ผมถามคำถามนั้นขึ้นมา
เมื่อได้ยินคนพูดถึงนิสิตทำข้อสอบผิดด้วยการเอา
mole
fraction ไปคู่กับ
volumetric
flow rate (คงเข้าใจว่ามันจะออกมาเป็น
mass
flow rate หรือ
molar
flow rate มั้ง)
โดยไม่มีการแปลงหน่วยให้เหมาะสมก่อนที่จะเอาตัวเลขสองตัวมาคูณกัน
แต่ผมว่าสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ผู้เรียนควรรู้ก็คือ
"เรียนเปลี่ยนหน่วยไปทำไม"
หน่วยในที่นี้คือ
"หน่วยวัด
(unit)"
(วัดในที่นี้คือ
measurement
นะ
ไม่ใช่ temple)
ที่ใฃ้กันในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
หน่วยวัดที่ใช้กันนี้มีอยู่มากมายหลายระบบ
เพราะแต่ละสังคมก็มีการพัฒนาหน่วยวัดของตัวเองขึ้นมา
แต่การติดต่อกันระหว่างสังคมที่มีการใช้หน่วยวัดที่แตกต่างกันในการวัดสิ่งเดียวกัน
ทำให้ต้องมีการแปลงหน่วยเพื่อให้สามารถทำการเปรียบเทียบกันได้
และสังคมใดที่มีความเจริญก้าวหน้ากว่าสังคมอื่น
ก็ทำให้หน่วยวัดของสังคมนั้นเป็นที่ใช้กันแพร่หลายมากขึ้น
หน่วยวัดสองตระกูลหลักที่ใช้กันในปัจจุบันเห็นจะได้แก่ระบบอังกฤษกับระบบเมตริก
การจำแนกเช่นนี้เป็นการจำแนกโดยใช้เกณฑ์ตามผู้คิดค้น
วิธีการจำแนกหน่วยวัดอีกแบบหนึ่ง
(ไม่ว่าจะเป็นระบบอังกฤษหรือระบบเมตริก)
คือใช้ความสะดวกในการใช้งานเป็นเกณฑ์
ด้วยเกณฑ์นี้เราอาจจำแนกหน่วยวัดออกเป็นหน่วยที่ง่ายต่อการคำนวณ
(พวก
scientific
unit มักเป็นเช่นนี้)
กับหน่วยที่มองเห็นภาพได้ง่ายในการใช้งาน
(พวก
engineering
unit ก็เป็นเช่นนี้)
ที่แย่ก็คือหน่วยที่ง่ายต่อการคำนวณมักจะนึกภาพออกยาก
ในขณะที่หน่วยที่เห็นภาพได้ง่ายกลับสร้างความยุ่งยากในการคำนวณ
งานทางวิศวกรรมศาสตร์นั้นมักจะประกอบด้วย
(ก)
งานคำนวณ
และ (ข)
การออกแบบขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ผู้อื่นปฏิบัติงานได้ไม่ผิดพลาด
สิ่งสำคัญคือการออกแบบขั้นตอนการทำงาน
"เพื่อให้ผู้อื่นปฏิบัติงานได้ไม่ผิดพลาด"
นั้นต้องพยายามไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานเมื่ออ่านขั้นตอนการทำงานแล้วต้องคิดมากหรือตีความเป็นอย่างอื่นได้
และไม่ควรที่จะซับซ้อนมากเกินไปด้วย
เพื่อให้เห็นภาพ
ลองพิจารณาวิธีการเตรียมสารละลายโซดาไฟ
(NaOH)
เข้มข้น
1.0
mol/l ปริมาตร
1
ลิตร
วิธีที่
๑ นำโซดาไฟ (NaOH)
มา
1.0
โมล
แล้วละลายน้ำให้ได้ปริมาตร
1
ลิตร
(น้ำหนักโมเลกุล
Na
= 23 O = 16 และ
H
= 1)
วิธีที่
๒ ชั่งโซดาไฟหนัก 40
กรัม
แล้วละลายน้ำให้ได้ปริมาตร
1
ลิตร
สำหรับคนที่มีพื้นฐานเคมีมาจะเป็นวิธีที่
๑ หรือวิธีที่ ๒ มันก็ไม่มีปัญหาหรอกครับ
เพียงแค่ถ้าเป็นวิธีที่ ๑
มันต้องเสียเวลาคำนวณเล็กน้อย
แต่ถ้าเป็นคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนเคมีมา
เจอหน่วยว่า "โมล"
เข้าไปก็คงจะงงไปเลยว่ามันคืออะไร
แต่ถ้าบอกเขาว่าให้ชั่งโซดาไฟหนัก
40
กรัมนั้นเขาจะเข้าใจได้โดยไม่ต้องคิดอะไร
หน่วยโมลมันให้ความสะดวกสำหรับนักเคมีในการคำนวณการทำปฏิกิริยาเคมี
แต่เราวัดโมลไม่ได้โดยตรง
สิ่งที่เราวัดได้คือน้ำหนัก
หน่วยน้ำหนักจึงเป็นหน่วยที่ให้ความสะดวกในการทำงานมากกว่าหน่วยโมล
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ตอนออกแบบปฏิกิริยานั้นจะคำนวณโดยใช้สัดส่วนโดยโมล
(ใช้สารตัวนั้นเท่านี้โมลตัวโน้นเท่านี้โมลมาผสมกัน)
แต่เมื่อนำมาใช้งานจริงในทางปฏิบัติจะต้องมีการแปลงหน่วยโมลให้เป็นน้ำหนัก
(ใช้สารตัวนั้นเท่านี้กรัมตัวโน้นเท่านี้กรัมมาผสมกัน)
ทีนี้สมมุติว่าเราต้องการรู้พื้นที่หน้าตัดของท่อกลม
และเราต้องการให้พนักงานทำการคำนวณให้เรา
เวลาที่เขียนคู่มือการทำงาน
ลองพิจารณาดูนะครับว่าเราควรจะใช้สูตรไหนในการคำนวณระหว่าง
(ก)
3.141 x r2 เมื่อ
r
คือรัศมี
และ
(ข)
0.785 x D2 เมื่อ
D
คือเส้นผ่านศูนย์กลาง
(3.14
คือค่า
pi
และ
0.785
คือค่า
pi/4)
สิ่งที่เราวัดได้คือ
"เส้นผ่านศูนย์กลาง"
ไม่ใช่
"รัศมี"
นะครับ
ในการทำงานกับอนุภาคของแข็งการใช้หน่วยน้ำหนักยังเหมาะมากกว่าการวัดปริมาตร
เพราะปริมาตรของกองอนุภาคของแข็งนั้นขึ้นอยู่กับการอัดตัวของกองของแข็งนั้น
การทดลองง่าย ๆ
ที่กระทำได้เองก็คือลองเอาน้ำตาลทรายเทใส่แก้วหรือขวดโหล
จากนั้นก็ปาดผิวบนให้เรียบ
และลองเคาะแก้วหรือขวดโหลนั้น
(ด้วยการยกขึ้นและกระแทกพื้นเบา
ๆ)
เราจะเห็นระดับความสูงของน้ำตาลทรายในแก้วหรือขวดโหลนั้นลดลง
ทั้ง ๆ ที่ปริมาณน้ำตาลทรายนั้น
(คิดโดยน้ำหนัก)
นั้นคงเดิม
(เรื่องทำนองนี้เคยทดลองให้ดูแล้วใน
memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๓๗๙ วันอังคารที่
๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ เรื่อง "ทำไม fixed-bed จึงวางตั้ง")
บ่อยครั้งที่การวัดปริมาณของเหลวด้วยการ
"ฃั่งน้ำหนัก"
นั้นดีกว่าการ
"วัดปริมาตร"
โดยเฉพาะในกรณีที่ความหนาแน่นของของเหลวนั้นเปลี่ยนแปลงได้มากเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป
(เราเอาน้ำ
1
กิโลกรัมไปแข่เย็นให้เป็นน้ำแข็ง
เราก็จะได้น้ำแข็งหนัก 1
กิโลกรัม
แต่ถ้าวัดปริมาตรจะพบว่าน้ำแข็ง
1
กิโลกรัมมีปริมาตรมากกว่าน้ำที่เป็นของเหลว
1
กิโลกรัม)
การซื้อขายของเหลวที่นำส่งด้วยรถบรรทุก
(เช่นกรดกำมะถัน)
ก็จะใช้การชั่งน้ำหนักรถก่อนและหลังการถ่ายของเหลวเข้าถังเก็บ
ผลต่างน้ำหนักรถนั้นคือปริมาณของเหลวที่ผู้ขายส่งต่อให้ผู้ซื้อ
ส่วนผู้ซื้อถ้าอยากรู้ว่าได้ของเหลวมาปริมาตรเท่าใดนั้นก็ต้องไปดูการเปลี่ยนแปลงระดับที่ถังเก็บหรือไม่ก็เอาค่าความหนาแน่นของของเหลวนั้นมาคำนวณเอง
หน่วยพวก
Engineering
Unit นั้นมักจะเน้นที่การมองเห็นภาพ
ที่คนทั่วไป
(ที่ไม่ใช่วิศวกรหรือนักวิทยาศาสตร์)
สามารถนึกภาพเปรียบเทียบได้
และตัวเลขไม่ควรมีขนาดที่มากหรือน้อยเกินไป
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการบอกกำลังเครื่องยนต์ของรถยนต์
ที่ในใบโฆษณานั้นจะระบุทั้งกิโลวัตต์
(kW)
และแรงม้า
(HP
หรือ
PS)
ลองนึกภาพว่าถ้ามีคนบอกคุณว่าเครื่องยนต์รถคันนี้มีกำลัง
88
kW กับ
120
HP แบบไหนจะทำให้คุณมองเห็นภาพได้ง่ายกว่ากัน
เกรน
(grain)
เป็นหน่วยวัดน้ำหนักหน่วยหนึ่งที่ยังใช้กันอยู่ในบางงาน
เช่นในการชั่งน้ำหนักเพชรพลอยและหัวกระสุนปืน
1
เกรนหนักเท่ากับ
0.06479891
กรัม
น้ำหนักหัวกระสุนปืน
(รวมทั้งดินปืนที่บรรจุ)
นั้นนิยมที่จะใช้หน่วยเกรน
เพราะมันให้ตัวเลขที่ลงตัวและไม่มากไม่น้อยเกินไป
(ลองค้นดูแคตตาล๊อกกระสุนปืน
จะเห็นว่าจะบอกน้ำหนักหัวกระสุนด้วยหน่วยเกรนกันทั้งนั้น)
ในการวัดความดัน
หน่วยที่ง่ายต่อการคำนวณคือปาสคาล
(Pa)
แต่หน่วยที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมองเห็นภาพได้ง่ายกว่าคือน้ำหนักต่อหน่วยพื้นที่
(เช่นกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
kg/m2
หรือปอนด์ต่อตารางนิ้ว
psi)
ตัวอย่างง่าย
ๆ ที่เห็นได้ชัดคือแรงดันลมของยางรถยนต์
แม้ว่าป้ายที่ติดไว้ข้างประตูรถจะมีการระบุความดันลมทั้ง
kPa
(กิโลปาสคาล)
และ
psi
(ปอนด์ต่อตารางนิ้วหรือเราเรียกสั้น
ๆ ว่าปอนด์)
เวลาเราจะเติมลมยางรถยนต์ทีไรก็จะบอกแรงดันลมเป็นปอนด์ทุกที
ในงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งของเหลวขึ้นที่สูงกลับใช้หน่วยเป็นความสูง
ที่เห็นชัดคือปั๊มของเหลวพวกปั๊มหอยโข่ง
มักจะไม่บอกว่าปั๊มนี้สร้างความดันด้านขาออกได้เท่าใด
แต่จะบอกว่ามีเฮด (head)
เท่าใด
ซึ่งก็คือสามารถดันน้ำขึ้นไปได้สูงสุดเท่าใด
และการใช้ระดับความสูงของของเหลวเป็นตัวบอกความดันก็ยังนิยมใช้กับความดันที่ต่ำไม่มาก
เช่นห้องควบคุมหรือห้องปฏิบัติการที่ต้องมีการควบคุมความดันภายในห้องดังกล่าวให้แตกต่าง
(อาจจะสูงกว่าหรือต่ำกว่า
ขึ้นอยู่กับการทำงาน)
ความดันนอกห้องเล็กน้อย
จะนิยมบอกความดันด้วยหน่วยความสูงของน้ำ
(อาจเป็นนิ้วน้ำ
เซนติเมตรน้ำ หรือมิลลิเมตรน้ำ)
หรือในงานทางด้านสุญญากาศก็ยังเห็นมีการใช้หน่วยมิลลิเมตรปรอทในการบอกระดับการทำสุญญากาศกันอยู่
การวัดปริมาณ
(จะเป็นน้ำหนักหรือปริมาตรก็ตาม)
ของแก๊สที่ไหลอยู่ในท่อนั้นจะวุ่นวายมากกว่าการวัดปริมาณของเหลวที่ไหลอยู่ในท่อ
สำหรับของเหลวแล้วในการใช้งานตามปรกติ
ที่ความเร็วในการไหลในระบบท่อเท่ากัน
ความหนาแน่นของของเหลวนั้นไม่เปลี่ยนแปลงตามความดันและไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิด้วย
แต่แก๊สนั้นแตกต่างกันไปเพราะความหนาแน่นของแก๊สนั้นเปลี่ยนแปลงได้มากเมื่ออุณหภูมิและ/หรือความดันเปลี่ยนแปลงไป
การบอกปริมาณ (จะเป็นน้ำหนักหรือปริมาตรก็ตาม)
โรงงานมักจะทำโดยการวัด
"ความดัน"
คร่อมจุดวัดสองจุด
(ปรกติก็เป็นแผ่น
orifice
หรือท่อ
venturi)
และ
"อุณหภูมิ"
ของแก๊สนั้น
จากนั้นจึงค่อยนำข้อมูลที่ได้มาทำการคำนวณค่า
"ปริมาตรจำเพาะ"
หรือ
"ความหนาแน่นจำเพาะ"
(ด้วยการใช้สมการสภาวะหรือ
equation
of state นั่นเอง)
ในเรื่องระบบปรับอากาศหรือทำความเย็นก็ยังมีการใช้หน่วย
"ตันความเย็น
(a
day ton หรือ
ton
refrigerate)"
ซึ่งหมายถึงพลังงานความร้อนที่ต้องใช้ในการละลายน้ำแข็งหนัก
1
ตันที่อุณหภูมิ
0
องศาเซลเซียสในเวลา
24
ชั่วโมง
เมื่อนำมาใช้กับความสามารถในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศจะบ่งออกให้ทราบถึงความสามารถของเครื่องปรับอากาศนั้นในการดึงเอาความร้อนออกเทียบเท่ากับการผลิตน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิ
0
องศาเซลเซียสได้กี่ตันในเวลา
1
วัน
(หรือ
24
ชั่วโมง)
หวังว่าตัวอย่างที่ยกมาคงช่วยให้ความกระจ่างได้บ้างแก่ผู้ที่สงสัยว่า
"เรียนเปลี่ยนหน่วยไปทำไม"
นะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น