"......
ถึงวันเสาร์ที่
๒๒ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
เวลาสองยาม ๔๕ นาฑี เสด็จสวรรค์คต
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระราชวังสวนดุสิต พระชนมพรรษา
๕๘ เสด็จดำรงศิริราชสมบัติมาได้
๔๓ พรรษา วันในรัชกาลนับแต่มูลพระบรมราชาภิเศก
๑๕๓๒๐ วัน ......"
ข้อความในย่อหน้าข้างบนคัดมาจากราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๒๗ น่า ๑๗๘๒ วันที่ ๓๐ ตุลาคม
ร.ศ.
๑๒๙
ที่ประกาศแจ้งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พึงสังเกตนะครับว่าเวลาเสด็จสวรรคตนั้นเป็นเวลา
"ผ่านเที่ยงคืนวันเสาร์ที่
๒๒ ไปแล้ว ๔๕ นาที"
แต่ในปัจจุบันเราถือว่าวันเสด็จสวรรคตนั้นคือวันที่
๒๓ ตุลาคม
ถ้าเช่นนั้นประกาศดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษามันมีอะไรผิดพลาดตรงไหนหรือเปล่า
ซึ่งคำตอบก็คือ "ไม่มี"
ครับ
ตรงจุดนี้ต้องมาทำความเข้าใจเรื่องการนับเวลาการเริ่มวันใหม่ของไทยกันสักหน่อย
เดิมทีนั้นเราถือว่าวันใหม่เริ่มตอน
๖ โมงเช้า ไปจนถึงเย็น
ผ่านเที่ยงคืน จนกระทั่งถึงเวลา
๖ โมงเช้าอีกครั้งหนึ่งจึงถือว่าเริ่มวันใหม่
มาจนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่
๖ ในวันที่ ๑๖ เดือนกันยายน
พ.ศ.
๒๔๖๐
จึงได้มีประกาศนับเวลาในราชการ
ทำให้เวลาของการขึ้นวันใหม่จึงกลายเป็นเที่ยงคืน
ดังนั้นความหมายของวันที่
๒๒ ตุลาคม เวลาสองยาม ๔๕
นาทีในอดีต ถ้านับเวลาแบบปัจจุบันจะตรงกับเวลา
๐๐.๔๕
น ของวันที่ ๒๓ ตุลาคม นั่นเอง
ต่อมาในวันที่
๒๑ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๖๒
ก็มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้เวลาอัตรา
ที่ทำให้การนับเวลาของไทยนำหน้าเวลามาตรฐานกรีนิชอยู่
๗ ชั่วโมง โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ.
๒๔๖๓
เป็นต้นไป (ขณะนั้นไทยขึ้นปีใหม่วันที่
๑ เมษายนอยู่ ดังนั้นพอพ้นวันที่
๓๑ มีนาคม ๒๔๖๒
ก็จะเป็นวันที่ ๑ เมษายน
๒๔๖๓)
รูปที่
๒
ประกาศแจ้งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในราชกิจจานุเบกษา
รูปที่
๓ ประกาศนับเวลาในราชการ
ที่เปลี่ยนเวลาขึ้นวันใหม่จากหกโมงเช้าเป็นเที่ยงคืน
รูปที่
๔ พระราชกฤษฎีกาให้ใช้อัตราเวลา
ที่ทำให้เวลาเริ่มวันใหม่ของไทยเปลี่ยนจาก
๖ โมงเช้ามาเป็นเที่ยงคืน
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ.
๒๔๖๓
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น