สมัยที่ผมเรียนรด.
นั้น
ก็เรียนตอนชั้นมัธยมปลายกัน
๒ ปี แล้วค่อยมาเรียนต่ออีก
๑ ปีเมื่อเข้าศึกษาปี ๑
ในมหาวิทยาลัย
ทรงผมที่ตัดกันตอนนั้นก็เรียกว่า
"ขาวสามด้าน"
คือด้านข้างทั้งสองด้านและด้านหลังก็ไถซะเกลี้ยง
เหลือไว้เพียงแค่ด้านบนที่ยาวเพียงแค่รองหวี
(คือช่างตัดผมจะเอาหวีมารองไว้ก่อน
แล้วไถตัดส่วนที่โผล่พ้นหวีออกมา
อันที่จริงทรงผมแบบนี้ก็เป็นเรื่องปรกติสำหรับนักเรียนชายในโรงเรียนรัฐหรือสังกัดกทม.
แต่สำหรับผู้ที่เรียนโรงเรียนราษฏร์ซึ่งปรกติก็ให้ไว้ทรงรองทรงได้
พอมาเจอการตัดสั้นเกรียนแบบนี้ก็เรียกว่าจำนวนไม่น้อยทำใจกันไม่ค่อยได้
เอกสารเก่าที่นำมาให้ชมกันในวันนี้ก็คือบัตรประจำตัวนักศึกษาวิชาทหาร
กรมการรักษาดินแดน
ที่ออกให้เมื่อปีพ.ศ.
๒๔๙๖
หรือเมื่อ ๖๒ ปีที่แล้ว
ตอนนั้นคุณพ่อของผมท่านเข้ามาเรียนต่อระดับชั้นมัธยมในพระนครแล้ว
นับอายุแล้วก็น่าจะเป็นช่วงตอนที่ท่านเรียนชั้นมัธยม
๗ หรือมัธยม ๘
(ตรงนี้ขอขยายความนิดนึง
การศึกษาบ้านเราแต่ก่อนชั้นประถมมีแค่
ป.๔
แล้วก็ขึ้นเป็นชั้นมัธยม
ม.๑
ถึง ม.๘
ต่อมาเปลี่ยนเป็นชั้นประถมต้น
ป.๑
ถึง ป.๔
และชั้นประถมปลาย ป๕ ถึง ป.๗
และชั้นมัธยมก็แบ่งเป็นมัธยมศึกษาตอนต้น
ม.ศ.๑
ถึง ม.ศ.๓
และมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.ศ.๔
ถึงม.ศ.
๕
(มีคำว่า
"ศึกษา"
เพิ่มเข้ามา)
จากนั้นก็ปรับเปลี่ยนใหม่อีกครั้งในปีการศึกษา
๒๕๒๑ (ที่จำได้เพราะเป็นรุ่นแรก)
โดยปรับเป็นชั้นประถมศึกษา
ป.๑
ถึง ป.๖
และชั้นมัธยมต้น ม.๑
ถึง ม.๓
และมัธยมปลาย ม.๔
ถึง ม.๖
ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน)
รูปที่
๑ ด้านนอกของบัตรประจำตัวนักศึกษาวิชาทหาร
กรมการรักษาดินแดน เมื่อปีพ.ศ.
๒๔๙๖
บัตรประจำตัวนักศึกษาวิชาทหารฉบับนี้ก็มีขนาดเท่ากับใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานสองล้อตลอดชีพที่นำมาให้ชมกันใน
Memoir
ฉบับที่แล้ว
คือยาวประมาณ ๖ นิ้ว สูง ๔
นิ้ว แล้วพับครึ่งตรงกลาง
พึงสังเกตว่ายศของเจ้ากรมการรักษาดินแดนในขณะนั้นคือ
"พลจัตวา
หรือ Brigadier
General" ซึ่งตำแหน่งนี้ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีแล้ว
แต่หลายประเทศก็ยังมีการใช้กันอยู่
(กล่าวคือเดิมนั้นจากยศพันเอก
ก็จะเลื่อนเป็นพลจัตวา
แล้วก็ค่อยเป็นพลตรี
แต่ตอนหลังเราปรับเปลี่ยนเป็นจากพันเอก
มาเป็นพันเอก (พิเศษ)
และค่อยเป็นพลตรี)
อีกจุดหนึ่งที่อยากให้คนรุ่นหลังได้ทราบคือแต่ก่อนนั้นฝั่งธนบุรีเป็นจังหวัดหนึ่ง
ฝั่งพระนครก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่ง
ไม่ได้รวมเรียกว่ากรุงเทพมหานครเหมือนในปัจจุบัน
แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสองจังหวัดนี้มันใกล้กันมาก
เหมือนกับกรุงเทพมหานครกับนนทบุรีในปัจจุบัน
ดังนั้นในเอกสารดังกล่าวจึงมีการระบุว่าเป็น
"พระนคร-ธนบุรี"
Memoir
ฉบับนี้ก็คงจะขอจบลงตรงนี้
รูปที่
๒ ด้านในของบัตรประจำตัวนักศึกษาวิชาทหาร
กรมการรักษาดินแดน เมื่อปีพ.ศ.
๒๔๙๖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น