ดูเหมือนว่าหนังสือที่มีการพิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพบุคคลต่าง
ๆ ทางห้องสมุดของมหาวิทยาลัยจะเก็บกระจัดกระจายเอาไว้หลายที่
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะจำแนกตามเนื้อหาที่ปรากฏในเล่มหรือเปล่า
เพราะถ้าเล่มนั้นเป็นประวัติของผู้เสียชีวิตเป็นหลัก
หนังสือนั้นก็ไปปรากฏอยู่ในหนังสือหมวดชีวประวัติ
ส่วนเล่มที่เจอนี้ไปพบอยู่ในหนังสือหมวดเบ็ดเตล็ดหรือความรู้ทั่วไปฉบับภาษาไทย
คงเป็นเพราะเนื้อเรื่องที่อยู่ข้างใน
รูปที่
๑ หน้าปกของหนังสือที่ระลึกงานฌาปนกิจศพคุณลักษณะ
อิงสุวรรณ ณ วัดประยุรวงศาวรวิหาร
วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.
๒๕๒๑
ที่อยู่ในหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย
รูปที่
๒ รูปคุณลักษณา อิงสุวรรณ
ถ่ายรูปร่วมกับบิดาและมารดา
ตามประวัติที่เขียนไว้ในหนังสือ
คุณลักษณา อิงสุวรรณ
เกิดเมื่อวันที่ ๔ เมษายน
๒๔๕๒ (ปลายรัชกาลที่
๕)
ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่
๒๓ มกราคม ๒๕๒๐ ช่วงวัยเยาว์ได้ไปศึกษาอยู่
ณ ประเทศจีน
และหลังสำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่จงหัววิทยาลัย
ที่เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงสุดของชาวจีนในประเทศไทยในช่วงเวลานั้น
(พ.ศ.
๒๔๘๓)
ตามประวัติที่กล่าวไว้ในหนังสือ
คุณลักษณา
ไม่เพียงแต่เป็นนักกีฬาทั้งประเภทลู่และลาน
(ซึ่งจัดได้ว่าแตกต่างไปจากหญิงไทยในสมัยนั้น)
แต่ยังเป็นผู้ที่มีฝีมือในการถ่ายภาพด้วย
ในหนังสืออนุสรณ์นั้นผู้จัดทำก็ได้นำเอาภาพส่วนหนึ่ง
(เพียงส่วนน้อยของที่มี)
มาพิมพ์ลงไว้ในหนังสือ
ที่น่าเสียดายคือภาพที่นำมาลงนั้นไม่มีคำบรรยายใด
ๆ ทำให้หลายต่อหลายภาพไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสถานที่ไหน
เว้นแต่เป็นสถานที่สำคัญหรือโบราณสถานที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป
ที่คงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
ที่ยังพอระบุได้ว่าเป็นที่ใด
ตอนที่หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมากรีดดูหน้าต่าง
ๆ เล่น ๆ
ผมก็ไปสะดุดกับรูปถ่ายใบหนึ่งที่ผู้จัดทำหนังสือนำมาลง
นั่นคือภาพทางรถไฟที่มุ่งตรงไปยังเกาะแห่งหนึ่งที่อยู่ในทะเล
(รูปที่
๓ ข้างล่าง)
รูปที่
๓ ภาพถ่ายฝีมือคุณลักษณา
อิงสุวรรณ
ในหนังสือไม่มีการระบุสถานที่และวันที่ทำการบันทึกภาพ
แต่ทางรถไฟบ้านเราที่เคยมีลงไปในทะเลก็เห็นจะมีแต่ทางรถไฟบรรทุกไม้ไปยังท่าเทียบเรือที่เกาะลอย
ศรีราชา เท่านั้น
และลักษณะของเกาะที่เห็นในภาพมันก็ตรงกับเกาะลอย
ที่เห็นเป็นยอดแหลม ๆ เล็ก
ๆ ทางซ้ายบนเกาะก็คือวัดที่อยู่บนเกาะนั้น
ภาพในหนังสือเป็นภาพขาวดำที่มีความชัดเจนภาพหนึ่ง
ผมสงสัยว่าภาพนี้อาจจะถ่ายก่อนสงครามโลกครั้งที่
๒ สิ้นสุด
คำไว้อาลัยที่เขียนโดยคุณวิโรจน์
อูนากูล (ลงวันที่
๙ มิถุนายน ๒๕๒๐)
เล่าไว้ว่า
"บางโอกาส
คุณครูจะพาพวกเราไปทัศนศึกษาตามจังหวัดใกล้เคียง
เที่ยวตามป่าเขาลำเนาไพร
ชมน้ำตก เช่นน้ำตกสาริกา
จังหวัดนครนายก บางครั้งก็พาเที่ยวไต่เขา
เช่นภูเขาที่จังหวัดสระบุรี
นักเรียนชอบเล่นน้ำทะเล
คุณครูก็พาเที่ยวชายทะเลบางแสนในวันสุดสัปดาห์เสมอ
คุณครูมีความเห็นว่า
เด็กในปัจจุบันจะมีความรู้แต่เพียงภายในโรงเรียนเท่านั้นยังไม่พอ
จำเป็นต้องหาความรู้และประสพการณ์จากนอกโรงเรียนด้วย"
(สะกดและเว้นวรรคตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือ)
บันทึกนี้ทำให้ทราบว่าคุณลักษณา
ได้เดินทางไปบางแสนบ่อยครั้ง
ทำให้เชื่อได้ว่าท่านคงจะได้มีโอกาสเดินทางไปยังศรีราชา
(ห่างจากบางแสนไปเพียง
๑๐ กิโลเมตร)
และคงได้ไปเห็นศรีราชาในขณะที่ยังมีรถไฟเล็กบรรทุกไม้วิ่งอยู่
ตรงนี้ขอแทรกเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่
๒ มาจนถึงยุคสิ้นสุดสงครามเวียดนาม
(พ.ศ.
๒๕๑๘)
ซะหน่อย
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒
ทางเอเชียจะเริ่มนั้น
จีนนั้นรบอยู่กับญี่ปุ่น
ส่วนไทยก็ไม่เกี่ยวข้องอะไร
แต่พอญี่ปุ่นบุกไทยเพื่อใช้เป็นทางผ่านไปพม่ากับมลายู
ไทยก็จำเป็นต้องมาอยู่ข้างญี่ปุ่น
(คืออยู่ฝ่ายตรงข้ามกับจีน)
แต่พอญี่ปุ่นยอมจำนน
ไทยก็มาอยู่ทางฝ่ายแพ้สงคราม
ในขณะที่จีนอยู่ฝ่ายชนะสงคราม
คนจีนในไทยก็เลยดีใจกันยกใหญ่
ซึ่งตรงนี้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างไทยกับคนจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในขณะนั้น
แต่จีนก็ดีใจอยู่ได้ไม่นาน
พรรคคอมมิวนิสต์ก็ยึดอำนาจและทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง
ไทยเองจำเป็นต้องปล่อยให้มีกองกำลังของกองทัพจีนที่แตกพ่ายพรรคคอมมิวนิสต์มาตั้งหลักแหล่งทางภาคเหนือของประเทศ
บริเวณรอยต่อ ไทย-พม่า-ลาว
เพื่อไว้เป็นกันชน
ส่วนไทยเองก็หันไปรับรองรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวัน
ก่อนที่จะหันมาเปิดสัมพันธ์ทางการฑูตกับจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อวันที่
๑ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๑๘
และช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่สถานการณ์การรบระหว่างกองกำลังฝ่ายรัฐบาลและพรรมคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย
ๆ (รัฐบาลค่อนข้างจะเป็นฝ่ายตั้งรับ)
บทความวันนี้ก็ไม่มีอะไรมาก
ถือเพียงแค่เป็นการนำเอาภาพใบหนึ่งที่ปรากฏบนหน้าหนังสือเล่มหนึ่งที่ถูกซุกเอาไว้บนชั้นหนังสือในห้องสมุดมาเผยแพร่ให้ชมกัน
ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าหนังสือเล่มนี้เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย
ๆ ทางห้องสมุดจะยังเห็นคุณค่าของมันอีกหรือไม่
จะนำมันไปเก็บไว้ในหมวดหมู่หนังสือเก่า
หรือจะขายทิ้งทอดตลาดออกไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น