หลังจากไปเข้าร่วมประชุมที่กระทรวงพาณิชย์ในตอนเช้า ก็กลับมานั่งสัปหงกตอนเที่ยงเพื่อฟังการนำเสนองานของนิสิตปริญญาเอกรายหนึ่งในวิชาสัมมนา หลังจากที่ผู้นำเสนอเสร็จสิ้นการนำเสนอ ก็ได้เวลาเปิดโอกาสให้ซักถามคำถามต่าง ๆ จากผู้เข้าร่วมรับฟัง (ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าที่เขาถาม ๆ กันนั้นเพราะอยากรู้จริงหรือเพื่อคะแนนการมีส่วนร่วม) แต่มีคำถามหนึ่งที่เห็นมีการถกเถียงกันมากคือตัวเลขค่า ๆ หนึ่งที่ผู้นำเสนอนำมาแสดงในตาราง คือค่า "Tamman temperature"
แล้ว
Tamman
temperature คืออะไร
นั่นคือคำถามจากผู้เข้ารับฟัง
คำตอบที่ได้จากผู้บรรยายก็คือค่า
"ครึ่งหนึ่ง"
ของอุณหภูมิจุดหลอมเหลวของสารนั้น
แต่พอดูตัวเลขในตารางที่เขานำมาเสนอแล้วปรากฏว่ามันไม่ใช่
ค่าที่เขานำมาแสดงนั้นมัน
"น้อยกว่า"
ค่าครึ่งหนึ่งของอุณหภูมิจุดหลอมเหลวของสารอยู่มาก
(กว่า
100ºC)
ตรงนี้ผู้บรรยายก็ชี้แจงว่าเขาก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมมันเป็นเช่นนั้น
ตัวเลขเหล่านี้เขานำมาจากบทความ
และเขาเองก็ไม่สามารถไปแก้ไขบทความดังกล่าวได้
ก็เลยมีการถกเถียงกันพักหนึ่ง
รวมทั้งมีข้อเสนอแนะว่าตัวเลขที่นำมาแสดงนั้นอาจเป็นตัวเลขโดย
"ประมาณ"
ก็ได้
ตอนแรกก็ว่าจะนั่งฟังไปเงียบ
ๆ แต่พอตอนท้ายชั่วโมงมีคนโยนมาให้ว่าให้ช่วยถามคำถามอะไรหน่อย
ผมก็เลยถามกลับไปว่าข้อมูลตัวเลขในตารางที่เข้านำมาแสดง
(คือค่า
Tamman
temperature) นั้นมันมีปัญหาอะไร
(เพราะผมเห็นใครต่อใครถกเถียงกันใหญ่)
ส่วนตัวผมเองนั้นไม่เห็นว่ามันมีปัญหาอะไร
ตัวเลขเหล่านั้นมัน "ถูกต้อง"
อยู่แล้ว
เท่านั้นแหละ
ดูเหมือนในบรรดาผู้เข้าร่วมประชุมบางรายจะเริ่มสะกิดใจ
เริ่มหยิบโทรศัพท์มาเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข
และคำนวณดูเลย
ซึ่งดูเหมือนว่าบางรายนั้นเขาเห็นแล้วว่าที่ผมเปรยขึ้นมานั้นมันหมายถึงอะไร
จากหน้าเว็บของ
Science
Dictionary (http://thesciencedictionary.org/tammans-temperature/)
ให้คำนิยามของ
Tamman
temperture เอาไว้ว่า
"The
temperature at which the mobility and reactivity of the molecules in
a solid become appreciable. It is approximately half the melting
point in kelvin."
ซึ่งก็เป็นคำตอบเดียวกันกับที่ผู้บรรยายนั้นตอบคำถามผู้เข้าร่วมฟัง
เพียงแต่ผู้บรรยายนั้นไม่ได้นำเอาคำสองคำสุดท้ายคือ
"in
kelvin" มากล่าวด้วย
ทีนี้พอไปเอาตัวเลขในบทความที่เขาใช้อุณหภูมิในหน่วย
Deg
C มันก็เลยกลายเป็นว่าตัวเลขในบทความมันไม่ตรงกับคำนิยาม
แต่ถ้าเปลี่ยนหน่วยตัวเลขในบทความให้กลายเป็นองศา
K
แล้ว
จะพบว่ามันตรงกับคำนิยามทุกตัว
เรื่องแบบอ่านอะไรมาไม่หมด
หยิบข้อความมาไม่ครบ
นำมาเพียงบางส่วนแล้วไปพูดต่อ
ผลที่ตามมาก็คือทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันยกใหญ่นี่
เห็นมาหลายครั้งแล้ว
พฤติกรรมนี้อาจเกิดขึ้นจากความจงใจ
(เหตุการณ์ทำนองนี้มักพบเห็นกันในหมู่นักวิชาการหรือสื่อที่ต้องการใช้ข้อมูลในการสร้างข่าว)
หรือด้วยความเข้าใจไม่ดีพอ
พอได้เห็นสิ่งที่ตัวเองต้องการก็รีบตัดส่วนที่เหลือทิ้งทันที
(เห็นบ่อยครั้งในหมู่ผู้ทำวิจัย)
เคยมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นกับนิสิตที่ทำวิจัย
คืออาจารย์ให้ไปอ่านบทความ
แล้วเขาอ่านมาไม่ครบถ้วน
แปลความหมายไม่ถูกต้อง
ไม่ได้พิจารณาถึงข้อจำกัดของข้อสรุปที่ได้
(สำหรับคนที่เริ่มทำวิจัยคงพอจะรู้นะครับว่าบทความวิชาการนั้นชอบที่จะเขียนให้อ่านยาก
ใช้ภาษาที่ซับซ้อน
ไม่เหมือนกับที่เขาใช้ในหนังสือพิมพ์หรือวารสารภาษาอังกฤษทั่วไป
คนที่เพิ่งเคยอ่านแรก ๆ
รับรองได้ว่ามึนไปเหมือนกัน)
พอมาเล่าให้อาจารย์ฟังว่าบทความนั้นบอกว่าทำอย่างนี้แล้วจะได้ผลดีขึ้น
ก็เลยคิดว่าจะเอาสิ่งนั้นมาประยุกต์ใช้ในหัวข้อวิจัยของตัวเองที่ทำงานที่
(เขาคิดว่า)
เหมือนกับบทความนั้น
อาจารย์ที่ปรึกษาก็เชื่อและบอกให้ทำไปตามนั้น
แต่พอนิสิตลงมือทำไปแล้วปรากฏว่าไม่ได้ผลตามที่บทความนั้นอ้างไว้
มันก็เลยเกิดเรื่องวุ่นกันเหมือนกันเพราะทั้งตัวนิสิตและอาจารย์เองไปปักใจเชื่อแล้วว่าสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดีนั้นมันถูกต้อง
เพียงแต่คงจะทำอะไรผิดพลาดในการทดลอง
พอพยายามค้นหาว่าการทดลองมีอะไรผิดพลาดมันก็หาไม่เจอ
(เพราะมันไม่มี)
งานนี้คนรับกรรมคือนิสิต
โดยตัวผมเองนั้นเวลานิสิต
(โดยเฉพาะผู้ที่เข้าเรียนใหม่
ๆ)
ไปอ่านบทความและนำมาเสนอ
ผมมักจะขอดูบทความต้นฉบับด้วย
เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมานั้นพบว่าสำหรับผู้ที่เริ่มอ่านบทความวิจัยใหม่
ๆ นั้นมักจะตีความหมายและแปลความหมายผิดเป็นประจำ
เพราะมักจะเขียนโดยใช้ไวยากรณ์ที่ให้อ่านยากและเต็มไปด้วยศัพท์เทคนิคต่าง
ๆ ที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรม
ถ้าเห็นว่าเขาอ่านจับใจความได้ถูกต้องแล้ว
จึงค่อยไม่ขอดูต้นฉบับ
สำหรับรายที่เกิดเรื่องนี้ ผ่านการเรียนปริญญาโทมาแล้ว และนี่ก็ไม่ใช่ปีแรกของการเรียนปริญญาเอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น