ผมได้ยินเรื่องบ่อน้ำร้อนนี้เป็นครั้งแรกจากภรรยาผม
ที่รับฟังเรื่องดังกล่าวมาจากพี่ชายคนโตของเขาอีกที
ว่าตรงอ่างเก็บน้ำบางพระนั้น
ก่อนที่จะมีการสร้างอ่างเก็บน้ำเคยมีบ่อน้ำพุร้อนมาก่อน
แต่ต้องจมอยู่ใต้น้ำเมื่อมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ
มาเห็นหลักฐานการมีอยู่ของบ่อน้ำพุร้อนดังกล่าวเมื่อทำการค้นหาแผนที่เส้นทางรถไฟเล็กลากไม้จากศรีราชา
พบว่ามีการระบุตำแหน่งที่ตั้งของบ่อน้ำพุร้อนดังกล่าวไว้ในแผนที่ต่าง
ๆ
ไม่ว่าจะเป็นแผนที่ท้ายประกาศหรือพระราชกฤษฎีกาที่มีการประกาศในราชกิจจานุกเบกษา
หรือแม้แต่ในแผนที่ทางทหารที่ต่างชาติทำเอาไว้
เมื่อเดือนที่แล้วมีข่าวว่าระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระลดต่ำลงมาก
จนปล่องบ่อน้ำพุร้อนผุดขึ้นมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน
(ไทยรัฐออนไลน์
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฎาคม
๒๕๕๘ http://www.thairath.co.th/content/512748)
ในเนื้อข่าวนั้นบอกว่า
"บริเวณบ่อน้ำร้อนได้ถูกสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำ
จึงได้มีการสร้างกระโจมครอบบ่อน้ำร้อนไว้
และต่อท่อน้ำร้อนออกมาหน้าเขื่อน
จนต่อมา
ก็ได้มีการขยายอ่างเก็บน้ำให้ใหญ่ขึ้นจนทำให้บ่อน้ำพุร้อนถูกน้ำท่วมจนมองไม่เห็น"
เมื่อวันพุธที่
๑๒ สิงหาคมที่ผ่านมา
ได้มีโอกาสแวะไปแถวนั้น
ก็เลยถือโอกาสขับรถไปถ่ายรูปปล่องบ่อน้ำพุร้อนดูซะหน่อย
ใช้ทางเข้าด้านวัดเขาฉลาก
ขับมาถึงสำนักงานชลประทานที่
๙
เลี้ยวซ้ายเข้าไปข้างในหน่อยก็จะมีมุมที่มองเห็นปล่องของบ่อน้ำพุร้อนนั้นได้ชัด
รูปที่
๓ แผนที่ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง
จัดตั้งสุขาภิบาลบางพระ
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ประกาศในราชกิจจานุกเบกษา
เล่มที่ ๘๐ ตอนที่ ๒๖ วันที่
๑๖ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๐๖
หน้า ๖๙๕-๖๙๖
ปรากฏที่ตั้งบ่อน้ำพุร้อน
รูปที่
๔ แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน
ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา
จังหวัดชลบุรี พ.ศ.
๒๔๙๗
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ ๗๑ ตอนที่ ๗๑ วันที่
๒ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๙๗
หน้า ๑๖๐๗-๑๖๐๙
แผนที่นี้เป็นแผนที่ก่อนที่จะมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ
ตำแหน่งที่ตั้งบ่อน้ำพุร้อนในรูปที่
๓ (พ.ศ.
๒๕๐๖)
และรูปที่
๔ (พ.ศ.
๒๔๙๗)
มีความแตกต่างกันอยู่
โดยตำแหน่งที่ตั้งในรูปที่
๓ ที่เป็นหลังการสร้างอ่างเก็บน้ำแล้วนั้น
บ่อน้ำพุร้อนอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขาซากขมิ้น
และอยู่ทางด้านตะวันตกของแนวเขื่อนกั้นน้ำ
ในขณะที่ตำแหน่งที่ปรากฏในรูปที่
๔ ที่เป็นก่อนการสร้างอ่างเก็บน้ำนั้น
บ่อน้ำพุร้อนอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเขาซากขมิ้น
แสดงว่าตำแหน่งบ่อน้ำพุร้อนในรูปที่
๓
เป็นบ่อที่เกิดจากการต่อท่อน้ำร้อนออกมาหน้าเขื่อนตามที่ข่าวดังกล่าวรายงาน
รูปที่
๕ แผนที่จากหนังสือ The
Railway Atlas of Thailand, Laos and Cambodia โดย
B.R.
Whyte สำนักพิมพ์
Whits
Lotus ปีค.ศ.
2010 ในแผนที่ดังกล่าวปรากฏทั้งบ่อน้ำร้อนและบ่อน้ำเย็น
คำบรรยายภาพบอกว่าแผนที่นี้เป็นสมัยปีค.ศ.
1929-30 (พ.ศ.
2472-2473) พิมพ์ค.ศ.
1941 (พ.ศ.
2484)
ภาพบรรยากาศของบ่อน้ำร้อนในปีพ.ศ.
๒๔๙๕
นั้นเคยมีผู้นำมาเผยแพร่ทาง
YouTube
ในชื่อ
"ชุมทางหนังไทยในอดีต
บางละมุง-ศรีราชา-ชลบุรี
2495"
ที่จำได้คือมีภาพทางเข้าบ่อน้ำร้อนและการอาบน้ำร้อนบริเวณรอบบ่อน้ำร้อนนั้น
น่าเสียดายที่วิดิทัศน์ชุดดังกล่าวถูกนำออกไปแล้ว
ไม่ทราบเหมือนกันว่าเมื่อใดจะได้เห็นอีก
ก็ได้แต่หวังว่าท่านผู้เป็นเจ้าของคงจะมีการนำมาเผยแพร่อีกครั้ง
เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ความเป็นมาของท้องถิ่นดังกล่าวโดยไม่ปล่อยให้หายสาบสูญไป
รูปที่
๖ แผนที่จัดทำขึ้นโดยกองทัพอังกฤษ
คาดว่าจัดทำในช่วงสงครามโลกครั้งที่
๒ พิมพ์เผยแพร่ในปีค.ศ.
๑๙๔๕
(พ.ศ.
๒๔๘๘)
ในกรอบสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินเขียนไว้ว่า
"Nam
Phu (Spring)" หรือ
"น้ำพุ"
นั่นเอง
แต่กลับระบุตำแหน่งไว้อยู่ด้านฝั่งเหนือของคลองบางพระ
และอยู่เหนือกว่าเขตตำบลบางพระอีก
ในขณะที่ตำแหน่งที่ตั้งของบ่อน้ำพุร้อนในรูปที่
๔ และ ๕
นั้นระบุตำแหน่งบ่อน้ำพุร้อนอยู่ทางด้านฝั่งใต้ของคลองบางพระ
และอยู่ต่ำกว่าเขตตำบลบางพระ
ในรูปนี้ยังปรากฏเส้นทางรถไฟที่ขนไม้ไปยังท่าเรือที่เกาะลอย
ศรีราชา ทางมุมล่างซ้ายของรูปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น