รัฐธรรมนูญจัดว่าเป็นกฎหมายหลัก
หากมีกฏหมายใดที่มีข้อความที่ขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ซึ่งอาจเป็นเพียงแค่ข้อความใดข้อความหนึ่ง
มาตราใดมาตราหนึ่ง หรือทั้งฉบับก็ตาม
ก็ให้ข้อความที่ขัดแย้งนั้นเป็นอันตกไป
โดยอาจตกไปเฉพาะเพียงข้อความหรือมาตราที่ขัดแย้ง
หรือตกไปทั้งฉบับก็ได้
แต่มีกฎหมายหนึ่งที่ออกมาก่อนที่จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในประเทศไทย
และยังคงมีผลบังคับใช้มาจนถึงทุกวันนี้
(แม้แต่วันนี้ก็ยังมีการประกาศบังคับใช้อยู่)
นั่นคือ
"พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก
พระพุทธศักราช ๒๔๕๗"
กฎหมายเกี่ยวกับกฎอัยการศึกฉบับแรกของไทยผมคิดว่าคงเป็น
"พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกร.ศ.๑๒๖"
ที่ตราขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่
๕ (พ.ศ.
๒๔๕๐)
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๒๔ หน้า ๑๐๒๙-๑๐๓๐
วันที่ ๒๙ ธันวาคม ร.ศ.
๑๒๖
(พ.ศ.
๒๔๕๐)
ต่อมาพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกด้วยการประกาศใช้
"พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพระพุทธศักราช ๒๔๕๗"
ในช่วงต้นรัชกาลที่
๖ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๓๑ หน้า ๓๘๘-๓๙๕
เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.
๒๔๕๗
ซึ่งเมื่อนับถึงวันนี้ก็ครบ
๑๐๐ ปีพอดี
นับจากหลังการประกาศใช้ในปีพ.ศ.
๒๔๕๗
ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
"พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก
พระพุทธศักราช ๒๔๕๗"
อยู่หลายครั้ง
แต่ก็ไม่ได้ทำการยกเลิกกฎหมายฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่ทดแทน
ครั้งสุดท้ายที่ผมค้นเจอจากหน้าเว็บของราชกิจจานุเบกษาคือ
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก(ฉบับที่๕)ปีพ.ศ.๒๕๐๒
(ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๗๖ ตอนที่ ๗๘ หน้า ๓๑๕-๓๒๒)
วันที่
๑๑ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๐๒)
ส่วนจะมีใหม่กว่านั้นอีกหรือไม่ก็ไม่รู้เหมือนกัน
(ไม่ได้สืบค้นต่อ
แต่คิดว่าคงไม่มี)
การแก้ไขก็เป็นการปรับปรุงกฎหมายให้รับเข้ากับรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินหรือตำแหน่งหน้าที่
(เช่นตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ในกฎหมายเดิม
ก็ปรับเปลี่ยนเป็นผู้บัญชาการทหารแทน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น