ในตำราเคมีอินทรีย์นั้น
เวลาเอ่ยถึงปฏิกิริยา
halogenation
ของอัลเคน
(alkane)
ก็มักจะกล่าวถึงเพียงแค่กรณีของ
Cl2
กับ
Br2
ซะเกือบทั้งหมด
กรณีของ F2
กับ
I2
นั้นแทบจะไม่ได้ค่อยได้รับการกล่าวถึงเท่าใดนัก
ทั้งนี้เป็นเพราะ F2
มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาสูงมาก
จนยากที่จะควบคุม ส่วน I2
นั้นก็เฉื่อยจนไม่ทำปฏิกิริยา
เวลาข้อสอบถามว่าถ้าเอาสารละลาย
I2
ใน
CCl4
หยดลงไปในหลอดทดลองที่บรรจุสารตัวอย่างที่เป็น
alkane
หรือ
alkyl
aromatic (สารประกอบที่วงแหวนอะโรมาติกมีหมู่อัลคิลเกาะอยู่เช่น
โทลูอีน (Toluene
C6H5-CH3) ไซลีน
(Xylene
C6H4-(CH3)2)
และเอทิลเบนซีน
(Ethyl
benzene C6H5-CH2CH3)
แล้ววางในหลอดทดลองในที่ร่มกับนำไปวางตากแดด
สีของสารละลายจะเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร
คำตอบก็คือมันก็จะยังคงเป็นสีม่วง
(สีของ
I2)
เหมือนเดิม
เพราะปฏิกิริยามันไม่เกิด
การสอนแลปเคมีอินทรีย์ช่วงหลังนั้น
ได้เปลี่ยนมาใช้สารละลาย
Bromine
water หรือ
Br2
ในน้ำแทน
(สารละลายมีสีเหลืองของ
Br2)
เพราะต้องการลดการใช้
CCl4
แต่
Bromine
water นั้นมันแยกชั้นกับไฮโดรคาร์บอน
โดยไฮโดรคาร์บอนจะลอยอยู่บนสารละลาย
Bromine
water การทำปฏิกิริยาจะเกิดได้เฉพาะตรงรอยต่อระหว่างเฟสเท่านั้น
ดังนั้นในระหว่างการทดลองจึงจำเป็นต้องทำการเขย่าหลอดทดลองไปด้วย
เพื่อให้ Br2
ในชั้นน้ำละลายเข้าไปในชั้นไฮโดรคาร์บอน
ถ้าไม่เกิดปฏิกิริยา
ชั้นไฮโดรคาร์บอนก็จะเป็นสีเหลือง
แต่ถ้าเกิดปฏิกิริยา
ชั้นไฮโดรคาร์บอนก็จะใสเหมือนเดิม
รูปที่
๑ ชั้นล่างเป็น I2
ในสารละลาย
KI
(เห็นข้างขวดเขียนไว้ว่าเข้มข้นประมาณ
10-4
M) ส่วนชั้นบนเป็น
xylene
หลอดซ้ายหลังจากที่ผสมกันแล้วก็เขย่า
ส่วนหลอดขวานั้นก็ตั้งทิ้งไว้เฉย
ๆ จะเห็นว่า I2
จากชั้นสารละลาย
KI
จะแพร่ขึ้นไปอยู่ในชั้น
xylene
ทำให้สีของ
xylene
เปลี่ยนไปเนื่องจากมี
I2
เข้าไปปนอยู่
ถ้า I2
เข้าไปได้มากก็จะออกทางโทนสีม่วง
ที่นี้ถ้าเราเปลี่ยนมาใช้สารละลาย
I2
ในสารละลาย
KI
ดูบ้าง
(I2
จะอยู่ในรูปของ
I3-)
แล้วทำการทดลองอย่างเดียวกัน
ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร
ถ้าเราเอา
I2
ไปละลายในตัวทำละลายไม่มีขั้วหรือแอลกฮอล์
(เช่นเอทานอล)
เราจะได้สารละลายสีม่วงของ
I2
แต่ถ้าเราเอา
I2
ไปละลายในสารละลาย
KI
เราจะได้สารละลายสีเหลือง
ส่วนจะเหลืองอ่อนหรือเข้มก็ขึ้นกับความเข้มข้นของ
I2
ที่ละลายเข้าไป
ยิ่งมีมากก็ยิ่งออกทางเหลืองเข้มมากขึ้น
พอเราใส่สารละลาย
I2
ในสารละลาย
KI
ลงในหลอดทดลองร่วมกับไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
(หรืออะโรมาติกก็ได้)
มันก็จะแยกชั้นเป็นสองชั้น
โดยชั้นบนเป็นไฮโดรคาร์บอน
(จะใส
ไม่มีสี)
ชั้นล่างเป็นสารละลาย
I2
ในสารละลาย
KI
(สีเหลือง)
ถ้าตั้งทิ้งไว้เราก็จะเห็นชั้นไฮโดรคาร์บอนค่อย
ๆ มีสีออกทางโทนแดงเพิ่มขึ้นอย่างช้า
ๆ เนื่องจาก I2
ในสารละลาย
KI
แพร่เข้าไปละลายอยู่ในชั้นไฮโดรคาร์บอน
แต่ถ้าอยากให้มันแพร่เร็วขึ้นก็ต้องเขย่าหลอดทดลองช่วยด้วย
ผลที่ออกมาก็จะเป็นดังรูปที่
๑ ที่ถ่ายเอาไว้เมื่อวาน
บังเอิญเมื่อวานในแลปไม่มีสารละลาย
I2
ในสารละลาย
KI
ที่ความเข้มข้นสูงเหลืออยู่
มีแต่ขวดความเข้มข้นเจือจางเหลืออยู่ขวดนึง
สีที่เห็นมันก็เลยยังออกเป็นโทนสีแดงอยู่
แต่ถ้าใช้สารละลาย I2
ในสารละลาย
KI
ที่ความเข้มข้นสูงพอก็จะเห็นว่าสีของชั้นไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวนั้นจะออกทางโทนสีม่วง
เอาเรื่องนี้ไปออกข้อสอบทีไร
หาคนตอบคำถามถูกไม่ค่อยจะได้ทุกที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น