วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

ปลั๊กและเต้ารับแบบเยอรมัน (การทำวิทยานิพนธ์ภาคปฏิบัติ ตอนที่ ๗๘) MO Memoir : Monday 18 January 2559

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีจำหน่ายในบ้านเราจำนวนไม่น้อยที่มาพร้อมกับปลั๊กตัวผู้แบบเยอรมัน แต่เต้ารับ (ปลั๊กตัวเมีย) แบบเยอรมันกลับหายาก ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานกับอุปกรณ์บางชนิด โดยเฉพาะพวกที่รวมปลั๊กตัวผู้กับตัวหม้อแปลงเข้าไว้ด้วยกัน (ตัวขวาบนในรูปที่ ๑) เพราะพอเสียบลงไปแล้ว น้ำหนักของหม้อแปลงมันจะกดให้ปลั๊กเอียง และส่งผลถึงขั้วโลหะในตัวเต้ารับทำให้เสียรูปทรง พอเวลาผ่านไปก็จะหลวม อุปกรณ์หนึ่งของกลุ่มเราที่มีปัญหาเรื่องนี้คือ mass flow controller ของระบบ SCR
 
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาก็เลยถือโอกาสไปเดินหาเต้ารับแบบเยอรมัน ได้มา ๔ ตัว (เพราะทั้งร้านเหลืออยู่แค่นั้น) แล้วนำมาประกอบเป็นชุด (โดยใช้เศษไม้อัดที่หาได้ในบ้านและสายไฟฟ้าที่มีอยู่) มาประกอบเป็นชุดเต้ารับแบบเยอรมันสำหรับใชกับ mass flow controller
 
ส่วนที่เหลือก็ดูรูปเองกันเองก็แล้วกัน วันนี้ขอเป็นการเล่าเรื่องด้วยรูปอีกเช่นเคย
 
รูปที่ ๑ แถวบนเป็นปลั๊กตัวผู้ที่ใช้กับเต้ารับแบบเยอรมัน ตัวซ้าย (ที่รวมหม้อแปลงเอาไว้ด้วย) และตัวขวาเป็นแบบที่ไม่มีสายดิน ส่วนตัวกลางนั้นเป็นแบบมีสายดิน โดยสายดินที่ตัวปลั๊กตัวผู้เป็นแถบโลหะที่อยู่ข้างปลั๊ก (ในกรอบสี่เหลี่ยม) ส่วนที่เต้ารับนั้นจะมีสปริงโลหะยื่นออกมา (ตรงลูกศรชี้)

รูปที่ ๒ ถ้าเอามาเสียบกับเต้ารับแบบธรรมดา จะเห็นว่าปลั๊กตัวที่รวมหม้อแปลงอยู่จะมีปัญหา


รูปที่ ๓ แต่ถ้าใช้เต้ารับแบบเยอรมัน จะเข้ากันได้พอดี

รูปที่ ๔ ถ้าดูทางด้านข้างจะเห็นว่าขาที่ยื่นออกมาของปลั๊กที่มีหม้อแปลงนั้น ก็เพื่อทำให้สามารถเสียบลงไปในเต้ารับได้ และตัวหม้อแปลงจะวางลงไปบนตัวเต้ารับพอดี
 
รูปที่ ๕ ปลั๊กแบนแบบ ๒ ขากลมก็เสียบเข้าได้พอดี


รูปที่ ๖ ถ้าเป็นแบบมีสายดิน ขากราวน์ของปลั๊กตัวผู้ก็จะสัมผัสกับขากราวน์ของเต้ารับ (ในกรอบที่เหลี่ยม)


รูปที่ ๗ เอามาใช้กับ mass flow controller และ magnetic sitrrer ของระบบ SCR แล้วในเช้าวันนี้

รูปที่ ๘ อันนี้เป็นรูปตอนประกอบ ใช้มัลติมิเตอร์วัดความต้านทานเพื่อให้มั่นใจว่าต่อสายไม่ผิดขั้ว (โดยเฉพาะตัวสายดิน)


รูปที่ ๙ พอต่อสายเสร็จก็วางครอบพลาสติกลงไป ก็ออกมาเป็นรูปร่างแบบนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น