ค่อย
ๆ แก้ปัญหา GC
กันไปทีละเปลาะ
หลังจากเห็นผลเมื่อเย็นวันวานแล้ว
คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าทุกอย่างคงจะผ่านไปได้ด้วยดี
แต่ก่อนอื่นเห็นควรที่จะบันทึกบางเรื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาซะหน่อย
โดยขอเริ่มจากการใช้เข็มขนาดไมโครลิตรฉีดตัวอย่างที่เป็นของเหลว
ที่มีบางคนบ่นว่าแทงทะลุ
septum
ยาก
หรือไม่ก็กลัวทำหัวเข็มงอ
รูปที่
๑ ในระหว่างการฉีดนั้น
ควรใช้นิ้วมือประคองตัวหัวเข็มเอาไว้ด้วย
เข็มฉีดของเหลวขนาดไมโครลิตรตัวหัวเข็มจะมีขนาดเล็กมาก
เพราะต้องการลด dead
volume ให้เหลือน้อยที่สุด
บางชนิดนั้นจะมีลวดเล็ก ๆ
ติดอยู่ที่ปลาย syringe
piston โดยลวดดังกล่าวจะสอดเข้าไปในตัวหัวเข็มเพื่อลด
dead
volume ให้ลดต่ำลงไปอีก
ดังนั้นเวลาฉีดตัวอย่างควรที่จะใช้นิ้วมือของมือข้างที่จับ
syringe
นั้นประคองตัวหัวเข็มเอาไว้ด้วย
(รูปที่
๑)
จะทำให้แทงเข็มผ่าน
septum
ได้ง่ายขึ้นโดยหัวเข็มไม่งอ
อีกปัญหาที่พบกันเป็นประจำที่ทำให้พื้นที่พีคออกมาเอาแน่เอานอนไม่ได้คือช่องว่างที่เกิดขึ้นในลำของเหลวที่เราใช้
syringe
ดูดขึ้นมา
(ดูตัวอย่างในรูปที่
๒)
ทำให้ปริมาตรของเหลวที่ฉีดนั้นน้อยกว่าที่เราต้องการ
และเอาแน่เอานอนไม่ได้
ดังนั้นก่อนที่จะฉีดของเหลวจึงควรตรวจสอบก่อนว่ามีช่องว่าดังกล่าวเกิดขึ้นหรือไม่
ช่องว่างนี้เกิดขึ้นได้ง่ายกับของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำ
หรือของเหลวที่มีสารที่กลายเป็นไอได้ง่ายละลายอยู่
(เช่นในกรณีของสารละลายไบคาร์บอนเนต
HCO3-
ที่เรากำลังวิเคราะห์กันอยู่ในช่วงนี้)
หรือของเหลวที่ไม่เปียกผิวแก้ว
(สารอินทรีย์หลายตัวมีปัญหาเช่นนี้)
ในกรณีของของเหลวที่กลายเป็นไอได้ง่ายนั้นถ้าเราดูดของเหลวตัวอย่างขึ้นมาเร็วเกินไป
(คือของเหลวไหลขึ้นช้ากว่าความเร็วที่เราดึง
syringe
piston ขึ้น)
ความดันเหนือผิวของเหลวใน
syringe
จะลดลงต่ำจนสามารถทำให้ตัวของเหลวเองหรือสิ่งที่เป็นแก๊สที่ละลายอยู่ในสารละลายนั้นระเหยกลายเป็นไอออกมากลายเป็นฟองแก๊สแทรกอยู่ระหว่างของเหลวใน
syringe
รูปที่
๒ ฟองแก๊ส (ลูกศรสีแดง)
ที่ปรากฏใน
syringe
เมื่อดูดของเหลวขึ้นมาเร็วเกินไป
การแก้ปัญหาตรงนี้ทำได้หลายวิธีเช่น
(ก)
เปลี่ยนจากการดูดขึ้นเป็นการดูดลง
อย่างเช่นที่กลุ่มเราใช้กับการฉีดไฮโดรคาร์บอนบางตัว
โดยเอาตัวอย่างของเหลวที่ต้องการฉีดนั้นใส่ขวดที่มีฝาที่มีจุกยางที่สามารถแทงเข็มผ่านได้
(ทำนองเดียวกับขวดยาฉีด)
เวลาจะดูดตัวอย่างก็คว่ำขวดลงและแทงเข็มขึ้นไปจากทางด้านล่าง
แล้วค่อย ๆ ดูดของเหลวตัวอย่างลงมา
(ข)
จุ่มปลายหัวเข็ม
syringe
ให้จมลึกลงไปในผิวของเหลว
และดูดของเหลวขึ้นอย่างช้า
ๆ ไม่ต้องรีบ วิธีการนี้ทำให้ของเหลวไหลเข้า
syringe
ไปพร้อมกับการเคลื่อนตัวของ
syringe
piston ทำให้ของเหลวไม่ระเหบกลายเป็นไอ
(สิ่งที่เราทำกับสารละลาย
HCO3-
อยู่ในขณะนี้)
และ
(ค)
ใช้วิธีการที่เรียกกันว่า
internal
standard โดยการผสมสารที่เฉื่อย
(ไม่ทำปฏิกิริยากับตัวอย่าง)
ลงไปในสารละลายตัวอย่างด้วยปริมาณที่ทราบค่าแน่นอน
แล้วใช้พื้นที่พีค (หรือความสูงพีค)
ของสารที่ผสมลงไปนี้เป็นตัวแทนของปริมาตรที่ฉีด
วิธีการนี้ค่อนข้างจำเป็นสำหรับการฉีดด้วยระบบอัตโนมัติ
เพราะระบบดังกล่าวเท่าที่เคยเห็นมันเป็นการดูดตัวอย่างขึ้นจากขวดตัวอย่างเพียงอย่างเดียว
อุปกรณ์มันไม่มีตาดูว่าเกิดช่องว่างขึ้นในลำของเหลวที่ดูดขึ้นมาหรือไม่
ฉบับนี้คงพอแค่นี้ก่อน
ส่วนปัญหาอีกเรื่องที่กำลังทดสอบอยู่ในช่วงบ่ายวันศุกร์ขอเก็บไว้ก่อนแต่คิดว่าการแก้ปัญหาของเรากำลังเดินไปถูกทางแล้ว
รอการตรวจสอบยืนยันอีกทีในวันจันทร์
(คงได้เหนื่อยกันทั้งวันอีก)
แล้วค่อยนำมาบันทึกเอาไว้เป็นคลังความรู้ของกลุ่มเรา
รูปที่
๓ การประกอบคอลัมน์เพื่อวัดความสามารถในการดูดซับไฮโดรคาร์บอนของ
TiO2
(P-25) เมื่อเช้าวันวาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น