มาต่อกันจาก
Memoir
ฉบับวันศุกร์ที่
๒๙ มกราคมที่ผ่านมา
Fired process heater ใช้สำหรับทำให้ของไหล (ของเหลวหรือแก๊ส) ที่มีอุณหภูมิต่ำนั้น มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นสูงมาก ความต้องการในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการเพิ่มความสามารถของ Procss fired heater ให้สามารถรองรับอัตราการไหลที่สูงขึ้น ทำให้ให้โครงสร้างของ Fired process heater ซับซ้อนขึ้น
พื้นที่ผิวของท่อกลมต่อหน่วยความยาว (คือพื้นที่ผิวรับความร้อน) แปรผกผันกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ กล่าวคือยิ่งท่อมีขนาดเล็กลง พื้นที่ผิวของท่อต่อหน่วยความยาวจะเพิ่มขึ้น ถ้าพิจารณาจากประเด็นการถ่ายเทความร้อนนี้ การใช้ท่อเล็กจะดีกว่าการใช้ท่อใหญ่ แต่ถ้าพิจารณาว่าที่อัตราการไหลโดยน้ำหนักเดียวกัน การไหลในท่อขนาดใหญ่จะช้ากว่าการไหลในท่อขนาดเล็ก ทำให้การไหลในท่อขนาดใหญ่มีเวลามากกว่าในการรับความร้อน
ในกระบวนการที่ทำให้ของเหลวระเหยกลายเป็นไอ หรือการทำให้แก๊สแตกตัวออกเป็นโมเลกุลที่เล็กลง (เช่นในกระบวนการ thermal cracking) จำนวนโมลของสารในระบบจะเพิ่มสูงขึ้น อัตราการไหลโดยปริมาตรจะเพิ่มมากขึ้น ท่อขนาดเล็กจะทำให้เกิดความดันลด (pressure drop) ที่สูงกว่าการใช้ท่อขนาดใหญ่ ถ้าพิจารณาจากประเด็นอัตราการไหลโดยปริมาตรที่เพิ่มสูงขึ้น ขนาดท่อก็ควรจะต้องใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับอัตราการไหลโดยปริมาตรที่เพิ่มมากขึ้น
สำหรับปฏิกิริยาที่อาจเกิด coking (การสะสมของสารประกอบคาร์บอน) ขึ้นบนผิวท่อได้ การรับความร้อนนานเกิดไปก็ไม่ใช่สิ่งดี และการไหลที่ช้าเกินไปก็จะไม่สามารถเฉือนสิ่งสกปรกออกจากผิวท่อด้านในออกไปได้ แต่การไหลที่เร็วเกินไปก็อาจทำให้ท่อสึกหรอ (erosion) เนื่องจากการเสียดสีได้
อุณหภูมิของแก๊สร้อนที่ไหลอยู่ใน Fired process heater ที่ออกมาจาก radiation zone นั้น จะร้อนสุดตรงจุดที่ออกมาจาก radiation zone ถ้ามีการดึงเอาความร้อนจากแก๊สส่วนนี้มาใช้ แก๊ส่วนนี้จะเย็นลงเรื่อย ๆ ไปจนถึงปากปล่องปล่อยทิ้ง ดังนั้นเราสามารถใช้ความร้อนส่วนนี้ให้ความร้อนแก่ Process fluid ต่าง ๆ ของโรงงาน (ซึ่งอาจเป็นการให้ความร้อนแก่น้ำหรือไอน้ำ หรือตัวสารตั้งต้นที่จะป้อนเข้า Fired process heater หรือ Process fluid อื่น ๆ ก็ได้) โดยด้านบนสุดจะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงต่ำ และด้านที่อยู่ติดกับ radiation zone จะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงสูง ดังนั้นตรงด้านที่อยู่ติดกับ radiation zone จึงมักใช้สำหรับการทำให้ Process fluid นั้นมีอุณหภูมิสูงเข้าใกล้เคียงกับอุณหภูมิที่ต้องการเมื่อไหลออกจาก radiation zone
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าในการออกแบบ (อันที่จริงไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ใด) นั้น แบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสภาพแวดล้อมหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบที่เหมาะสมที่สุดเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไป สิ่งที่ผู้ออกแบบ (หรือผู้เลือกใช้) ต้องทำคือการเลือกหาแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสภาวะการใช้งานของตนเอง
รูปที่ ๘ เป็นตัวอย่างของ Fired process heater ชนิด Box-type (ขอนับเลขรูปภาพต่อจากฉบับที่แล้ว) Fired heater ชนิดนี้เหมือนกับการนำเอา Cabin heater 2 ตัว (รูปที่ ๗ ใน Memoir ฉบับที่แล้ว) โดยเอามาเฉพาะ radiation zone มาใช้ปล่องระบายแก๊สร้อน (convection zone) เดียวกัน ข้อดีของรูปแบบ Box-type เมื่อเทียบกับ Cabin type ก็คือความสูงของ radiation zone ลดลง ทำให้ท่อที่อยู่ด้านบนนั้นอยู่ใกล้กับ burner (ที่อยู่ที่ระดับพื้น) มากขึ้น การรับความร้อนของท่อในส่วน radiation zone จึงมีความสม่ำเสมอมากขึ้น ในตัวอย่างที่ยกมานี้จะแยกของไหลที่เข้ามาออกเป็น ๔ ข่องทาง (ลูกศรสีส้มทางด้านบนของ convection zone) พอถึง radiation zone ก็จะแยกออกไปข้างละ ๒ สาย (เรียกว่า 4 passes)
รูปที่ ๘ ตัวอย่างหนึ่งของ Fired process heater ชนิด Box-type
รูปที่
๙ เป็นชนิด Box-type
ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปอีก
คือมีเส้นทางการไหลถึง 8
passes ที่ไหลแบบขนานกัน
กล่าวคือเมื่อออกจาก
convection
zone แล้วจะแยกไปทางด้านซ้าย
๔ สาย (ตรงลูกศรสีน้ำเงิน)
และทางด้านขวา
๔ สาย และแต่ละด้านนั้นจะแยกออกไปทางผนังเตาด้านซ้าย
๒ สายและด้านขวา ๒ สาย และที่ทั้ง
๒
สายที่ผนังแต่ละด้านก็จะวางท่อในแนวนอนสลับกันก่อนที่จะออกไปทางด้านล่างของ
radiation
zone (ตรงลูกศรสีส้ม)
รูปที่ ๙ ตัวอย่างหนึ่งของ Fired process heater ชนิด Box-type 8 parallel passes
รูปที่ ๙ ตัวอย่างหนึ่งของ Fired process heater ชนิด Box-type 8 parallel passes
Box-type
ในรูปที่
๑๐ นั้นคล้ายคลึงกับที่แสดงในรูปที่
๙ แตกต่างกันตรงการจัดวางท่อใน
radiation
zone
กล่าวคือแทนที่จะวางเส้นทางการไหลให้มีการไหลจากบนลงล่างในทิศทางเดียวกันทั้งหมดแบบในรูปที่
๙ แต่จัดให้มี ๒ เส้นทางการไหลเข้าทางด้านบน
และออกทางด้านข้างบริเวณตอนกลางของ
radiation
zone (ลูกศรสีน้ำตาลและส้ม)
อีก
๒ เส้นทางการไหลเข้าทางด้านล่างของ
radiation
zone และไหลออกทางด้านข้างบริเวณตอนกลางของ
radiation
zone เช่นเดียวกัน
(ลูกศรสีน้ำเงินและเขียว)
ท่อในส่วน
radiation
zone ที่แสดงในรูปเป็นท่อที่วางในแนวนอน
(ในเอกสารที่ผมมีเขาบอกสั้น
ๆ เพียงว่าการวางท่อแบบนี้ทำให้การรับความร้อนใน
radiation
zone มีความสม่ำเสมอมากกว่า)
รูปที่ ๑๐ อีกตัวอย่างหนึ่งของ Fired process heater ชนิด Box-type 8 parallel passes
รูปที่ ๑๐ อีกตัวอย่างหนึ่งของ Fired process heater ชนิด Box-type 8 parallel passes
ค่า
heat
flux ที่ท่อใน
convection
zone ได้รับนั้นต่ำกว่าค่า
heat
flux ที่ท่อในส่วน
radiation
zone ได้รับ
ดังนั้นเมื่อของไหลไหลจาก
convection
zone เข้าสู่
radiation
zone ก็จะได้รับปริมาณความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างกระทันหัน
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการออกแบบ
Fired
process heater ชนิด
Box-type
ที่เป็น
Double
roof tube heater (รูปที่
๑๑)
ขึ้นมา
ความแตกต่างของ Double
roof tube heater ในรูปที่
๑๑ กับ Box-type
ในรูปที่
๙ และ ๑๐ คือจำนวนของท่อเรียงอยู่ในแนวนอนด้านบนของ
radiation
zone โดยที่
Double
roof tube heater จะมีท่อแนวนี้อยู่
๒ ชั้น ในขณะที่แบบ Box-type
ในรูปที่
๙ และ ๑๐ นั้นจะมีท่อแนวนี้อยู่เพียงชั้นเดียว
ในกรณีของ Double
roof tube heater นี้
ของไหลที่ไหลออกทางด้านล่างของ
convection
zone (ได้รับความร้อนผ่านการการพาความร้อนของแก๊สร้อนเป็นหลัก)
เข้าสู่ท่อชั้นบนที่อยู่ใกล้เพดาน
ท่อชั้นบนนี้รับความร้อนผ่านทางการแผ่รังสีความร้อน
(raidation)
และการพาความร้อน
(convection)
จากนั้นจึงไหลลงสู่ท่อชั้นที่สองที่อยู่ต่ำลงมา
โดยท่อชั้นที่สองนี้รับความร้อนผ่านทางการแผ่รังสีความร้อนเป็นหลัก
และไหลลงล่างเข้าสู่ท่อที่วางไว้ตามข้างผนังเตาต่อไป
รูปที่ ๑๑ ตัวอย่างหนึ่งของ Fired process heater ชนิด Double-roof tube heater
รูปที่ ๑๑ ตัวอย่างหนึ่งของ Fired process heater ชนิด Double-roof tube heater
ตัวสุดท้ายของฉบับนี้ที่นำมาแสดงในรูปที่
๑๒ เป็นชนิดที่เรียกว่า
Dutch
oven type ตัวนี้จะแตกต่างจากตัวก่อนหน้านี้ตรงที่
radiation
zone มีผนังกั้นกลาง
(แต่ไม่สูงตลอด)
หัวเตาอยู่ทางมุมด้านล่าง
(ซ้ายและขวา)
ของ
radiation
zone ทำให้เปลวไฟพุ่งออกไปทางด้านข้าง
การไหลในส่วน radiation
zone ยังคงเป็นการไหลในแนวนอนจากบนลงล่าง
ข้อดีของรูปแบบนี้คือลดโอกาสที่เปลวไฟจะไปทำอันตรายโดยตรงต่อผิวท่อ
(คงเป็นเพราะเปลวไฟพุ่งออกจากผนังไปทางด้านข้างออกไปจากผิวท่อที่อยู่ข้างผนัง)
รูปที่ ๑๒ ตัวอย่างหนึ่งของ Fired process heater ชนิด Dutch oven : Explosion door คือช่องระบายความดันที่จะเปิดออกถ้าหากเกิดการระเบิดขึ้นภายใน เพื่อลดความดัน ป้องกันไม่ให้โครงสร้างเสียหาย Peep door คือช่องสำหรับมองดูเปลวไฟภายใน และ Access door คือประตูสำหรับเข้าไปในภายเพื่อทำการซ่อมบำรุง
รูปที่ ๑๒ ตัวอย่างหนึ่งของ Fired process heater ชนิด Dutch oven : Explosion door คือช่องระบายความดันที่จะเปิดออกถ้าหากเกิดการระเบิดขึ้นภายใน เพื่อลดความดัน ป้องกันไม่ให้โครงสร้างเสียหาย Peep door คือช่องสำหรับมองดูเปลวไฟภายใน และ Access door คือประตูสำหรับเข้าไปในภายเพื่อทำการซ่อมบำรุง
ในปล่องของ
convection
zone ยังอาจมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า
"Soot
blower" ติดตั้งอยู่
อุปกรณ์นี้ใช้สำหรับเป่าไล่คราบเขม่าที่เกาะสะสมบนผิวท่อด้านนอกที่อยู่ใน
convection
zone (คราบเขม่านี้เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์
และเกิดได้ง่ายเมื่อใช้น้ำมันหนักเช่นน้ำมันเตา)
คราบเขม่าที่สะสมบนผิวท่อนั้นไม่เพียงแต่ทำให้การถ่ายเทความร้อนให้กับของไหลที่อยู่ในท่อนั้นแย่ลงแล้ว
ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผิวโลหะได้ถ้าหากมันเกิดลุกไหม้ขึ้นมา
(Soot
fire) ทำให้ผิวโลหะตรงที่เกิด
soot
fire นั้นร้อนจัดจนอาจเกิดกว่าที่โลหะนั้นจะทนได้
การกำจัดคราบเขม่านี้ทำได้โดยการฉีดไอน้ำหรืออากาศเข้าไปเพื่อไล่เอาคราบเขม่านี้ออก
อุปกรณ์ที่ใช้ฉีดนี้เรียกว่า
'Soot
blower"
ยังไม่จบนะครับ
ยังมีต่ออีก :)
:) :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น