ผ่านไปแล้ว
๗ ปีสำหรับการออก MO
Memoir ในช่วงปีที่
๗ ที่ผ่านมา (๙
กรกฎาคม ๒๕๕๗ -
๘
กรกฎาคม ๒๕๕๘)
มีการออก
Memoir
ไปทั้งสิ้น
๑๘๓ ฉบับ ๙๑๖ หน้ากระดาษ A4
ฉบับนี้ก็เป็นฉบับเริ่มต้นของปีที่
๘
ก็ขอประเดิมด้วยเรื่องชุดที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียนทางวิศวกรรมเคมีที่คิดจะไปทำงานเกี่ยวกับโรงงาน
นั่นคือ "ทำความรู้จัก
Data
Sheet" ของอุปกรณ์บางชนิด
(เท่าที่ผมมีเอกสารอยู่ในมือก็แค่
๓ ชนิด)
ในงานอุตสาหกรรมทางด้านวิศวกรรมเคมีนั้น
เมื่อต้องการผลิตสารอะไรก็ตามสักอย่าง
จะเริ่มจากการออกแบบกระบวนการผลิต
ในส่วนนี้มีการเลือกว่าจะใช้อุปกรณ์การผลิตชนิดใดสำหรับทำงานใด
จากนั้นจึงตามด้วยการหาขนาดของอุปกรณ์
และพอจะก่อสร้างก็ต้องมีการระบุข้อกำหนดเฉพาะของอุปกรณ์นั้น
เช่นในกระบวนการต้องการใช้ปั๊มในการส่งของเหลวจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง
ก็ต้องมีการเลือกชนิด (type
selection) ว่าจะใช้ปั๊มชนิดใด
(เช่นใช้ปั๊มลูกสูบ
ปั๊มหอยโข่ง เกียร์ปั๊ม ฯลฯ)
ตรงนี้จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของของเหลวที่ต้องการสูบจ่ายและความดันด้านขาออกที่ต้องการ
หลังจากที่เลือกชนิดปั๊มได้แล้วก็ตามด้วยการกำหนดขนาด
(sizing)
เพื่อหาว่าควรต้องใช้ปั๊มที่มีกำลังเท่าใด
และปิดท้ายด้วยการระบุข้อกำหนดเฉพาะ
(specification)
ของปั๊มตัวนั้นเพื่อการสั่งซื้อมาใช้งาน
วิธีการกำหนดขนาด
(sizing)
มีอยู่ในตำราเรียนทั่วไป
และเป็นสิ่งที่มีการสอนกันในสถาบันการศึกษาต่าง
ๆ แถมในปัจจุบันก็ทำได้ง่ายเพราะมีโปรแกรม
simulation
ต่าง
ๆ ช่วยในการคำนวณ
ตัวที่เป็นปัญหามากกว่าคือการเลือกชนิด
(type
selection) เพราะมักไม่ค่อยมีการกล่าวเอาไว้เท่าใดนัก
เช่นในกรณีของปั๊มในตำรามักบอกว่ามีกี่ชนิด
แต่ก็ไม่ได้บอกชัดเจนถึงข้อดีข้อเสียของปั๊มแต่ละชนิด
แถมโปรแกรม simulation
มันก็ไม่ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ซะด้วย
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะพบว่าในบางเรื่องนั้นมันดูดีบนโปรแกรม
simulation
แต่มันเอามาใช้งานจริงไม่ได้
เนื่องจากรูปแบบการทำงานของอุปกรณ์จริงนั้นแตกต่างไปจากสิ่งที่โปรแกรม
simulation
จำลอง
และที่ยากที่สุดเห็นจะได้แก่การระบุข้อกำหนดเฉพาะ
(specification)
เพราะตรงนี้มันครอบคลุมไปถึงสิ่งเกี่ยวข้องต่าง
ๆ
ที่จะทำให้อุปกรณ์ชนิดที่เลือกมาใช้งานนั้นทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของการออกแบบ
อุปกรณ์/สาธารณูปโภคเสริม
การติดตั้ง แหล่งพลังงาน
ฯลฯ ทำให้รายละเอียดตรงสิ่งนี้
(เท่าที่ผมทราบ)
จึงไม่มีการสอนกันในสถาบันการศึกษา
(เรียกว่าต้องไปทำงานแล้วจะเจอเอง)
ในการทำงานนั้น
การระบุข้อกำหนดเฉพาะของอุปกรณ์ต่าง
ๆ ทำได้ด้วยการใช้แบบฟอร์มที่แสดงรายละเอียดและตัวเลือกต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์นั้น
ๆ ดังตัวอย่างที่ยกมาแสดงให้ดูในรูปที่
๑ เป็นแบบฟอร์มที่เรียกว่า
Data
Sheet ของ
centrifugal
pump หรือที่บ้านเราเรียกว่าปั๊มหอยโข่ง
แม้ว่าแบบฟอร์มนี้จะเป็นแบบฟอร์มเก่าอายุร่วม
๓๐ ปีแล้ว
แต่เชื่อว่าแบบฟอร์มในปัจจุบันก็คงไม่ได้แตกต่างไปเท่าใดนัก
เพราะเห็นปั๊มหอยโข่งมันก็ยังมีหน้าตาแบบเดิม
ๆ
ผมเองก็ไม่ได้มีความรู้ทุกตัวย่อ
ทุกคำที่ปรากฏในแบบฟอร์ม
แต่จะพยายามอธิบายในส่วนที่ตัวเองพอจะรู้อยู่บ้างในฐานะวิศวกรเคมี
(บางตัวย่อผมก็ไม่แน่ใจว่าเป็นตัวย่อมาตรฐานสากล
หรือเฉพาะของบริษัทในเครือนั้น)
เพื่อให้ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ได้มองเห็นภาพว่าพอจบออกไปแล้วมีโอกาสต้องไปเจออะไรบ้าง
และสิ่งใดบ้างที่ต้องไปหาเรียนรู้เอาเองนอกห้องเรียน
รูปที่
๑ ตัวอย่าง Data
sheet สำหรับปั๊มหอยโข่ง
(centrifugal
pump)
เริ่มจากด้านบนสุดของหัวกระดาษ
มุมซ้ายและตรงกลางเป็นชื่อบริษัทที่เป็นเจ้าของแบบฟอร์มคือ
CE
LUMMUS
ส่วนตารางด้านขวาก็เป็นช่องสำหรับลงรหัสเอกสารว่าเกี่ยวข้องกับหน่วยงานไหน
ส่วนไหน
บรรทัดที่
1
(ตามตัวเลขที่อยู่ทางด้านซ้ายของแบบฟอร์ม)
ให้ระบุว่าแบบฟอร์มนี้ใช้สำหรับ
ยื่นข้อเสนอ (proposal)
จัดซื้อ
(purchase)
หรือสร้างจริง
(as
built) ถัดไปคือเลขรหัสอุปกรณ์
(item
no) ว่าเป็นอุปกรณ์เลขอะไรของหน่วยการผลิตที่เกี่ยวข้องนั้น
(เช่นบอกว่าเป็นปั๊ม
P-102
หรือ
P-2011
เป็นต้น
ตรงนี้ก็ต้องไปดูข้อตกลงกันเองว่าการเรียกชื่ออุปกรณ์ต่าง
ๆ นั้นมีข้อตกลงกันอย่างไร
ว่าจะใช้อักษรตัวไหนเป็นตัวย่อ
และหมายเลขกำกับนั้นจะให้มีความหมายอย่างไร)
บรรทัดที่
2
ให้ระบุว่า
เพื่อใคร (for)
ตั้งที่สถานที่แห่งใด
(site)
เช่นที่เมืองไหน
และหน่วยผลิตใด (unit)
บรรทัดที่
3
ให้ระบุว่า
ใช้ปั๊มนี้เพื่อทำหน้าที่อะไร
(service)
และต้องการจำนวนกี่ตัว
(no.
pumps required) จำนวนที่ต้องการนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
ปรกติถ้าเป็นปั๊มที่ทำงานต่อเนื่องตลอดเวลาก็มักจะต้องการ
๒ ตัว คือเป็นปั๊มสำรอง ๑
ตัว หรือถ้าเป็นหน่วยบางหน่วยเช่นจ่ายน้ำหล่อเย็นไปทั้งโรงงาน
ก็อาจจะใช้ปั๊มมากกว่า ๑
ตัวในการเดินคู่ขนาน
โดยมีสำรองเพียงแค่ตัวเดียว
เช่นอาจใช้ปั๊ม ๒ ตัวเดินพร้อมกัน
โดยมีปั๊มสำรองเพียงตัวเดียว
(ตรงนี้ต้องมั่นใจว่าโอกาสที่ปั๊มจะเสียพร้อมกัน
๒ ตัวนั้นมีน้อย)
บรรทัดที่
4
และ
5
เป็นเรื่องของหน่วยต้นกำลังที่จะใช้ขับเคลื่อนปั๊ม
โดยบรรทัดที่ 4
เป็นกรณีที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า
ส่วนบรรทัดที่ 5
เป็นกรณีที่ใช้กังหัน
(turbine
- ปรกติก็จะเป็นกังหันไอน้ำ)
ขนาดที่ต้องใช้เป็นแรงม้า
(HP
- horse power) ทำหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
(main)
หรือสำรอง
(spare)
ส่วนตัวย่อว่า
FURN
BY และ
MTD
BY นี่ไม่รู้ว่าย่อมาจากอะไร
แต่เดาว่าต้องการให้กรอกชื่อยี่ห้อและผู้ผลิต
บรรทัดที่
6
เป็นคำถามเกี่ยวกับชื่อผู้ผลิตปั๊ม
(pump
MFR ที่ย่อมาจาก
manufacturer)
และชนิดของปั๊ม
(pump
type) ตรงนี้คงต้องทำความเข้าใจนิดนึงว่าผู้ผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า
(หรือกังหันไอน้ำ)
ก็มักจะผลิตแต่มอเตอร์ไฟฟ้า
ส่วนใครจะซื้อมอเตอร์ไฟฟ้าของเขาไปใช้งานอะไรนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง
ผู้ผลิตปั๊มเองก็ผลิตแต่ปั๊ม
ส่วนจะเอามอเตอร์ไฟฟ้ายี่ห้อไหนมาหมุนปั๊มของเขาก็อีกเรื่องหนึ่ง
(ดูรูปที่
๒)
ดังนั้นการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของปั๊มมันก็เลยมีการถามแยกระหว่างตัวปั๊มเอง
และหน่วยต้นกำลังที่ใช้ขับเคลื่อน
(ส่วนใหญ่ก็คือมอเตอร์ไฟฟ้า)
ส่วนคำถามเรื่องชนิด
(pump
type) นั้น
เนื่องจากแบบฟอร์มนี้เป็นของปั๊มหอยโข่ง
ดังนั้นช่องนี้จึงเป็นคำถามที่เกี่ยวกับแบบย่อยของปั๊มหอยโข่ง
โดยอาจเกี่ยวข้องกับรูปแบบการวางเพลาใบพัด
(แนวนอนหรือแนวดิ่ง)
ชนิดของใบพัด
ทิศทางการไหลเข้า-ออกของของเหลว
เป็นต้น
บรรทัดที่
7
เป็นคำถามเกี่ยวกับ
รุ่น/ขนาด
(model/size)
และหมายเลขประจำเครื่อง
(serial
no.)
บรรทัดที่
8
เป็นหมายเหตุ
ให้ระบุว่าข้อมูลที่ระบุไว้นั้นจะให้ผู้ซื้อเป็นคนกำหนด
(completed
by purchaser) หรือให้ผู้ขายเป็นคนกำหนด
(by
manufacturer)
ซึ่งคงขึ้นอยู่กับว่าผู้ซื้อรู้แน่นอนหรือยังว่าต้องการอะไร
หรือต้องการให้ผู้ขายเสนออะไรให้
บรรทัดที่
9
เป็นหัวข้อของสองคอลัมน์ซ้าย-ขวา
คือ สภาวะการทำงานของปั๊มแต่ละตัว
(operating
conditions each pump)) และสมถรรนะ
(performance)
ตรงนี้ขอเริ่มที่คอลัมน์ซ้ายก่อนคือสภาวะการทำงานของปั๊มแต่ละตัว
บรรทัดที่
10
ถามชนิดของเหลว
(liquid)
และอัตราการไหลหน่วยเป็น
US
gpm หรือยูเอสแกลลอนต่อนาที
คือหน่วยแกลลอนมันมีอยู่สองหน่วย
ถ้าเป็นแกลลอนสหรัฐจะเรียก
US
gallon ซึ่งเท่ากับ
3.785
ลิตร
อีกหน่วยหนึ่งเป็นแกลลอนของอังกฤษ
เรียกว่าอิมพีเรียลแกลลอนเขียนว่า
UK
gallon ซึ่งเท่ากับ
4.546
ลิตร
ดังนั้นถ้าพูดถึงเรื่องหน่วยแกลลอนก็ต้องดูด้วยว่าคุยกับคนอเมริกันหรือคนอังกฤษ
(รวมทั้งประเทศในเครือจักรภพ)
เพราะเวลาพูดเขามักจะพูดว่า
"แกลลอน"
เฉย
ๆ โดยไม่ระบุ ส่วนข้อความถัดไป
AT
PT NOR ... RATED นั้นคำว่า
AT
นั้นแปลว่า
"ที่"
ส่วน
PT
นั้นผมเดาว่าเป็นอุณหภูมิของเหลวที่ทำการสูบ
(คิดว่าย่อมาจาก
pumping
temperature) เพราะเห็นในบรรทัดถัดไประบุว่ามีหน่วยเป็นอุณหภูมิ)
NOR น่าจะมาจาก
normal
คือสภาวะปรกติ
ส่วนคำว่า RATED
นั้นถ้าเป็นท่อมันจะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการรับความดันที่อุณหภูมิต่าง
ๆ ส่วนตรงนี้เป็นปั๊มก็เดาว่าน่าจะเป็นอัตราการไหลสูงสุดที่ปั๊มทำได้
รูปที่
๒ ปั๊มหอยโข่งส่วนมากที่
ผู้ผลิตปั๊มกับผู้ผลิตมอเตอร์มักจะเป็นคนละรายกัน
สำหรับโรงงานแล้วสามารถกำหนดได้ว่าจะใช้ปั๊มของผู้ผลิตรายใด
และใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนของผู้ผลิตรายใด
จากนั้นจึงนำปั๊มและมอเตอร์มาต่อเพลาเข้าด้วยกันด้วยการใช้
coupling
โดยประกอบเป็นชุดสำเร็จมาบนแท่น
การต่อเพลาเข้าด้วยกันนั้นจำเป็นต้องมีการตรวจสอบแนวแกนกลางของเพลาทั้งสองให้อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
(ไม่เยื้อง
ไม่ทำมุม)
ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดปัญหากับ
bearing
(ศัพท์ไทยเรียก
"รองลื่น")
ของตัวเพลาได้
การกำหนดทิศทางการหมุนของปั๊มจำเป็นต้องมีการระบุทิศทางการมอง
coupling
end หรือ
cplg
end คือการมองในทิศทางลูกศรสีเหลืองระบุ
อย่างเช่นของปั๊มตัวนี้จะเห็นเป็นหมุนตามเข็มนาฬิกา
บรรทัดที่
11
ความดันด้านขาออก
(discharge
pressure) ในนี้ถามหน่วยเป็น
psig
ที่ย่อมาจาก
pound
per square inch gauge หรือปอนด์ตารางนิ้วเกจ
(ความดันเกจคือความดันที่ให้ความดันบรรยากาศเป็น
0
ค่าความดันเกจที่มาก
กว่า 0
บอกให้ทราบว่าความดันนั้นสูงกว่าความดันบรรยากาศเท่าใด)
บรรทัดที่
12
ถามถึงค่า
PT
ที่มีหน่วยเป็นอุณหภูมิ
(ในแบบฟอร์ม
ºF
คือองศาฟาเรนไฮต์
เข้าใจว่าหมายถึงอุณหภูมิปรกติของของเหลวที่ปั๊มทำการสูบ)
NOR มาจาก
normal
คือสภาวะปรกติ
ส่วน RATED
ในที่นี้สงสัยว่าจะเป็นค่าอุณหภูมิสูงสุด
ปรกติของเหลวเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะมีความหนืดลดลง
ทำให้ปั๊มสูบจ่ายของเหลวได้ง่าย
แต่ถ้าของเหลวมีอุณหภูมิสูงใกล้จุดเดือดมากเกิดไป
ก็ยิ่งมีปัญหามากในการสูบ
เพราะมีโอกาสที่จะเกิด
cavitation
เพิ่มมากขึ้น
บรรทัดที่
13
ถามถึงค่า
SP
GR คือค่า
specific
gravity หรือความถ่วงจำเพาะ
(ของเหลวจะใช้ความหนาแน่นของน้ำเป็นตัวเปรียบเทียบคือให้เท่ากับ
1
ถ้ามีค่า
sp
gr. มากกว่า
1
แสดงว่ามีความหนาแน่นสูงกว่าน้ำ
ในทำนองเดียวกันถ้าค่า sp
gr. น้อยกว่า
1
แสดงว่ามีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำ)
ถามค่าที่อุณหภูมิ
PT
ถัดไปคือค่าความดันแตกต่างระหว่างด้านขาออกกับด้านขาเข้า
(DIFF
PRESS - differential pressure) หน่วยเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว
(psi)
ตรงนี้พึงทำความเข้าใจนิดนึงว่า
พลังงานที่ปั๊มต้องใช้ในการส่งของเหลวนั้นขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างความดันด้านขาออกและด้านขาเข้า
แต่ความแข็งแรงของตัวปั๊มและระบบท่อนั้นขึ้นอยู่กับความดันของของเหลวที่ทำการสูบ
เช่นปั๊มตัวหนึ่งสูบของเหลวจากถังที่ความดัน
2
bar ไปยังถังที่ความดัน
6
bar จะมีค่า
diff
press 4 bar ส่วนปั๊มอีกตัวหนึ่งสูบของเหลวที่ความดัน
60
bar ไปยังถังที่ความดัน
64
bar ก็มีค่า
diff
press 4 bar เช่นกัน
แต่ปั๊มตัวหลังจะต้องมีความแข็งแรงมากกว่า
เพราะทำงานที่อุณหภูมิที่สูงกว่า
บรรทัดที่
14
ถามค่าความดันไอ
(VAP
PRESS - vapour pressure) ที่อุณหภูมิ
PT
ในแบบฟอร์มนี้หน่วยความดันที่ถามเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้วสัมบูรณ์
(psia
- pound per square inch absolute)
ความดันสัมบูรณ์คือความดันที่วัดเทียบจากสุญญากาศ
ถัดไปเป็นคำถามถามถึงผลต่างความดัน
(DIFF
HEAD - differential head) หน่วยเป็นความสูง
(ft
- ฟุต)
หน่วยความดันแบบเฮดคือใช้ความสูงแทนนั้น
ช่วยบอกให้ทราบว่าปั๊มตัวนั้นสามารถส่งของเหลวขึ้นไปได้สูงเท่าใด
(ความดันสัมบูรณ์
=
ความดันเกจ
+
ความดันบรรยากาศ)
บรรทัดที่
15
ถามถึงค่าความหนืดที่อุณหภูมิ
PT
หน่วยเป็น
SSU
(Saybolt Universal Seconds) และ
CP
(centipoise) ตามด้วยค่า
NPSHA
(net positive suction head available หน่วยเป็นความสูงของของเหลว)
ตรงนี้ให้ระบุค่าที่ระดับบนสุดของฐานราก
(top
of foundation) ที่ใช้ตั้งปั๊ม
(ถ้าไม่รู้ว่า
NPSH
คืออะไร
สามารถไปอ่านได้จาก Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๒๘ วันพฤหัสบดีทื่
๔ มีนาคม ๒๕๕๓ เรื่อง
"ฝึกงานภาคฤดูร้อน
ตอนที่ ๘ NetPositive Suction Head (NPSH)")
บรรทัดที่
16
เริ่มด้วยคำถามว่า
CORR/EROS
ที่ย่อมาจาก
corrosion/erosion
ว่าเกิดจากอะไร
การสึกหรอของเนื้อโลหะเนื่องจาก
corrosion
นั้นเป็นปฏิกิริยาเคมี
(เช่นสารเคมีละลายเนื้อโลหะออกมา)
ส่วน
erosion
นั้นเกิดจากการเสียดสีทางกายภาพ
(เช่นของแข็งที่แขวนลอยเคลื่อนที่ขูดผิวของเหลว
หรือตัวของเหลวเองนั้นไหลด้วยความเร็วสูงผ่านไปบนพื้นผิวโลหะ
ที่เห็นได้ชัดคือด้านนอกของวงเลี้ยวโค้งของข้องอต่าง
ๆ เนื้อโลหะบริเวณนี้เมื่อใช้งานไปนาน
ๆ จะบางลงเร็วกว่าเนื้อโลหะบริเวณอื่น
เพราะของเหลวที่ไหลผ่านรัศมีวงโค้งด้านนอกจะไหลเร็วกว่าของเร็วที่ไหลผ่านรัศมีวงโค้งด้านใน)
ตรงนี้ให้ระบุสาเหตุ
ตามด้วยคำถามว่ามีของแข็งขนาดเท่าใดปะปนอยู่หรือไม่
ในปริมาณเท่าใด
บรรทัดที่
17
ให้ระบุว่าของเหลวนั้น
ติดไฟหรือไม่ (flammable)
เป็นพิษหรือไม่
(toxic)
มีไฮโดรเจนซัลไฟด์
(H2S)
และคลอไรด์
(Cl-
- chloride) ร่วมด้วยหรือไม่
สองตัวหลังนี้เป็นตัวที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนในระบบได้
ถัดไปเรามาดูคอลัมน์ขวาที่เริ่มจากบรรทัดที่
9
ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสมรรถนะ
(performance)
ของปั๊ม
บรรทัดที่
10
ถามถึงลักษณะของ
pump
curve ที่ต้องการ
ท่าทางบริษัทนี้จะมี pump
curve ให้เลือกหลายแบบ
เพราะให้เลือกว่าจะเอาเบอร์อะไร
เพราะถามว่า proposal
curve no. (ถ้าสงสัยว่า
pump
curve คืออะไร
มีหน้าตาอย่างไร ไปดูได้ที่
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๒๑ วันจันทร์ทื่
๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เรื่อง
"ฝึกงานภาคฤดูร้อน
ตอนที่ ๕ Pump curve")
บรรทัดที่
11
ถามถึงจำนวนรอบการหมุนต่อนาที
(round
per minute - rpm) และจำนวนขั้น
(stage
คือจำนวนใบพัดที่ต้องใช้ในการทำให้ของเหลวมีความดันสูงตามที่ต้องการ)
บรรทัดที่
12
ถามถึงค่า
NPSHR
ที่ย่อมาจาก
net
positive suction head required หรือค่า
NPSH
ที่ต้องการนั่นเอง
โดยถามค่าที่ตำแหน่งศูนย์กลางของใบพัด
CL
impeller ส่วน
T.O.F.
นั้นไม่รู้ว่าย่อมาจากอะไร
บรรทัดที่
13
ถามถึงค่าประสิทธิภาพและ
break
horse power (BHP) คือกำลังที่นำไปใช้งานได้จริง
(กำลังที่หน่วยต้นกำลังผลิตขึ้น
แล้วก็หักกำลังที่สูญเสียผ่านทางระบบส่งกำลังต่าง
ๆ)
บรรทัดที่
14
ถามถึงค่า
break
horse power สูงสุดที่
impeller
ส่วน บรรทัดที่
15
ถามถึงค่า
head
สูงสุด
ตรงนี้ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมถึงมีหน่วยเป็น
%
กำกับ
บรรทัดที่
16
ถามถึงค่าอัตราการไหลต่ำสุด
(หน่วยเป็นแกลลอนต่อนาที
gpm)
เมื่อต้องทำงานต่อเนื่อง
(CONTIN)
ส่วน
THERMAL
นั้นไม่แน่ใจในความหมายว่าต้องการอะไร
ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจหน่อยว่าปั๊มหอยโข่งนั้นจำเป็นต้องมีของเหลวไหลผ่านปั๊มตลอดเวลาที่ปั๊มทำงาน
ถ้าปั๊มไม่สามารถส่งออกเหลวออกไปได้
ของเหลวจะถูกปั่นกวนอยู่ภายในจนร้อนเดือดได้
(พวก
mechanical
seal ในขณะที่เพลาหมุนนั้นก็มีการเสียดสีและมีความร้อนเกิดขึ้น
และจากการปั่นกวนเองด้วย)
ดังนั้นจำเป็นต้องมีของเหลวในปริมาณต่ำสุดค่าหนึ่งไหลผ่านตัวปั๊มเพื่อดึงเอาความร้อนออกไปจากตัวปั๊ม
บรรทัดที่
17
ถามถึงทิศทางการหมุนเมื่อมองจากปลายด้าน
coupling
(view from cplg end) คือด้านที่ต่อกับมอเตอร์ไฟฟ้า
ให้ระบุว่าหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกา
(ดูรูปที่
๒)
ถ้าเป็นปั๊มที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าต่อตรงเขาก็มักจะออกแบบมาให้หมุนตามทิศทางการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าอยู่แล้ว
แต่ถ้าเป็นปั๊มที่ขับเคลื่อนด้วยสายพาน
ก็ต้องดูให้ดีด้วย
เพราะทิศทางการหมุนของปั๊มมันเปลี่ยนได้ตามตำแหน่งการวางมอเตอร์
(ดูรูปที่
๓)
รูปที่
๓ ซ้ายมือคือปั๊มหอยโข่งแบบ
self
priming คือสามารถทำการล่อน้ำได้ด้วยตัวเอง
ปั๊มตัวนี้ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า
(ตัวขวา)
ขับเคลื่อนผ่านทางการใช้สายพาน
(หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้
ผมก็เลยวาดเส้นประให้แทน)
บรรทัดที่
18
ถามค่า
suction
specific speed
ตัวนี้เป็นตัวแปรไร้หน่วยที่เกี่ยวข้องกับอัตราการไหลและความเร็วรอบการหมุนของปั๊มที่ทำให้ปั๊มยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิด
cavitation
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.engineeringtoolbox.com/suction-speed-pumps-d_638.html)
ยังคงอยู่ที่คอลัมน์ด้านขวา
บรรทัดที่ 19-26
เป็นหัวข้อเกี่ยวกับการทดสอบว่าต้องการหรือไม่
(ช่อง
REQD
ส่วน
WITN
นั้นย่อจากอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน
ไม่กล้าเดา)
การทดสอบที่มีให้เลือกประกอบด้วย
shop
inspection หรือการตรวจสอบการประกอบ
hydrostatic
test หรือการทดสอบความสามารถในการรับความดันด้วยการใช้น้ำ
performance
test หรือการทดสอบสมรรถนะ
NPSH
test คือการทดสอบค่า
net
positive suction head และท้ายสุด
inst
insp after test คิดว่าย่อจาก
installation
inspection after test คือการตรวจสอบการติดตั้งหลังการทดสอบ
และในบรรทัด 26
ที่มีช่องให้ทำเครื่องหมายเพิ่มเติมเข้ามาคงเว้นไว้สำหรับการตรวจสอบพิเศษที่ต้องการเพิ่มเติม
ก็ให้ระบุลงไป
ร่ายยาวมา
๖ หน้าแล้วคงต้องขอพอก่อน
ที่เหลือคงเอาไว้เป็นตอน
๒
ยังไงก็ขอย้ำอีกนิดนึงว่าตัวย่อบางตัวที่ไม่ใช่มาตรฐานสากลนั้นความหมายของมันผมเดาขึ้นมา
ยังไงก็ตามเวลาทำงานจริงผมเห็นว่าควรมีการถามนิยามตัวย่อให้ชัดเจนว่าหมายความว่าอะไร
เพราะเคยเจอเหมือนกันว่าต่างบริษัทกันใช้ตัวย่อแบบเดียวกัน
แต่ความหมายต่างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น