บ้านที่มีเครื่องซักผ้าฝาหน้าเคยเจอไหมครับ
ถ้าระหว่างที่กำลังซักผ้าอยู่
เช่นตอนที่เครื่องกำลังหมุนไปมาโดยมีผ้าอยู่ข้างในแล้วน้ำอยู่เต็มเครื่อง
แล้วอยู่ดี ๆ ไฟฟ้าก็ดับกระทันหัน
ทำให้เครื่องซักผ้าหยุดการทำงาน
คำถามก็คือเหตุการณ์ใดต่อไปนี้จะเกิดขึ้น
(ก)
สวิตช์เปิด-ปิดเครื่องจะ
reset
ตัวเองไปอยู่ที่ตำแหน่งปิด
ดังนั้นถ้าไฟฟ้ากลับมาเมื่อใด
เครื่องก็จะยังคงปิดอยู่
(คือไม่มีไฟฟ้าจ่ายเข้าเครื่อง)
เครื่องปรับอากาศบางรุ่นจะเป็นเช่นนี้
หรือ
(ข)
สวิตช์เปิด-ปิดเครื่องยังคงค้างอยู่ที่ตำแหน่งเปิด
ดังนั้นถ้าไฟฟ้ากลับมาเมื่อใด
เครื่องก็จะเปิดการทำงานเองโดยอัตโนมัติ
แบบเดียวกับพัดลม ตู้เย็น
หรือโคมไฟที่กดปุ่มเปิดทิ้งไว้
ถ้าไฟฟ้าดับ พัดลม ตู้เย็น
หรือโคมไฟนั้นก็หยุดการทำงาน
พอไฟฟ้ากลับมาใหม่
มันก็เริ่มการทำงานใหม่ของมันเอง
และพอไฟฟ้ากลับคืนมาแล้ว
ถ้าเป็นกรณี (ก)
คุณก็คงต้องไปเปิดการทำงานของเครื่องใหม่ด้วยตนเอง
แต่ถ้าเป็นกรณี (ข)
คือถ้าเครื่องซักผ้ากลับมาอยู่ในสถานะเปิดเครื่องพร้อมเริ่มการทำงานใหม่
คำถามถัดมาก็คือ
(ค)
เครื่องจะเริ่มการทำงานใหม่ด้วยตนเองได้เลย
หรือเราต้องไปสั่งด้วยตนเองให้มันเริ่มการทำงาน
หรือ
(ง)
ขั้นตอนการซักสามารถที่จะดำเนินการต่อไปจากขั้นตอนเดิมก่อนไฟฟ้าดับ
หรือว่าต้องเริ่มใหม่หมด
และถ้าไฟฟ้าดับยาวแบบไม่มีกำหนดไม่รู้ว่าจะมาเมื่อใด
ในกรณีเช่นนี้
คุณจะทำอย่างไรก็ผ้าที่ค้างอยู่ในเครื่อง
เช่น
(จ)
หาทางนำเอาผ้าออกมา
ทั้ง ๆ ที่มีน้ำค้างอยู่ในเครื่อง
โดยต้องหาทางระบายน้ำที่ค้างอยู่ให้ได้ก่อน
(ฉ)
ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น
พอไฟฟ้ากลับคืนมาใหม่ก็ค่อยว่ากัน
และถ้าไฟฟ้ากลับมาแล้ว
ก็อย่าลืมไปตอบคำถามข้อ
(ค)
และ
(ง)
ข้างบนด้วย
รูปที่
๑
การลำเลียงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองเข้าติดตั้งในอาคารของโรงงานแห่งหนึ่งที่ได้ไปเยี่ยมชมเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ปลายเดือนที่แล้วผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมโรงงานแห่งหนึ่งที่อยู่ระหว่างการทดสอบเครื่องจักร
มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ที่ทำงานที่นั่นหลายท่าน
และมีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ผมเห็นว่ามีความเข้าใจไม่ตรงกันอยู่
(ไม่ว่าจะเป็นในหมู่วิศวกรด้วยกันหรือผู้ที่ไม่ใช่วิศวกร)
นั่นคือจะเกิดอะไรขึ้นกับเครื่องจักรต่าง
ๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับโดยไม่ทราบล่วงหน้า
และจะเกิดอะไรขึ้นตามมากับเครื่องจักรนั้นเมื่อไฟฟ้ากลับคืนมาเหมือนเดิม
เพื่อให้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว
ผมจึงได้ยกภาพเหตุการณ์สมมุติ
(ที่บางท่านอาจจะเคยเจอกับตนเองมาแล้วก็ได้)
ที่คิดว่าทุกคน
(ไม่ว่าจะใครก็ตามที่รู้จักเครื่องซักผ้าฝาหน้า)
สามารถมองเห็นภาพได้
เพื่อจะได้เห็นความสำคัญของการเตรียมคู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ
ในขณะที่โรงงานกำลังทำงานอยู่ในขั้นตอนต่าง
ๆ อย่างเช่นกรณีเครื่องซักผ้าฝาหน้าที่ยกมานี้
ถ้าเราเปลี่ยนเป็นเกิดไฟฟ้าดับขณะที่กำลังปั่นแห้ง
ซึ่งเป็นจังหวะที่ไม่มีน้ำในเครื่อง
มุมมองของคำตอบมันก็แตกต่างไปได้
ที่เขียนมาข้างบนเป็นเพียงตัวอย่างคำถามที่ผมยกขึ้นมา
มุมมองที่ผมให้ความเห็นต่อเขาคือมุมมองโดยสมมุติว่าผมเป็นบุคลากรฝ่ายผลิต
คือทำหน้าที่ใช้งานเครื่องจักร
อุปกรณ์และสาธารณูปโภคต่าง
ๆ ทำการเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์
ในโรงงานที่ผมไปเยี่ยมชมนี้
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตประกอบด้วยวิศวกรสาขาต่าง
ๆ ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบสาธารณูปโภค
และนักวิทยาศาสตร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์การผลิตเพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์
แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักแหล่งที่มาของไฟฟ้าของโรงงานนี้ก่อน
ระบบจ่ายไฟฟ้าภายในโรงงานนั้นรับกระแสไฟฟ้ามาจาก
๒ ส่วนด้วยกันคือ
ส่วนที่
๑ คือกระแสไฟฟ้าที่รับจากการไฟฟ้า
นี่คือกระแสไฟฟ้าหลักที่โรงงานใช้
ส่วนที่
๒ คือกระแสไฟฟ้าที่รับจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง
การใช้กระแสไฟฟ้าส่วนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าส่วนที่
๑ (จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
ขาดหายไป
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองนั้นปรกติจะไม่เดินเครื่อง
จะเริ่มเดินเครื่องก็ต่อเมื่อไฟฟ้าส่วนที่
๑ ขาดหายไป ดังนั้นจะมีช่วงเวลาสั้น
ๆ อยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่ระบบไฟฟ้าจะมีปัญหา
คือช่วงระหว่างไฟฟ้าส่วนที่
๑ ขาดหายกับไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจ่ายชดเชยได้เต็มกำลัง
(เครื่องจักรก็จำเป็นต้องใช้เวลาเร่งเครื่องบ้างจากหยุดนิ่งจนกว่าจะได้รอบการหมุนได้ที่)
ประเด็นหนึ่งที่ผมพบและคิดว่าเป็นปัญหาคือ
ความเข้าใจเรื่องการทำงานของระบบไฟฟ้าสำรองของโรงงานที่เข้าไปเยี่ยมชม
เพราะพบว่าบุคลากรของโรงงานเองมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันอยู่
ระหว่างสิ่งที่ออกแบบไว้และทำการติดตั้ง
และสิ่งที่ผู้ใช้งานเข้าใจ
คือพบว่าผู้ปฏิบัติงานส่วนหนึ่งยังมีความเข้าใจว่าตัวโรงงานนั้นมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองที่จ่ายไฟฟ้าให้ได้ทั้งโรงงาน
(ในความเป็นจริงเป็นเช่นนั้น)
ดังนั้นแม้ว่าไฟฟ้าจะดับ
(คือไม่มีไฟฟ้าส่วนที่
๑ จากการไฟฟ้า)
จ่ายเข้ามา
โรงงานก็จะยังสามารถดำเนินเครื่องต่อไปได้
"เหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น"
ซึ่งในความจริงนั้นมันไม่ใช่
สิ่งสำคัญที่ผมเห็นว่าผู้ปฏิบัติงานของโรงงานดังกล่าวต้องทำความเข้าใจก็คือ
ระบบไฟฟ้าสำรองนั้นทำงานอย่างไร
เพราะมันส่งผลต่อสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องลงมือปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ
(ตรงนี้ผมเห็นว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตไม่ควรมีข้ออ้างว่าไม่จำเป็นต้องรู้เพราะไม่ใช่วิศวกร
หรือไม่ใช่วิศวกรไฟฟ้า)
ตรงจุดนี้เราอาจต้องพิจารณารูปแบบการรับไฟฟ้าของอุปกรณ์/เครื่องจักรต่าง
ๆ ว่ามีการรับไฟฟ้าในรูปแบบใด
ซึ่งในกรณีนี้พอจะแยกได้เป็น
๒ รูปแบบ
(ถ้าในความเป็นจริงมีมากกว่านี้ก็ขอให้พิจารณาเพิ่มเติมเข้าไปด้วย)
ดังนี้
รูปแบบที่
๑ อุปกรณ์ไฟฟ้าดึงไฟฟ้าจากแหล่งสำรองไฟ
(เช่นดึงจากระบบ
UPS
- uninterrupted power supply ที่เป็นระบบแบตเตอรีสำรองไฟฟ้า)
โดยระบบ
UPS
นี้รับไฟฟ้าจากระบบจ่ายไฟฟ้าของโรงงานอีกทีหนึ่ง
รูปแบบนี้มักจะเป็นรูปแบบที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
(เช่นคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ควบคุม ฯลฯ)
ใช้นั้น
อุปกรณ์ไฟฟ้าจะไม่รับรู้ถึงการหายไปของไฟฟ้าจากส่วนที่
๑ (ส่วนที่รับมาจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
เพื่อให้เห็นภาพก็ขอยกตัวอย่างบ้านที่มีถังพักน้ำแล้วสูบน้ำจากถังพักไปใช้
น้ำประปาที่ไหลเข้าถังจะไหลอ่อน
ไหลแรง หรือไม่ไหลเลยนั้น
ผู้ใช้น้ำในบ้านจะไม่รู้สึก
จะรู้สึกก็ต่อเมื่อน้ำในถังพักใกล้หมด
หรือคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
ที่ดึงไฟจากแบตเตอรี่ในตัวเครื่องมาใช้งาน
รูปแบบที่
๒ อุปกรณ์ไฟฟ้าดึงไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าของโรงงานโดยตรง
รูปแบบนี้มักเป็นกรณีของอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่
(เช่นพวกมอเตอร์ต่าง
ๆ)
หรือเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ไม่มีความสำคัญมาก
(เช่นไฟแสงสว่าง
พัดลม ฯลฯ)
พฤติกรรมของอุปกรณ์เหล่านี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับจะขึ้นอยู่กับว่าการออกแบบสวิตช์ปิด-เปิดนั้นเป็นอย่างไร
อุปกรณ์ไฟฟ้าธรรมดา
ขนาดเล็ก (เช่นไปแสงสว่าง
พัดลม)
สวิตช์ปิด-เปิดจะเป็นแบบกดธรรมดา
คือเมื่อกดเปิดเครื่องแล้วสวิตช์จะค้างอยู่ในตำแหน่งเปิดเครื่อง
ถ้าหากเกิดไฟฟ้าดับ
สวิตช์ก็จะยังคงค้างอยู่ในตำแหน่งเปิดเครื่องอยู่
(แม้ว่าตัวอุปกรณ์จะหยุดการทำงานเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้า)
และเมื่อใดก็ตามที่กระแสไฟฟ้ากลับมาใหม่
(ไม่ว่าจะมาจากการไฟฟ้าหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง)
อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นก็จะกลับมาทำงานเองอีกครั้ง
แต่ทั้งนี้ควรมีการตรวจสอบด้วยว่า
มีอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวไหนบ้างหรือไม่ที่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ
สวิตช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวนั้นจะยังคงค้างอยู่ในตำแหน่ง
"เปิดเครื่อง"
แต่เพื่อความปลอดภัย
จึงควรที่จะมีการสับสวิตช์ไปยังตำแหน่ง
"ปิดเครื่อง"
ก่อนที่กระแสไฟฟ้าจะกลับมา
ทั้งนี้เพื่อป้องกันการดึงกระแสไฟฟ้าปริมาณจากระบบเมื่อมีการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ
เช่นอุปกรณ์พวกมอเตอร์ไฟฟ้าที่ดึงกระแสไฟฟ้ามากเมื่อเริ่มหมุน
แต่พอหมุนได้แล้วจะดึงกระแสน้อยลง
ในกรณีเช่นนี้ระบบไฟฟ้ามักจะสามารถจ่ายไฟฟ้าให้ได้ถ้าหากทยอยเปิดอุปกรณ์ที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าทีละตัว
แต่ไม่สามารถจ่ายไฟให้ได้ถ้าเปิดมอเตอร์ไฟฟ้าทุกตัวให้เริ่มทำงานพร้อมกัน
พวกตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศบางรุ่นก็เช่นกัน
แม้ว่าไฟฟ้าดับแต่สวิตช์ไฟจะยังคงอยู่ที่ตำแหน่งเปิดการใช้งาน
อุปกรณ์เหล่านี้ควรจะต้องปิดเครื่อง
(หรือถอดปลั๊กตู้เย็น)
เมื่อไฟฟ้าดับ
เหตุผลก็เพราะในขณะที่กำลังทำงานอยู่นั้นความดันด้านขาออกของคอมเพรสเซอร์จะสูงอยู่
และเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ
ความดันด้านขาออกของคอมเพรสเซอร์ก็ยังคงสูงอยู่
ถ้าหากคอมเพรสเซอร์เริ่มการทำงานใหม่ในสภาพเช่นนี้
คอมเพรสเซอร์จะมีภาระงานหนักมากในการเริ่มเดินเครื่อง
ทำให้อายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์ลดลงได้
อุปกรณ์เช่นนี้จึงมักมีการเตือนทำนองว่าหลังจากปิดเครื่องให้รอสัก
๕ นาทีจึงค่อยเปิดเครื่องใหม่
เหตุผลก็เพราะเพื่อให้ความดันด้านขาออกของคอมเพรสเซอร์ลดต่ำลง
คอมเพรสเซอร์จะได้ไม่กินกระแสมากเมื่อเริ่มต้นเดินเครื่องใหม่
สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินกระแสไฟฟ้ามาก
สวิตช์ปิด-เปิดมักจะมีความสามารถในการ
reset
ตัวเองได้
คือเมื่อเปิดเครื่องแล้วสวิตช์จะค้างอยู่ในตำแหน่งเปิดเครื่อง
แต่ถ้าหากเกิดไฟฟ้าดับ
สวิตช์จะกลับไปอยู่ที่ตำแหน่ง
"ปิด"
และค้างอยู่ที่ตำแหน่งดังกล่าว
แม้ว่าจะมีกระแสไฟฟ้ากลับมาให้ใช้แล้วก็ตาม
(เครื่องจักรจะไม่เดินเครื่องด้วยตนเอง
ผู้ปฏิบัติงานต้องไปเริ่มเดินเครื่องใหม่ด้วยตนเอง)
แต่การเริ่มต้นเดินเครื่องใหม่หลังจากที่มีกระแสไฟฟ้ากลับมาให้ใช้งานใหม่นี้จะแตกต่างไปจากการเริ่มเดินเครื่องจักรเมื่อเริ่มกระบวนการทำงานตามปรกติ
เพราะการเริ่มเดินเครื่องจักรก่อนเริ่มกระบวนการทำงานตามปรกตินั้นเราอาจจะเริ่มจากการที่ยังไม่มีสิ่งใด
ๆ อยู่ในตัวอุปกรณ์
(เรียกว่าเริ่มทำงานจากศูนย์)
แต่การเริ่มเดินเครื่องหลังเกตุการณ์ไฟฟ้าดับนั้นเราอาจมีวัตถุดิบค้างอยู่ในเครื่องจักรก่อนไฟฟ้าดับ
แล้วเราต้องทำอย่างไรกับวัตถุดิบที่ค้างอยู่ในเครื่องจักรนั้นหรือไม่ก่อนที่จะเริ่มเดินเครื่องจักรเครื่องนั้นใหม่
และนี่คือที่มาของคำถามเรื่อง
"เครื่องซักผ้าฝาหน้า"
ที่ผมยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง
(ยังมีต่อตอนที่
๒ นะครับ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น