบที่ต้องมีการ
"ทำข้าวของเสียหาย"
บ้าง
เปรียบเสมือนกับก็อตซิล่าที่ออกมาอาละวาดพังบ้านเมือง
แต่ก็ยังมีความน่ารักอยู่ในตัวที่ทำให้มีแฟน
ๆ หนังสัตว์ประหลาดญี่ปุ่นติดใจ
แถมยังข้ามทะเลไปอาละวาดทำเงินต่อยังอีกฟากทวีปหนึ่งอีก
ตอนเริ่มแรกที่เขียน
blog
นั้นก็บอกแต่ให้นิสิตในที่ปรึกษาทราบว่า
Memoir
ก่อนหน้านั้นถ้าไม่อยากอ่านในแฟ้มที่จัดให้ก็ไปอ่านย้อนหลังได้ใน
blog
ดังกล่าวได้
ด้วยความที่อยากรู้ว่าจะมีคนอื่นนอกจากนิสิตตัวเองมาอ่านบ้างหรือเปล่าก็เลยไปหา
counter
นับครั้งการเยี่ยมชมชนิดแจกฟรีมาติดตั้ง
แต่มักพบว่าไม่ว่าจะเป็นของแจกฟรีเจ้าใดมันก็มักจะรวนเป็นประจำ
คือเดี๋ยวทำงานบ้าง
เดี๋ยวก็ไม่ทำงานบ้าง
แต่ก็ต้องทนใช้ไปเพราะในขณะนั้นทาง
blogspot
ยังไม่มีฟังก์ชันการนับจำวนครั้งการเยี่ยมชมให้ติดตั้งใน
blog
จนกระทั่งทาง
blogspot
เองมี
counter
ให้ติดตั้ง
ก็เลยมีการเริ่มต้นนับ ๑
การเข้าเยี่ยมชมใหม่โดยใช้
counter
ของทาง
blogspot
โดยเริ่มในวันเสาร์ที่
๑ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๕๓
โดยในช่วงเวลาสามเดือนครึ่งตั้งแต่เริ่มเขียน
blog
นั้น
(๑๕
มกราคม ๒๕๕๓)
ก็มีผู้แวะเข้ามาเยี่ยมชมแล้วประมาณ
๖,๐๐๐
ครั้งหรือเฉลี่ยประมาณ ๕๐
ครั้งต่อวัน
มาวันนี้
Memoir
ฉบับนี้ก็เป็นฉบับที่
๘๕๒ แล้ว (แต่บน
blog
จะมีเพียง
๘๔๒ ฉบับ คือมี ๑๐ ฉบับแรก
ๆ ที่ไม่ได้นำมาไว้บน blog)
พร้อมกับจำนวนครั้งการเยี่ยมชมที่เกินกว่า
๕๐๐,๐๐๐
ครั้งเมื่อนับจากวันที่ ๑
พฤษภาคม ๒๕๕๓
โดยมีจำนวนครั้งการเยี่ยมชมเฉลี่ยอยู่ในช่วง
๑๕,๐๐๐
ถึง ๒๐,๐๐๐
ครั้งต่อเดือน หรือตกกว่า
๕๐๐ ครั้งต่อวัน
(ช่วงเปิดเทอมจะมีคนแวะเข้ามามากเป็นพิเศษ)
Memoir
ทุกฉบับที่เขียนขึ้นนั้นจะมีการจัดทำเป็นฉบับ
pdf
ก่อน
โดยแจกจ่ายให้เฉพาะนิสิตปริญญาโทที่ผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
โดยจะส่งให้ทางอีเมล์ไปเรื่อย
ๆ จนกว่าจะถึงวันรับปริญญาของเขา
(หรือเมื่อเขาพ้นจากการเป็นนิสิตในที่ปรึกษาของผม)
ผู้อ่านบางรายอาจเห็นว่ามันเป็น
blog
ที่ไม่รู้ว่าจะเน้นไปทางไหนกันแน่
จะวิชาการ จะประวัติศาสตร์
จะการเมือง
หรือจะเป็นเรื่องเล่นแบบดูแล้วไม่น่ามีสาระ
ฯลฯ ซึ่งผมก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นอย่างนั้นจริง
ๆ เพราะต้องการให้มันเป็นอย่างที่ขึ้นต้นไว้บน
blog
ก็คือมันเป็นการบันทึก
ประสบการณ์ ความรู้สึกนึกคิด
และความทรงจำ ของช่วงชีวิตที่ผ่านมา
ด้วยต้องการสื่อให้เห็นว่าชีวิตของคนเรานั้นมันไม่ได้มีเพียงแค่งานวิชาการ
มันไม่ใช่ว่าเรียนจบมาทางด้านไหนแล้ว
ชีวิตที่เหลือต้องเรียนเน้นความรู้ไปเฉพาะทางด้านนั้นเท่านั้น
ผมอยากให้ blog
นี้เป็นเสมือนกับหนังสือพิมพ์ธรรมดาฉบับหนึ่งที่เต็มไปด้วยคอลัมน์ที่หลากหลายที่ทุกคนอ่านได้หมด
โดยเลือกอ่านเฉพาะส่วนที่ตัวเองชอบ
(คิดว่ามีใครสักกี่คนครับที่จะอ่านหนังสือพิมพ์ทุกคอลัมน์)
ใครชอบข่าวการเมืองก็อ่านเฉพาะส่วนนั้น
ใครชอบละครหรือข่าวบันเทิงก็ดึงหน้าละครและข่าวบันเทิงมาอ่าน
ใครชอบกีฬาก็เปิดพลิกเข้าไปอ่านข้างในได้เลยแทนที่จะต้องเริ่มอ่านจากพาดหัวข่าวหน้าแรก
เคยมีคนถามเหมือนกันครับว่าทำไมไม่พิมพ์เป็นหนังสือสักที
ผมก็ตอบกลับไปว่าคิดว่าคงจะไม่มีใครซื้อ
(อันที่จริงถ้ามีคนติดต่อจัดพิมพ์ให้ก็คงจะดีกว่า
เพราะไม่อยากลงทุนเอง)
เพราะหนังสือเล่มนี้คงจัดเข้าหมวดหมู่ไหนไม่ได้
เพราะเนื้อหาต่าง ๆ
ที่เขียนจะให้เป็นวิชาการชนิดที่ใช้อ้างอิงได้ก็คงจะไม่ใช่
จะจัดเป็นหนังสือในหมวดหมู่ความรู้หรือบันเทิงก็คงไม่ได้อีกเช่นกัน
นอกจากนี้ก็ยังเคยมีคนถามมาอีกว่าทำไมไม่นำเนื้อหาวิชาการในบทความไปเขียนเป็นตำราเพื่อขอตำแหน่งวิชาการให้มันสูงขึ้นไปอีก
ผมก็ตอบกลับไปว่าวัตถุประสงค์ของการเขียน
blog
นี้ก็เพื่อต้องการให้ผู้อื่น
"อ่านรู้เรื่องและเข้าใจ"
ดังนั้นภาษาที่ใช้หรือตัวอย่างที่ยกมานั้นก็พยายามที่จะทำให้มันเรียบง่าย
(ทำนองเหมือนกับว่าเป็นการพูดคุยกัน)
ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้ภาษาที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับการเขียนหนังสือตำราวิชาการที่ใช้เพื่อการขอเลื่อนตำแหน่งวิชาการ
ตอนแรกที่เริ่มเขียน
blog
ก็เคยนึกสงสัยอยู่เหมือนกันครับว่าจะเขียนไปได้สักกี่เรื่อง
จะเขียนไปได้นานเท่าใด
ซึ่งคงต้องให้เวลาเป็นตัวพิสูจน์
แต่สำหรับวันนี้คงต้องขอขอคุณทุก
ๆ ท่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม
ไม่ว่าท่านจะอยู่ในส่วนใดของมุมโลก
แม้แต่ในบางประเทศซึ่งผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนไทยไปอยู่
ตอนแรกที่เห็นก็แปลกใจ
แต่เห็นมีการแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนเป็นประจำก็เชื่อว่าคงต้องมีผู้อ่านที่เป็นคนไทยประจำอยู่ที่นั่น
และถ้าขณะนี้ท่านยังอยู่ที่นั่นก็ขอให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่สงบและความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศนั้นด้วยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น