วิศวกรรมเคมีคือผู้ที่นำเอาความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีที่ได้จากห้องปฏิบัติการ
มาทำการขยายขนาดเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
ด้วยต้นทุนที่สามารถจำหน่ายแข่งขันได้
สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ผู้ทำการวิจัยในระดับห้องปฏิบัติมักจะละเลยไม่สนใจ
แต่มีความสำคัญต่อการนำไปขยายขนาด
และเป็นตัวตัดสินว่าสิ่งที่คิดว่าดีในระดับห้องปฏิบัติการนั้น
ในความเป็นจริงนั้นมันดีจริงหรือไม่
สิ่งนั้นคือ
"พลังงานที่ต้องใส่เข้าไปเพื่อให้ปฏิกิริยามันเกิด"
และ
"ของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต"
เพื่อให้เห็นภาพ
จะขอยกกรณีการผลิตแก๊สไฮโดรเจน
(hydrogen
H2) ในระดับอุตสาหกรรม
แหล่งที่มาของแก๊สไฮโดรเจนที่ใช้กันในอุตสาหกรรมมีอยู่
๓ แหล่งหลักด้วยกัน
๑.
จากกระบวนการผลิตโซดาไฟ
(NaOH)
ที่นำเกลือ
NaCl
มาละลายน้ำและผ่านไฟฟ้ากระแสตรงเข้าไป
จะเกิดแก๊สไฮโดรเจน H2
และแกีสคลอรีน
Cl2
ขึ้นที่ขั้วไฟฟ้า
ส่วนสารละลาย NaCl
จะกลายเป็นสารละลาย
NaOH
แกีสไฮโดรเจนที่ได้อาจถูกนำมาแยกขายเป็นแก๊สไฮโดรเจนบริสุทธิ์
หรือนำไปทำปฏิกิริยากับแก๊สคลอรีนที่เกิดขึ้นเพื่อผลิตเป็นกรดเกลือ
(hydrochloric
acid - HCl)
๒.
จากกระบวนการ
cracking
ไฮโดรคาร์บอน
เพื่อผลิตโอเลฟินส์
(เช่นเอทิลีนและโพรพิลีน)
หรือการเปลี่ยนน้ำมันหนักเป็นน้ำมันเบา
ไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเหล่านี้มักจะใช้กันภายในโรงงานดังกล่าวหรือจำหน่ายต่อให้กับโรงงานข้างเคียงด้วยการส่งทางระบบท่อ
๓.
ปฏิกิริยา
"Steam
reforming" ที่เป็นปฏิกิริยาระหว่างแก๊สมีเทน
(methane
- CH4) กับไอน้ำที่อุณหภูมิระดับประมาณ
1000ºC
ผลิตภัณฑ์ที่ได้เรียกว่าแก๊สสังเคราะห์
(synthesis
gas แต่มักเรียกย่อว่า
syngas)
ที่ประกอบด้วยแก๊ส
CO
และ
H2
(โดยมี
CO2
เป็นผลิตภัณฑ์ข้างเคียง)
ปฏิกิริยาที่เกิดคือ
CH4
+ H2O
CO + 3H2 (1)
Steam
reforming
นี้เป็นวิธีการหลักในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ผลิตแก๊สสังเคราะห์เพื่อแยก
H2
ไปใช้.การผลิตแอมโมเนีย
และส่งแก๊สที่เหลือไปใช้ในการผลิตเมทานอล
(CH3OH)
ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาดูดความร้อนที่ผันกลับได้
วันดีคืนดีก็มีคนเสนอความคิดว่า
เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนเนื่องจากแก๊สเรือนกระจก
จึงควรที่จะหาทางนำเอา CO2
มาใช้ประโยชน์ด้วยการใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตต่าง
ๆ ในอุตสาหกรรมเคมี
และปฏิกิริยาหนึ่งที่มีการนำเสนอกันว่าช่วยลดปัญหาการปลดปล่อย
CO2
ก็คือ
นำ CO2
มาทำปฏิกิริยากับ
CH4
เพื่อผลิต
H2
ที่เป็นเชื้อเพลิงสะอาด
ด้วยปฏิกิริยาที่มีชื่อว่า
"Dry
reforming" (บางรายก็เรียกว่า
carbon
dioxide reforming) ในกรณีนี้ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ
CH4
+ CO2
2CO + 2H2 (2)
ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้และดูดความร้อนเช่นกัน
ประเด็นที่เป็นคำถามก็คือ
"ในความเป็นจริงแล้ว
ปฏิกิริยา Dry
reforming นั้นมันช่วยลดการปลดปล่อย
CO2
จริงหรือไม่"
แต่ก่อนที่จะตอบคำถามนี้
เรามาลองทบทวนการเกิดปฏิกิริยาเคมีกันสักหน่อยดีกว่า
การเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้นมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องอยู่
๒ กระบวนการด้วยกัน
กระบวนการแรกคือกระบวนการที่ต้องทำลายพันธะเคมีเดิมของสารตั้งต้น
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการดูดความร้อน
พลังงานที่ต้องใช้ในการทำลายพันธะเคมีเดิมของสารตั้งต้นคือพลังงานกระตุ้น
(activation
energy)
กระบวนการที่สองเป็นกระบวนการถัดจากกระบวนการแรก
ในกระบวนการที่สองนี้สารตั้งต้นที่แตกพันธะเดิมออก
มีการสร้างพันธะเคมีพันธะใหม่
(ในกรณีของปฏิกิริยาระหว่างสองโมเลกุล
ก็เป็นสารสร้างพันธะใหม่ระหว่างสองโมเลกุล)
กระบวนการที่สองนี้เป็นกระบวนการคายความร้อน
ผลต่างระหว่างพลังงานในตัวของสารตั้งต้น
และพลังงานในตัวของผลิตภัณฑ์ที่ได้
(คิดเทียบที่สภาวะเดียวกัน)
คือค่าการเปลี่ยนแปลงพลังงานของปฏิกิริยา
ถ้าผลิตภัณฑ์รวมนั้นมีพลังงานต่ำกว่าพลังงานรวมของสารตั้งต้น
ปฏิกิริยานั้นก็เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน
(exothermic
reaction)
แต่ถ้าผลิตภัณฑ์รวมนั้นมีพลังงานสูงกว่าพลังงานรวมของสารตั้งต้น
ปฏิกิริยานั้นก็เป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน
(endothermic
reaction)
ในกรณีของปฏิกิริยาคายความร้อนนั้น
ถ้าพลังงานรวมที่คายออกมานั้นมีค่ามากกว่าพลังงานกระตุ้น
หลังจากปฏิกิริยาเริ่มเกิดแล้วปฏิกิริยาก็จะดำเนินการต่อไปเองได้
(คือความร้อนที่คายออกมาตอนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์
มากเพียงพอที่จะทำให้สารตั้งต้นเกิดการสลายพันธะ)
พวกปฏิกิริยาการเผาไหม้มักเป็นเช่นนี้
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ปฏิกิริยาการเผาไหม้เมื่อเริ่มเกิดแล้วจึงสามารถดำเนินต่อไปข้างหน้าได้เองและยากที่จะหยุด
(เว้นแต่จะหาวิธีการดึงเอาความร้อนที่ปฏิกิริยาคายออกมานั้นออกไปได้อย่างรวดเร็ว)
ส่วนปฏิกิริยาดูดความร้อนนั้น
"จำเป็น"
ต้องใส่พลังงานให้กับระบบเพื่อให้ปฏิกิริยาเกิดได้
โดยไม่ขึ้นอยู่กับว่าพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยานั้นจะเป็นเท่าใด
ตัวเร่งปฏิริยาทำหน้าที่เพียงแค่ไปลด
"พลังงานกระตุ้น"
ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำให้ปฏิกิริยาเริ่มเกิด
ไม่ได้ไปลดปริมาณพลังงานความร้อนสุทธิที่ต้องจ่ายให้กับปฏิกิริยา
(ดูรูปที่
๑)
ประกอบ
รูปที่
๑ เปรียบเทียบปฏิกิริยาดูดความร้อนระหว่าง
(ซ้าย)
ไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยา
-
มีพลังงานกระตุ้นสูง
และ (ขวา)
มีตัวเร่งปฏิกิริยา
-
มีพลังงานกระตุ้นต่ำ
พลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้ปฏิกิริยาเริ่มเกิดนั้นแตกต่างกัน
แต่ปริมาณพลังงานสุทธิที่ต้องจ่ายให้กับระบบนั้นเท่ากัน
ปฏิกิริยา
steam
reforming ตามสมการที่
(1)
นั้นมีการดูดพลังงานความร้อน
2.063 x 105
J/mol (ได้ไฮโดรเจน
3
mol) หรือถ้าคิดต่อ
1
mol ของไฮโดรเจนที่เกิดก็ต้องใส่พลังงานเข้าไป
6.877 x 104
J/mol-H2 formed ส่วนปฏิกิริยา
dry
reforming ตามสมการที่
(2)
นั้นมีการดูดพลังงานความร้อน
2.475
x 105
J/mol (ได้ไฮโดรเจน
2
mol) หรือถ้าคิดต่อ
1
mol ของไฮโดรเจนที่เกิดก็ต้องใส่พลังงานเข้าไป
1.238
x 105
J/mol-H2 formed (ค่าที่ใช้ในการคำนวณแสดงไว้ในตารางที่
๑ ข้างล่าง)
จะเห็นว่าถ้าคิดต่อ
1
mol ไฮโดรเจนที่ได้
ปฏิกิริยา dry
reforming ต้องการพลังงานมากกว่าปฏิกิริยา
steam
reforming ถึง
"1.8
เท่า"
ตารางที่
๑ ค่า Enthalpy
of formation (dH)
และ
Gibb's
free energy (dG)
ที่อุณหภูมิ
298.2
K หรือ
25ºC
(J/mol) ความดัน
1
atm (ข้อมูลจากหนังสือ
"The
properties of gases & liquids" โดย
Robert
C. Reid, John M. prausnitz and Bruce E. Poling, 4th ed. McGraw-Hill
1988)
dH
|
dG
|
|
CH4
|
-7.490E+04
|
-5.087E+04
|
H2O
|
-2.420E+05
|
-2.288E+05
|
CO2
|
-3.938E+05
|
-3.946E+05
|
CO
|
-1.106E+05
|
-1.374E+05
|
H2
|
0.000E+00
|
0.000E+00
|
O2
|
0.000E+00
|
0.000E+00
|
ประเด็นเรื่องปฏิกิริยา
dry
reforming ที่ต้องมีการใส่พลังงานเข้าไป
"มากกว่า"
ปฏิกิริยา
steam
reforming คือสิ่งที่ผู้ที่ทำวิจัยทางด้านนี้ไม่ยอมกล่าวถึง
เพราะมันเกี่ยวพันไปถึงข้ออ้างที่ว่าปฏิกิริยา
dry
reforming นั้นช่วยลดการปลดปล่อยแก๊ส
CO2
ซึ่งมันก็เป็นไปได้ถ้าหากพลังงานที่ต้องใช้นั้นไม่ได้มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล
และแหล่งพลังงานดังกล่าวต้องสามารถสร้างอุณหภูมิที่สูงพอที่จะทำให้ปฏิกิริยาเริ่มเกิดได้ด้วย
(ที่เห็นชัด
ๆ ก็ได้แก่ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์
ว่าแต่มันใจหรือว่าจะไม่มีการประท้วง)
และถ้ามีแหล่งพลังงานเช่นนั้นจริง
ก็ควรที่จะใช้ปฏิกิริยา
steam
reforming มากกว่า
เพราะมันต้องการพลังงานน้อยกว่า
ที่ยกตัวอย่างมาก็นำมาเพียงแค่ปฏิกิริยาหลักเท่านั้น
อันที่จริงในระหว่างปฏิกิริยาทั้งสองยังมีปฏิกิริยา
water
gas shift reaction (3) ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นด้วย
CO
+ H2O
CO2 + H2 (3)
ในกรณีของปฏิกิริยา
steam
reforming ระบบจะมีไอน้ำสูงตั้งแต่ต้น
ดังนั้นปฏิกิริยา water
gas shift มีแนวโน้มจะดำเนินจากซ้ายไปขวา
คือได้ไฮโดรเจน "เพิ่มขึ้น"
แต่ในกรณีของ
dry
reforming ระบบจะมี
CO2
สูงแต่ต้นโดยมีไอน้ำอยู่น้อย
(หรือไม่มี)
ดังนั้นปฏิกิริยา
water
gas shift มีแนวโน้มจะดำเนินจากขวาไปซ้าย
คือได้ไฮโดรเจน "ลดลง"
และเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้ที่ทำการทดลองที่เกี่ยวข้องกับไฮโดรคาร์บอนที่อุณหภูมิสูงว่ายังมีปฏิกิริยาการเกิด
coke
ที่ทำให้เกิดสารประกอบคาร์บอนน้ำหนักโมเลกุลสูงเกาะอยู่บนผิวตัวเร่งปฏิกิริยา
นำไปสู่การเสื่อมสภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา
แต่การเกิด coke
นี้พอจะสามารถลดลงได้ด้วยการมีไอน้ำในระบบ
โดยไอน้ำจะไปทำปฏิกิริยากับ
coke
ดังสมการ
C
+ H2O
CO + H2 (4)
การมีอยู่ของไอน้ำไม่เพียงแต่ช่วยลดการเสื่อมสภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา
แต่ยังช่วยทำให้เกิดไฮโดรเจนที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการมากขึ้น
ดังนั้นข้ออ้างที่ว่าปฏิกิริยา
dry
reforming ช่วยลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก
(คือ
CO2)
นั้นเป็นคำกล่าวที่เป็นจริงได้หรือไม่
ก็ขอให้พิจารณากันเอาเองก็แล้วกัน
อันที่จริงไฮโดรเจนที่อุตสาหกรรมผลิตขึ้นจากไฮโดรคาร์บอน
(ด้วยกระบวนการ
steam
reforming หรือ
cracking
ที่ได้พลังงานความร้อนมาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล)
หรือการผลิตโซดาไฟ
(ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก)
นั้น
นำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไปอีก
(ไฮโดรเจนก็เป็นแก๊สที่มีราคาสูงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่แล้ว)
ไม่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงกัน
เพราะถ้าต้องการเชื้อเพลิงก็สามารถเอาไฮโดรคาร์บอนมาเปลี่ยนเป็นพลังงานได้โดยตรง
แทนที่จะต้องเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลส่วนหนึ่งเพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงฟอสซิลอีกส่วนหนึ่งให้เกิดแก๊สไฮโดรเจน
แล้วจึงค่อยนำแก๊สไฮโดรเจนที่ได้นั้นไปเป็นเชื้อเพลิง
(จะในเซลล์เชื้อเพลิงหรืออะไรก็ตามแต่)
เรื่องที่ว่าการเผาไหม้ไฮโดรเจนนั้นได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาด
ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
คือน้ำนั้น ตรงนี้ขอไม่เถียง
แต่ควรจะพูดให้หมดว่ากระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งไฮโดรเจนซึ่งเริ่มจากเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นมันสะอาดหรือไม่
มีการสูญเสียพลังงานและเกิดของเสียมากน้อยเท่าใด
กว่าจะได้ไฮโดรเจนมาเป็นเชื้อเพลิง
และถ้าเทียบกับการเปลี่ยนเชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นพลังงานโดยตรงแล้ว
เส้นทางไหนกันแน่ที่ก่อให้เกิดมลพิษมากกว่ากัน
จะว่าไปแล้วความคิดที่จะนำเอาไฮโดรเจนมาเป็นเชื้อเพลิงนั้นมันไปผูกกับความฝันที่ว่ามนุษย์เราจะมีพลังงานสะอาดที่สะอาดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน
ที่ใช้การหลอมรวมกันของอะตอมไฮโดรเจนจากน้ำ
ซึ่งจะทำให้ได้ไฟฟ้าพลังงานมหาศาลมาใช้
และสามารถนำไฟฟ้าที่จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันนี้มาใช้แยกน้ำเพื่อผลิตไฮโดรเจน
นั่นเป็นแนวความคิดที่มีมากว่า
๓๐ ปีแล้ว
จนนำไปสู่การกล่าวอ้างว่าสามารถสร้างปฏิกิริยา
"Cold
fusion" ขึ้นมาได้
แต่สุดท้ายก็ไม่มีใครสามารถทำซ้ำการทดลองที่มีการกล่าวอ้างนั้นได้
(ตรงนี้ขออนุญาตไม่อธิบายว่าปฏิกิริยา
Cold
fusion คืออะไร
แต่ตอนที่มีคนบอกว่าทำได้นั้นก็เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกเหมือนกัน)
อะไรก็ตามที่มันดีจริง
ดีกว่าของเดิม อย่างที่งานวิจัยเขากล่าวอ้าง
ภาคอุตสาหกรรมเขามักจะไม่รอช้าที่จะรีบนำไปใช้
แต่อะไรก็ตามทำกันมานานแล้ว
แต่ยังไม่เกิดขึ้นจริงสักที
แถมเผลอ ๆ ที่บอกว่ามันดีจริง
ดีกว่าของเดิม
ก็ได้มาจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยไม่มีการทำการทดลองจริง
ซึ่งตรงนี้ก็ไม่แปลก
เพราะการสร้างแบบจำลองนั้นเราสามารถเลือกใส่สมการที่เราต้องการ
(ทั้ง
ๆ ที่ในความเป็นจริงนั้นปฏิกิริยานั้นมันไม่เกิด)
หรือตัดสมการบางสมการทิ้ง
(ที่ทำให้ผลออกมาดูไม่ดี
ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงนั้นมันมีปฏิกิริยานั้นเกิดขึ้น)
เพื่อให้ได้ผลออกมาดังที่ต้องการได้
ช่วงปีใหม่ปีหนึ่ง
วิศวกรระดับหัวหน้างานจากโรงแยกแก๊สธรรมชาติโรงหนึ่งแวะมาเยี่ยมผมที่บ้าน
ตอนนั้นเขาได้รับมอบงานให้ศึกษาแนวทางนำแก๊สธรรมชาติ
(ซึ่งมี
CH4
เป็นหลัก)
ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากขายเป็นเชื้อเพลิง
ตัวเขาเองก็ได้ค้นคว้าบทความวิชาการที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติมามากพอสมควร
เขาถามความเห็นผมว่าควรจะเลือกแนวทางไหนดี
ผมก็ตอบเขาไปว่าจากจำนวนบทความทั้งหมดที่เขาค้นมา
ให้คัดเอาบทความที่เป็นการใช้แบบจำลองกระบวนการ
(ที่เรียกกันว่า
simulation)
โดยไม่มีการทดลองจริงนั้นทิ้งไปก่อน
ให้เหลือแต่บทความที่เป็นการทำการทดลองจริง
แล้วจะเห็นเองว่าปฏิกิริยาไหนเป็นปฏิกิริยาที่เหมาะสม
พอผมบอกเขาไปอย่างนี้เขาก็ตอบผมกลับมาว่า
"แล้วจะเหลืออะไรล่ะอาจารย์"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น