ในการออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมเคมีนั้น
เราเริ่มจากการคัดเลือกกระบวนการผลิต
จากนั้นก็จัดทำ Process
Flow Diagram (PFD) ที่แสดง
อัตราการไหล อุณหภูมิ ความดัน
สภาวะอื่น ๆ (เช่นความหนืด
การมีของแข็งแขวนลอย ฯลฯ)
ของสารที่ไหลจากอุปกรณ์ผลิตหนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์การผลิตหนึ่ง
ข้อมูลตรงนี้เราใช้ในการกำหนดขนาดของอุปกรณ์การผลิตแต่ละอุปกรณ์
(เช่นขนาดของ
หอกลั่น vessel
ต่าง
ๆ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
cooling
tower หม้อน้ำ
ฯลฯ)
เมื่อได้ขนาดของอุปกรณ์การผลิตต่าง
ๆ แล้ว
ขั้นตอนต่อไปก็คือการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์ต่าง
ๆ ตรงนี้คือการกำหนด Plot
Plan ซึ่งขึ้นกับพื้นที่ก่อสร้างที่มีอยู่
(ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างพื้นที่
ระดับชั้นความสูงที่เป็นที่ตั้งของอุปกรณ์การผลิตแต่ละชิ้น)
เพราะตรงนี้มันส่งผลถึงการออกแบบขนาดของปั๊มและท่อที่ต้องใช้
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
เราลองมาพิจารณากรณีตัวอย่างของโรงงานในรูปที่
๑ ข้างล่างดูกันก่อน
ที่มีการจัดเรียงหน่วยผลิตด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน
(คือมี
plot
plan ที่แตกต่างกัน)
โดยโรงงานดังกล่าวประกอบด้วย
(ก)
หน่วยผลิต
A
(ข)
หน่วยผลิต
B
(ค)
หน่วยแยกผลิตภัณฑ์ออกจากตัวทำละลาย
และ (ง)
หน่วยกลั่นตัวทำละลายให้มีความบริสุทธิ์เพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ที่หน่วยผลิต
A
รูปที่
๑ (บน)
วางตำแหน่งหน่วยผลิตตามแนวยาว
หน่วยกลั่นตัวทำละลายอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งของสายการผลิต
(กลาง)
วางตำแหน่งหน่วยผลิตตามแนวยาว
หน่วยกลั่นตัวทำละลายอยู่ทางต้นทางของสายการผลิต
และ (ล่าง)
วางตำแหน่งหน่วยผลิตในพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม
พึงสังเกตว่าแต่ละแบบนั้นการเดินท่อจะมีความแตกต่างกันอยู่
ในรูปที่
๑ (บน)
และ
(กลาง)
นั้นเป็นการวาง
plot
plan ของหน่วยผลิตต่าง
ๆ ในแนวยาว
ความแตกต่างอยู่ที่ตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยกลั่นตัวทำละลายให้มีความบริสุทธิ์
ในกรณีของรูปที่ ๑ (บน)
นั้นหน่วยกลั่นตัวทำละลายให้มีความบริสุทธิ์อยู่ถัดจากหน่วยแยกผลิตภัณฑ์ออกจากตัวทำละลาย
ดังนั้นการเดินท่อส่งตัวทำละลายที่ต้องการทำให้บริสุทธิ์จากหน่วยแยกผลิตภัณฑ์ไปยังหน่วยกลั่นตัวทำละลายนี้จะสั้น
แต่การเดินท่อส่งตัวทำละลายที่บริสุทธิ์จากหน่วยกลั่นไปยังหน่วยผลิต
A
จะเดินท่อยาว
แต่ถ้าเป็นกรณีของรูปที่
๑ (กลาง)
หน่วยกลั่นตัวทำละลายให้มีความบริสุทธิ์จะอยู่ทางต้นทางของหน่วยผลิต
A
ดังนั้นการเดินท่อส่งตัวทำละลายที่ต้องการทำให้บริสุทธิ์จากหน่วยแยกผลิตภัณฑ์ไปยังหน่วยกลั่นตัวทำละลายนี้จะยาว
แต่การเดินท่อส่งตัวทำละลายที่บริสุทธิ์จากหน่วยกลั่นไปยังหน่วยผลิต
A
จะเดินท่อสั้น
ถ้าตัวทำละลายที่ยังไม่ผ่านการทำให้บริสุทธิ์นั้นมีความหนืดมากกว่าตัวทำละลายที่บริสุทธิ์แล้ว
การใช้ plot
plan แบบรูปที่
๑ (กลาง)
จะทำให้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าเพราะต้องส่งของเหลวที่มีความหนืดสูง
(คือตัวทำละลายที่ต้องการทำให้บริสุทธิ์)
เดินทางเป็นระยะทางไกลกว่า
(คือจากหน่วยแยกผลิตภัณฑ์ส่งไปยังหน่วยกลั่นตัวทำละลาย)
แต่ถ้าใช้การวาง
plot
plan ตามรูปที่
๑ (ล่าง)
คือวนรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ระยะทางเชื่อมต่อระหว่างหน่วยต่าง
ๆ จะสั้นที่สุด
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับว่าทางโรงงานมีพื้นที่สำหรับก่อสร้างที่มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร
และตรงนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้โรงงานที่ใช้กระบวนการผลิตเดียวกัน
แต่มีการใช้ plot
plan ที่แตกต่างกัน
การส่งของเหลวจากหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่งก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปั๊มและท่อที่มีขนาดเดียวกัน
รูปที่
๒ Piping
isometric drawing (จาก
http://www.flow-techs.com/wp-content/uploads/2012/01/d1.gif)
พึงสังเกตความยาวท่อตรงอักษร
A
จะเห็นว่ามันไม่ได้สัดส่วนกับความยาวที่แท้จริง
หลังจากที่ได้
plot
plan แล้ว
ต่อไปก็คือการคำนวณหาขนาดท่อและปั๊ม
เพราะรู้ตำแหน่งแล้วว่าต้นทางและปลายทางนั้นห่างกันเท่าใด
และการเดินท่อนั้นต้องเดินรูปแบบใด
(เช่น
ฝังลงใต้ดิน วางบน pipe
rack ที่คดเคี้ยวหรือวิ่งขึ้น-ลงไปตามแนวเส้นทางใดบ้าง)
ขั้นตอนนี้ก็จะได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อที่ต้องใช้
ลำดับต่อไปก็คือรูปร่างที่แท้จริงของท่อที่ต้องประกอบขึ้นเพื่อใช้ในการส่งผ่านของเหลวนั้น
ตรงนี้เป็นจุดที่ piping
isometric drawing เข้ามามีบทบาท
piping
isometric drawing ก็คือรูปร่างของท่อในสามมิติ
ว่ามีการหักเลี้ยว ขึ้น-ลง
ลาดเอียงทำมุม
มีการติดตั้งอุปกรณ์อะไรบ้างที่ตำแหน่งใดบ้าง
และอยู่ห่างกันเป็นระยะเท่าใด
มีการระบุความยาวท่อและระยะห่างระหว่าง
วาล์วและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ต้องติดตั้งเข้ากับตัวท่อ
(เช่นตำแหน่งติดตั้งเกจต่าง
ๆ)
ที่ชัดเจน
ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปที่
๒ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังในการอ่าน
piping
isometric drawing คือภาพนั้นมันไม่ได้แสดงสัดส่วนที่เป็นจริงเสมอไป
กล่าวคือถ้าเห็นท่อเส้นหนึ่งในรูปมีความยาวเป็นสองเท่าของท่ออีกเส้นหนึ่ง
ก็ไม่ได้หมายความว่าท่อในรูปมีเส้นท่อที่ยาวกว่านั้นจะมีความยาวที่แท้จริงมากกว่า
ความยาวที่แท้จริงของท่อต้องดูที่
"ตัวเลข"
ที่เขาระบุไว้
ลองดูท่อในรูปที่ ๒ ตรงที่มีอักษร
A
กำกับ
เช่นท่อที่ยาว 19
1/2" (19 นิ้วครึ่ง)
นั้นในรูปจะสั้นกว่าท่อที่ยาว
14'
3" (14 ฟุต
3
นิ้ว)
เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ความยาวท่อมาตรฐานจากผู้ผลิตจะอยู่ที่
6
เมตร
ดังนั้นถ้าหากว่ามีการเดินท่อตรงที่ยาวกว่า
6
เมตรก็ต้องมีการเชื่อมต่อท่อเข้าด้วยกัน
วิธีการเชื่อมต่อท่อตรงเข้าด้วยกันตรงนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของท่อและข้อกำหนดของโรงงาน
(ขึ้นอยู่กับว่าเป็นท่อใช้ในงานอะไร)
ท่อขนาดใหญ่ก็จะใช้ปลายท่อต่อชนกันและใช้การเชื่อม
ถ้าเป็นท่อขนาดเล็กไม่มากก็อาจใช้การเชื่อมต่อปลายท่อเข้าด้วยกันโดยตรงแบบท่อใหญ่
หรือไม่ก็ใช้ข้อต่อตรง
(union)
ที่เป็นข้อต่อเกลียว
(thread)
หรือข้อต่อเชื่อมที่เรียกว่า
socket
weld รายละเอียดการต่อท่อในแนวตรงตรงนี้มันจะไม่ปรากฏใน
piping
isometric drawing เว้นแต่จะเป็นการเชื่อมต่อที่แตกต่างออกไป
เช่นต้องการเดินท่อตรงยาว
18
เมตร
(ต้องใช้ท่อยาว
6
เมตร
3
ท่อน)
โดยมีการติดตั้งข้อต่อชนิดหน้าแปลนที่ตำแหน่ง
6
เมตรจากปลายด้านซ้าย
การเชื่อมต่อท่อท่อนที่ 1
และท่อนที่
2
(นับจากซ้าย)
ด้วยการใช้หน้าแปลนจะมีปรากฏใน
piping
isometric drawing แต่การเชื่อมต่อท่อท่อนที่
2
และท่อนที่
3
(ท่อนขวาสุด)
ด้วยการต่อชนท่อโดยตรงนั้น
จะไม่มีปรากฏใน piping
isometric drawing
รูปที่
๓ ตัวอย่างสัญลักษณ์ข้อต่อ
(จาก
http://www.flow-techs.com/wp-content/uploads/2012/01/symble.jpg)
รูปที่
๓ เป็นตัวอย่างสัญลักษณ์แสดงชนิดของท่องอ
ท่อโค้ง ท่อลด และท่อแยก
ที่ใช้ใน piping
isometric drawing (แต่ละโรงงานไม่จำเป็นต้องเหมือนกันนะ)
สำหรับการเชื่อมต่อในรูปแบบต่าง
ๆ
ตรงนี้ขออธิบายเพิ่มเติมให้กับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่หรือไม่มีประสบการณ์เรื่องงานท่อเกี่ยวกับชนิดของข้อต่อที่ปรากฏในรูปโดยขอให้ดูรูปที่
๔ ข้างล่างประกอบ การเชื่อมต่อชนิด
Butt
weld นั้นเป็นการเชื่อมต่อแบบต่อชน
โดยมีการเจียรแต่งขอบที่จะต่อชนกันก่อนการเชื่อมเข้าด้วยกัน
ท่อขนาดใหญ่มักจะใช้วิธีการนี้ในการเชื่อมต่อ
(อ่านเพิ่มเติมได้จาก
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๑๗ วันอังคารที่
๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เรื่อง
"ขอยัดไส้ก่อนนะ
แล้วค่อยราดหน้าตาม")
การเชื่อมต่อแบบ
socket
weld นั้นใช้กับท่อที่มีขนาดเล็ก
โดยใช้ข้อต่อที่มีลักษณะเป็นเบ้าสวม
(แบบข้อต่อท่อ
PVC)
โดยการสวมข้อต่อเข้ากับท่อจนปลายท่อชนกับบ่าที่อยู่ในข้อต่อ
จากนั้นก็จะดึงข้อต่อถอยหลังออกเล็กน้อยเพื่อให้ปลายท่อไม่ชนกับบ่า
ก่อนที่จะเชื่อมยึดท่อกับข้อต่อที่ขอบด้านนอก
เหตุผลที่ต้องไม่ให้ปลายท่อชนบ่าก็เพราะถ้าท่อช่วงที่อยู่ในข้อต่อนั้นเกิดการขยายตัว
จะทำให้เกิดความเสียหายกับรอยเชื่อมได้
(มันถูกดึงออก)
ส่วนการเชื่อมต่อด้วยข้อต่อเกลียวเป็นอย่างไรนั้นขออนุญาตไม่กล่าวถึง
รูปที่
๔ (บน)
การเชื่อมต่อแบบ
Butt
weld (ล่าง)
การเชื่อมต่อแบบ
Socket
weld
รูปที่
๕ เป็นตัวอย่างสัญลักษณ์ของหน้าแปลน
(flange)
และวาล์วที่ใช้ใน
piping
isometric drawing วิธีการเชื่อมต่อหน้าแปลนเข้ากับท่อนั้นมีหลายแบบ
ชนิด weld
neck ก็ใช้การเชื่อมต่อแบบ
butt
weld ที่กล่าวมาข้างต้น
ชนิด socket
weld และแบบเกลียว
(threaded)
ก็เป็นแบบเดียวกับที่กล่าวมาในรูปที่
๓ และ ๔ จะมีเพิ่มเติมก็คือหน้าแปลนแบบ
Slip
on และ
Lap
joint ที่จะขอขยายความเพิ่มเติม
(ดูรูปที่
๖ ประกอบ)
หน้าแปลนแบบ
slip
on นั้นเป็นแบบที่สวมเข้ากับท่อได้พอดี
จากนั้นก็ทำการเชื่อมยึดหน้าแปลนเข้ากับตัวท่อทั้งทางด้านนอกและด้านใน
ทีนี้พอเชื่อมหน้าแปลนเข้ากับตัวท่อแล้วก็จะขยับไม่ได้
ดังนั้นในการประกอบนั้นต้องตรวจสอบให้ดีว่ารูสำหรับร้อย
bolt
นั้นของท่อทั้งสองชิ้นที่จะนำมาต่อเข้าด้วยกันต้องตรงกัน
และเมื่อประกอบท่อทั้งสองชิ้นเข้าด้วยกันแล้วจะได้รูปร่างดังต้องการ
(คือปลายท่ออีกด้านของท่อแต่ละชิ้นจะต้องหันไปในทิศทางและตำแหน่งที่ถูกต้องด้วย)
หน้าแปลนแบบ
slip
on นี้มักจะใช้กับท่อขนาดเล็กที่ไม่ได้รับความดันมาก
รูปที่
๕ ตัวอย่างสัญลักษณ์เพิ่มเติม
(จาก
http://mechanicalapp.blogspot.com/2014/01/isometric-drawing.html)
หน้าแปลนแบบ
Lap
joint นั้นมีส่วนประกอบสองส่วน
คือตัวหน้าแปลนที่เป็นแบบ
Slip
on แต่หน้าแปลนตัวนี้ไม่ได้สวมเข้ากับท่อโดยตรง
แต่จะสวมเข้ากับท่อแกนกลางที่เป็นตัวเชื่อมต่อเข้ากับปลายท่อ
ตัวหน้าแปลนเองนั้นไม่ได้ถูกยึดเข้ากับท่อแกนกลางหรือตัวท่อ
ทำให้มันสามารถหมุนได้
หน้าแปลนแบบ Slip
on นี้เหมาะกับท่อขนาดใหญ่
(ที่ไม่ได้รับความดันสูง)
เพราะมันยากต่อการจัดตำแหน่งรูร้อย
bolt
ให้ตรงกัน
รูปที่
๖ (ซ้าย)
หน้าแปลนแบบ
Slip
on ตัวหน้าแปลน
(สีเขียว)
ถูกเชื่อมยึดติดเข้ากับท่อ
(สีฟ้า)
โดยตรง
(ขวา)
หน้าแปลนแปลนแบบ
Lap
joint ตัวหน้าแปลน
(สีเขียว)
นั้นเป็นอิสระ
ไม่ได้ถูกเชื่อมยึดติดกับตัวท่อ
(สีฟ้า)
หรือท่อแกนกลาง
(สีส้ม)
รูปที่
๗ เป็นตัวอย่างระบบ piping
ของระบบหนึ่ง
(ของระบบ
Steam
trap) ที่แสดงให้เห็นข้อต่อทั้งแบบเกลียว
(ที่ตัววาล์วและ
strainer)
หน้าแปลนชนิด
Slip
on (ที่ตัว
Steam
trap) และข้อต่อ
Butt
weld (ท่อเหล็กกล้าไร้สนิมของระบบ
process
fluid ที่อยู่ด้านหลัง)
รูปที่
๗ ตัวอย่างข้อต่อที่ใช้ในระบบ
piping
ระบบหนึ่ง
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ก็คิดว่าคงจะพอมีความรู้พื้นฐานสำหรับการอ่านแบบ
piping
เพิ่มขึ้นบ้างแล้วนะครับ
:)
:) :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น