ระเบียบวิธีทำซ้ำแบบสืบเนื่องหรือ
successive
iteration method
เป็นวิธีหนึ่งสำหรับการหาคำตอบของสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้น
(nonlinear
algebraic equation) ตามวิธีการนี้
เราจะจัดสมการให้อยู่ในรูปของ
x
= f(x)
ก่อน
จากนั้นทำการเดาค่า x
เริ่มต้น
(xtry)
ก่อนแล้วแทนค่า
xtry
นี้ลงในฟังก์ชันเพื่อคำนวณค่า
f(xtry)
= xcal
ถ้าพบว่าค่า
xcal
ที่คำนวณได้นั้นไม่เท่ากับค่า
xtry
ที่เดาไว้
ก็ให้ทำการคำนวณใหม่โดยใช้ค่า
xcal
ที่ได้นั้นมาเป็นค่า
xtry
แทนลงในฟังก์ชัน
f(x)
Memoir
นี้แสดงตัวอย่างปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการแก้ปัญหาสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้น
เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าคำตอบที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับวิธีการที่เลือกใช้และจุดเริ่มต้นที่ใช้ในการคำนวณ
ประเด็นที่น่าตั้งคำถามคือในยุคปัจจุบันที่ต่างหันไปใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาคำตอบโดยที่ผู้ใช้รู้แต่เพียงแค่วิธีการป้อนโจทย์ให้กับโปรแกรมเท่านั้น
และแทบจะไม่รู้เลยว่าโปรแกรมสำเร็จรูปนั้นหาคำตอบโดยวิธีใด
คำตอบที่โปรแกรมสำเร็จรูปให้มานั้นเป็นคำตอบที่เป็นไปได้ทั้งหมดของสมการดังกล่าวหรือไม่
หรือเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของคำตอบที่เป็นไปได้
และถ้าเริ่มต้นการคำนวณด้วยจุดเริ่มต้นต่าง
ๆ กัน (ใครเป็นคนกำหนดจุดเริ่มต้นในการคำนวณให้กับโปรแกรม
และจุดเริ่มต้นที่เลือกมานั้นเหมาะสมหรือไม่)
จะได้คำตอบที่แตกต่างไปหรือไม่
สุดท้ายนี้เนื่องในโอกาสที่วันนี้เป็นวันซ้อมใหญ่พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของบัณฑิต
มหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิต
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก็ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตทุกท่านที่ได้ฝ่าฟันปัญหาต่าง
ๆ มาจนมีวันนี้ได้
แล้วค่อยพบกันวันงานจริงนะครับ
:)
:) :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น