เป็นเรื่องปรกติครับที่เวลาใครสักคนจะทำการทดลอง
เขามักจะมีสมมุติฐาน
(hypothesis)
เอาไว้ก่อน
จากนั้นจึงนำผลการทดลองที่ได้นั้นมาทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่ามันสอดคล้องกันหรือไม่
ถ้าพบว่าผลการทดลองที่ได้นั้นมันสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ก็จะสรุปได้ว่าสมมุติฐานนั้น
"เป็นจริง"
หรือ
"มีความเป็นไปได้"
ปัญหาหนึ่งที่ผมเห็นเป็นประจำในการวิเคราะห์ผลการทดลองคือ
ตัวอาจารย์ที่ปรึกษามักจะดูกันเพียงแต่ข้อสรุปที่นิสิตผู้ทำการทดลองนำมาเสนอ
และนิสิตผู้ทำการทดลองก็มักจะดูกันเพียงแค่ข้อสรุปที่ซอร์ฟแวร์สรุปมาให้
โดยไม่ได้พิจารณา "ข้อมูลดิบ"
ที่นำมาวิเคราะห์นั้นว่ามันใช้ได้หรือไม่
เพื่อให้เห็นภาพ
ใน Memoir
นี้จะขอยกตัวอย่างอัตราการเกิดปฏิกิริยาของสาร
A
โดยกำหนดให้
A
คือความเข้มข้นของสาร
A
ณ
เวลาใด ๆ A0
คือความเข้มข้นของสาร
A
ณ
เวลาเริ่มต้น k
คือค่าคงที่การเกิดปฏิกิริยา
และ t
คือเวลา
ในการทดลองนั้นสิ่งที่เรามักกระทำคือการวัดค่าความเข้มข้นสารตั้งต้นที่เวลาต่าง
ๆ กัน
จากนั้นนำค่าความเข้มข้นสารตั้งต้นที่วิเคราะห์ได้มาเขียนกราฟ
กล่าวคือ
ถ้าเป็นปฏิกิริยาอันดับ
1
ถ้าเราเขียนกราฟระหว่าง
ln(A)
กับเวลา
t
จะได้กราฟเส้นตรงที่มีความชัน
-k
และตัดแกน
y
ที่
ln(A0)
ถ้าเป็นปฏิกิริยาอันดับ
2
ถ้าเราเขียนกราฟระหว่าง
1/A
กับเวลา
t
จะได้กราฟเส้นตรงที่มีความชัน
k
และตัดแกน
y
ที่
1/A0
สิ่งที่น่าสนใจก็คือถ้าหากปฏิกิริยาที่เราสนใจนั้นอันที่จริงมันเป็นปฏิกิริยาอันดับ 2 แต่เราคิดว่ามันเป็นปฏิกิริยาอันดับ 1 แล้วนำผลมาทดสอบด้วยการเขียนกราฟ ผลจะออกมาอย่างใด และในทางกลับกันถ้าหากปฏิกิริยาที่เราสนใจนั้นอันที่จริงมันเป็นปฏิกิริยาอันดับ 1 แต่เราคิดว่ามันเป็นปฏิกิริยาอันดับ 2 แล้วนำผลมาทดสอบด้วยการเขียนกราฟ ผลจะออกมาอย่างใด
เพื่อหาคำตอบดังกล่าวจะลองสมมุติให้ค่าความเข้มข้นของสารตั้งต้น
A
ที่เวลาเริ่มต้นคือ
1.0
และค่าคงที่ของปฏิกิริยา
k
คือ
0.1
ตารางที่
1
ในหน้าถัดไปเป็นผลการคำนวณค่า
A
ที่เวลาต่างกันถ้าหากปฏิกิริยานั้นเป็นปฏิกิริยาอันดับ
๑ และอันดับ ๒
ตารางที่
๑ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ
A
ถ้าหากอัตราการเกิดปฏิกิริยานั้นเป็นปฏิกิริยาอันดับ
1
และอันดับ
2
time
|
1st
order
|
2nd
order
|
||||
A
|
ln(A)
|
1/A
|
A
|
ln(A)
|
1/A
|
|
1
|
0.904837418
|
-0.1
|
1.1051709181
|
0.9090909091
|
-0.0953101798
|
1.1
|
2
|
0.8187307531
|
-0.2
|
1.2214027582
|
0.8333333333
|
-0.1823215568
|
1.2
|
3
|
0.7408182207
|
-0.3
|
1.3498588076
|
0.7692307692
|
-0.2623642645
|
1.3
|
4
|
0.670320046
|
-0.4
|
1.4918246976
|
0.7142857143
|
-0.3364722366
|
1.4
|
5
|
0.6065306597
|
-0.5
|
1.6487212707
|
0.6666666667
|
-0.4054651081
|
1.5
|
6
|
0.5488116361
|
-0.6
|
1.8221188004
|
0.625
|
-0.4700036292
|
1.6
|
7
|
0.4965853038
|
-0.7
|
2.0137527075
|
0.5882352941
|
-0.5306282511
|
1.7
|
8
|
0.4493289641
|
-0.8
|
2.2255409285
|
0.5555555556
|
-0.5877866649
|
1.8
|
9
|
0.4065696597
|
-0.9
|
2.4596031112
|
0.5263157895
|
-0.6418538862
|
1.9
|
10
|
0.3678794412
|
-1
|
2.7182818285
|
0.5
|
-0.6931471806
|
2
|
รูปที่
๑ ข้างล่างเป็นการเปรียบเทียบว่าถ้าหากปฏิกิริยานั้นเป็นอันดับ
1
และอันดับ
2
ถ้านำมาทดสอบด้วยการเขียนกราฟระหว่าง
ln(A)
กับเวลา
t
(วิธีทดสอบปฏิกิริยาอันดับ
1)
แล้วผลจะออกมาอย่างไร
รูปที่ ๑ กราฟค่า ln(A) กับเวลา (t) ใช้ทดสอบว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยานั้นเป็นปฏิกิริยาอันดับ 1 หรือไม่ จะเห็นว่าในกรณีของปฏิกิริยาอันดับ 2 แม้ว่าจะนำเอาค่าความเข้มข้นสารตั้งต้นที่เปลี่ยนไปกับเวลามาเขียนกราฟแบบนี้ ก็ให้ค่า R2 เข้าใกล้ 1 มาก แต่ถ้าสังเกตการกระจายจุดข้อมูลและจุดตัดแกนแล้วจะพบว่าอาจจะไม่ใช่
ส่วนรูปที่ ๒ ข้างล่างเป็นการเปรียบเทียบว่าถ้าหากปฏิกิริยานั้นเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 ถ้านำมาทดสอบด้วยการเขียนกราฟระหว่าง 1/A กับเวลา t (วิธีทดสอบปฏิกิริยาอันดับ 2) แล้วผลจะออกมาอย่างไร
รูปที่ ๑ กราฟค่า ln(A) กับเวลา (t) ใช้ทดสอบว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยานั้นเป็นปฏิกิริยาอันดับ 1 หรือไม่ จะเห็นว่าในกรณีของปฏิกิริยาอันดับ 2 แม้ว่าจะนำเอาค่าความเข้มข้นสารตั้งต้นที่เปลี่ยนไปกับเวลามาเขียนกราฟแบบนี้ ก็ให้ค่า R2 เข้าใกล้ 1 มาก แต่ถ้าสังเกตการกระจายจุดข้อมูลและจุดตัดแกนแล้วจะพบว่าอาจจะไม่ใช่
ส่วนรูปที่ ๒ ข้างล่างเป็นการเปรียบเทียบว่าถ้าหากปฏิกิริยานั้นเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 ถ้านำมาทดสอบด้วยการเขียนกราฟระหว่าง 1/A กับเวลา t (วิธีทดสอบปฏิกิริยาอันดับ 2) แล้วผลจะออกมาอย่างไร
รูปที่ ๒ กราฟ 1/A กับเวลา (t) เป็นกราฟที่ใช้ทดสอบว่าปฏิกิริยานั้นเป็นปฏิกิริยาอันดับ 2 หรือไม่ จะเห็นว่าในกรณีของปฏิกิริยาอันดับ 1 แม้ว่าจะนำเอาค่าความเข้มข้นสารตั้งต้นที่เปลี่ยนไปกับเวลามาเขียนกราฟแบบนี้ ก็ให้ค่า R2 เข้าใกล้ 1 มากเช่นกัน แต่ถ้าสังเกตการกระจายจุดข้อมูลและจุดตัดแกนแล้วจะพบว่าอาจจะไม่ใช่
สิ่งที่น่าสนใจก็คือในถ้าอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่แท้จริงนั้นเป็นปฏิกิริยาอันดับ
2
แต่เราหลงคิดว่ามันเป็นอันดับ
1
แล้วนำผลมาทดสอบด้วยการวาดกราฟระหว่าง
ln(A)
กับเวลา
t
แล้วทำ
linear
regression จะพบว่าเส้น
trend
line ที่ได้นั้นมีค่า
coefficient
determiantion (R2) เข้าใกล้
1
มาก
(เส้นสีส้มในรูปที่
๑)
และในทางกลับกันถ้าอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่แท้จริงนั้นเป็นปฏิกิริยาอันดับ
1
แต่เราหลงคิดว่ามันเป็นอันดับ
2
แล้วนำผลมาทดสอบด้วยการวาดกราฟระหว่าง
1/A
กับเวลา
t
แล้วทำ
linear
regression จะพบว่าเส้น
trend
line ที่ได้นั้นก็มีค่า
coefficient
determiantion (R2) เข้าใกล้
1
มากเช่นกัน
(เส้นสีส้มในรูปที่
๒)
ในกรณีที่ยกตัวอย่างมานี้
ถ้าผู้วิเคราะห์ผลจ้องจะดูแต่ค่า
R2
เพียงอย่างเดียวว่ามันเข้าใกล้
1
หรือเปล่า
(ในการทดลองจริงมันมักจะไม่เท่ากับ
1
เพราะมันมีความคลาดเคลื่อนของการทดลองอยู่)
พอเห็นว่าได้ค่า
R2
ใกล้กับ
1
ก็จะสรุปทันทีว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้นถูกต้อง
โดยไม่พิจารณาความเป็นไปได้อื่นว่ามันก็ให้ผลทำนองเดียวกันหรือเปล่า
ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงถ้าพิจารณาการกระจายตัวของจุดข้อมูล
มันก็บอกอะไรให้ทราบอยู่เหมือนกัน
จุดข้อมูลที่ความสัมพันธ์นั้นเป็นเส้นโค้งที่ไม่มากนัก
ถ้าเอาจุดข้อมูลดังกล่าวมาทำ
linear
regression จะพบว่ามันจะประมาณด้วยเส้นตรงได้ดี
โดยมีค่า R2
เข้าใกล้
1
แต่ถ้าพิจารณาการกระจายตัวของจุดข้อมูลจะพบว่ามันมีลักษณะในทำนองที่ว่าจุดข้อมูลมีการกระจายตัวในรูปแบบที่ชัดเจน
(แทนที่จะเป็นการกระจายแบบสุ่ม)
ดังนี้คือ
(ก)
จุดข้อมูลที่ปลายทั้งสองด้านของเส้นตรงที่ได้จากการทำ
linear
regression นั้นอยู่ฟากเดียวกัน
และ
(ข)
จุดข้อมูลในช่วงตอนกลางของเส้นตรงที่ได้จากการทำ
linear
regression นั้นอยู่ฟากเดียวกัน
และอยู่คนละฟากกับจุดข้อมูลที่อยู่ตอนปลายทั้งสองข้าง
โดยจุดข้อมูลที่อยู่ตอนกลางนี้มีลักษณะที่ห่างจากเส้นตรงประมาณค่ามากขึ้นในช่วงตอนกลาง
ก่อนที่จะวกลงไปหาเส้นตรงประมาณค่านั้นใหม
(ช่วงเส้นประสีเชียวในรูปที่
๑ และ ๒)
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าสมมุติฐานที่ให้ค่า
R2
เข้าใกล้
1
มากที่สุดจะเป็นสมมุติฐานที่ถูกต้องเสมอไปนะ
เพราะเคยมีกรณีเหมือนกันที่สมมุติฐานที่ให้ค่า
R2
เข้าใกล้
1
มากกว่ากลับเป็นสมมุติฐานที่ผิด
เรื่องนี้ผมได้เล่าไว้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๖๓ วันอาทิตย์ที่
๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ เรื่อง "ตัวเลขมันสวยแต่เชื่อไม่ได้"
ความถูกต้องของสมการอัตราการเกิดปฏิกิริยาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับวิศวกรเคมีในการขยายขนาดการทำปฏิกิริยา
จากระดับห้องทดลองมาเป็นระดับโรงประลอง
(pilot
plant) และระดับโรงงานอุตสาหกรรม
ในขณะที่นักวิจัยนั้นอาจจะเน้นเพียงแค่ขอให้มีข้อมูลเพื่อให้ตีพิมพ์เผยแพร่ได้
(ความถุกต้องเป็นเรื่องสำคัญรองลงมา)
แต่สำหรับผู้ที่ต้องการนำเอาผลงานวิจัยไปใช้งาน
ความถูกต้องของข้อมูลรวมทั้งความสามารถในการทำซ้ำได้จัดเป็นเรื่องสำคัญ
ยิ่งผลการทดลองออกมาดูดีเท่าใด
ก็ยิ่งต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องให้มากเท่านั้น
และที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการนำผลไปใช้ก็คือ
อย่าให้ "เทคนิคในการนำเสนอ"
มากลบความสำคัญของข้อมูลที่ต้องนำเสนอ
เราไม่ได้ใช้สีสรรหรือเทคนิค
power
point ในการออกแบบโรงงาน
แต่เราใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในการออกแบบโรงงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น