ตลาดหนองหมู
ปัจจุบันอยู่ในตำบลหนองหมู
อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ ณ
ปลายคลองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนืองของคลองหกวาสายบน
ในหน้าเว็บขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหมูกล่าวถึงประวัติของพื้นที่นี้ว่า
"สมัยก่อนพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เบญจพรรณ
มีหนองน้ำขนาดใหญ่ อยู่ระหว่างวัด
และมีลำคลองไหลผ่าน
ชาวบ้านเล่าว่าจะมีหมูป่ามากินน้ำเป็นจำนวนมาก
น้ำในคลองนี้ก็ใช้สำหรับอุปโภค/บริโภค
จึงเรียกว่า "หนองหมูป่า"
ต่อมามีชาวบ้านมาอาศัยกันมากขึ้น
จึงเรียกว่า "หนองหมู"
จนถึงปัจจุบัน"
(http://nongmoosao.go.th/history.php?content_id=4)
รูปที่
๒ ภาพขยายส่วนที่วงสีเหลืองไว้ในรูปที่
๑
ในหนังสือ
"The
Railway Atlas of Thailand, Laos and Combodia" เขียนโดย
B.R.
Whyte หน้า
๑๑๓ กล่าวถึงหมู่บ้านนี้ว่าเป็นปลายทางของทางรถราง
(tram
way) บรรทุกไม้และได้แสดงแผนที่ไว้ในรูปที่
28
ของหนังสือดังกล่าวที่แสดงให้เห็นเส้นทางที่ไปสิ้นสุดยังบริเวณป่าทางด้านทิศเหนือค่อนไปทางตะวันออกของหมู่บ้าน
(เทียบจากแผนที่ปัจจุบันแล้วค่าว่าเป็นบริเวณด้านทิศตกเฉียงใต้ของ
"อุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย"
ในปัจจุบัน)
ที่น่าเสียดายคือประวัติเส้นทางสายนี้ไม่ชัดเจนว่าสร้างเพื่อวัตถุประสงค์ใด
เริ่มสร้างเมื่อใด
และรื้อถอนออกไปเมื่อใด
รูปที่
๑ นั้นนำมาจาก
http://www.nla.gov.au/apps/cdview/?pi=nla.map-vn2018580-s22-v
ส่วนรูปที่
๒ เป็นภาพขยายของรูปที่ ๑
แผนที่นี้ระบุว่าเป็นแผนที่บริเวณตลาดหนองหมู
อยู่ที่ปลายด้านหนึ่งของคลองหกวาสายบน
ส่วนรูปที่ ๓ นั้นนำมาจาก
http://www.nla.gov.au/apps/cdview/?pi=nla.map-vn2018580-s10-v
แสดงพื้นที่บริเวณจังหวัดสระบุรี
โดยมีส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟจากบ้านหนองหมูปรากฏอยู่ที่มุมด้านขวาล่างของแผนที่
(ภาพขยายในรูปที่
๔)
ปัจจุบันส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟนี้กลายเป็นทางหลวงสาย
๓๐๔๕
ส่วนปลายด้านเหนือกลายเป็นถนนสายใดนั้นคงต้องหาแผนที่เส้นทางรถไฟเดิมที่ชัดเจนมาเปรียบเทียบต่อไป
รูปที่ ๓ แผนที่จังหวัดสระบุรี ปรากฏเส้นทางรถไฟบรรทุกไม้จากบ้านหนองหมูที่มุมด้านล่างขวาของแผนที่ (ในวงสีเขียว)
รูปที่ ๔ ภาพขยายมุมขวาล่างของรูปที่ ๓
รูปที่ ๕ แผนที่ปัจจุบันของบ้านหนองหมู ปัจจุบันเส้นทางรถไฟกลายเป็นทางหลวงสาย ๓๐๔๕ แต่แผนที่นี้ระบุชื่อคลองหกวาสายบนเป็นคลอง 6 และใส่ชื่อคลอง 6 สายบนให้กับอีกคลองหนึ่ง
รูปที่ ๔ ภาพขยายมุมขวาล่างของรูปที่ ๓
รูปที่ ๕ แผนที่ปัจจุบันของบ้านหนองหมู ปัจจุบันเส้นทางรถไฟกลายเป็นทางหลวงสาย ๓๐๔๕ แต่แผนที่นี้ระบุชื่อคลองหกวาสายบนเป็นคลอง 6 และใส่ชื่อคลอง 6 สายบนให้กับอีกคลองหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น