เนื่องในโอกาสที่วันนี้เป็นวันพ่อ
ก็เลยต้องเอาเรื่องราวเกี่ยวกับคุณพ่อมาลงสักหน่อย
สมุดเล่มนี้คุณพ่อเก็บเอารวมเอาไว้กับเอกสารเก่า
ๆ ในห้องนอน ผมเข้าไปรื้อมาสแกนเก็บเอาไว้เล่น
ๆ ตอนที่ต้องเข้าไปเปลี่ยนหลอดไฟและซ่อมแซมห้องน้ำ
อันที่จริงคุณพ่อยังเก็บเอกสารเก่า
ๆ สมัยที่ยังเรียนหนังสืออยู่อีกหลายฉบับ
ถ้ามีเวลาจะค่อย ๆ นำมาลงบันทึกเอาไว้
สมุดเล่มที่เอามาให้ดูในวันนี้เข้าใจว่าเป็นสมุดประจำตัวนักเรียนสำหรับลดหย่อนค่าโดยสารรถไฟ
คงใช้เวลาเดินทางกลับบ้านที่สงขลา
ปีพ.ศ.
ที่ออกสมุดประจำตัวเล่มนี้คือพ.ศ.
๒๔๙๖
หรือเมื่อ ๖๒ ปีที่แล้ว
สืบดูจากประวัติโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแล้ว
ลายมือชื่ออาจารย์ใหญ่ในภาพคงเป็นของ
นายสงวน เล็กสกุล
ที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนอยู่ในช่วงปีพ.ศ.
๒๔๙๓
ถึง ๒๕๐๕
แนวความคิดการวางเส้นทางเดินทางทางบกของไทยแต่เดิมนั้นจะใช้ทางรถไฟเป็นเส้นทางหลักสำหรับการเดินทางไปยังเมืองต่าง
ๆ โดยมีถนนเป็นเส้นทางรองรับการเดินทางออกจากสถานีรถไฟอีกที
ซึ่งจะว่าไปแล้วแนวความคิดนี้ก็ดูเหมาะสมกับยุคสมัยนั้น
เพราะคนไม่ค่อยมีรถยนต์ใช้กัน
และรถไฟก็วิ่งได้ด้วยการใช้ไม้ฟืนที่ตัดเอาจากป่าต่าง
ๆ ตามเส้นทางที่นำมากองไว้ตามสถานีต่าง
ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
แต่พอช่วงหลังปีพ.ศ.
๒๕๑๐
ได้ไม่นาน
ก็มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายกลายเป็นใช้การเดินทางทางรถยนต์เป็นหลัก
ส่งผลให้เส้นทางรถไฟที่มีการวางแผนเอาไว้เดิมที่มีการสร้างไปบ้างแล้วต้องหยุดการสร้าง
(เช่นสายไปภูเก็ตผ่านทางคีรีรัฐนิคม
สายใต้ขึ้นตรงไปเหนือผ่านทางสุพรรณบุรี)
หรือสายที่คิดว่าจะต่อขยายไปก็ถูกยกเลิก
(เช่น
สายไปแม่สอดจากทางสวรรคโลก
สายไปเชียงรายผ่านทางเด่นชัย
การเชื่อมเส้นทางรถไฟสายแม่กลองเข้ากับสายใต้ที่ตลิ่งชัน)
แต่ก่อนการเดินทางจากภาคกลางไปใต้นั้นถ้าเป็นฝั่งจังหวัดที่อยู่ทางฝั่งอ่าวไทย
(ภาคใต้ฝั่งตะวันออก)
ก็สามารถเดินทางไปทางเรือ
หรือไม่ก็โดยรถไฟ
แต่ถ้าเป็นทางด้านอันดามัน
(ภาคใต้ฝั่งตะวันตก)
ก็ต้องอาศัยเส้นทางรถยนต์ที่แยกออกจากจังหวัดชุมพรไปยังระนอง
ก่อนมุ่งลงใต้มายังพังงา
ซึ่งที่ตะกั่วป่าจะมีถนน
(สาย
๔๐๑ ในปัจจุบัน)
แยกออกไปยังสุราษฎร์ธานี
จากพังงาลงใต้ไปอีกจนถึงตรังก็จะวกมาทางตะวันออกมายังพัทลุง
เส้นทางถนนเส้นนี้ก็คือถนนเพชรเกษมในปัจจุบัน
จะว่าไปแล้วการเดินทางทางรถยนต์สมัยนั้นคงจะลำบากน่าดู
เพราะเคยอ่านบันทึกของข้าราชการไทยที่ไปตรวจราชการที่ภูเก็ต
วิธีการเดินทางของเขาคือนั่งรถไฟลงใต้ไปยังปีนังหรือลังกาวีก่อน
จากนั้นจึงค่อยนั่งเรือย้อนมาที่ภูเก็ต
(จำไม่ได้ว่าอ่านเจอจากที่ไหน
แต่น่าจะเป็นก่อนที่จะมีรถไฟไปกันตัง)
ไม่เหมือนยุคปัจจุบันนี้ที่นั่งเครื่องบินกันเป็นว่าเล่น
Memoir
ฉบับนี้คงไม่มีอะไรมากนอกจากเอาเอกสารเก่า
ๆ เมื่อกว่า ๖๐
ปีที่แล้วมาบันทึกให้คนรุ่นหลังได้รู้ได้เห็น
ก่อนที่มันจะเสื่อมสภาพไปตามเวลา
รูปที่
๑ สมุดประจำตัวนักเรียนสำหรับโดยสารรถไฟ
ปกด้านนอก
รูปที่
๓ แผนที่จังหวัดสงขลาสมัยปีพ.ศ.
๒๕๐๘
ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีถนนตัดตรงจากชุมพรมายังพัทลุง
การเดินทางทางรถยนต์ลงใต้พอมาถึงชุมพรต้องอ้อมไปทางระนองและขับรถลงมาถึงตรัง
จากนั้นจึงค่อยมุ่งตะวันออกมายังพัทลุงก่อนจะสามารถมุ่งลงใต้มายังสงขลาได้
แต่ถ้าเป็นรถไฟจะวิ่งตรงจากชุมพรลงใต้มาได้เลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น