"พี่
...
คืนนั้นผมหากรรไกรบนโต๊ะพี่ไม่เจอ"
ได้ยินเรื่องเล่าจากคุณเลขาคนสวย
ที่มีนิสิตมาบ่นให้ฟังในวันรุ่งขึ้นหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ว่า
เขาหากรรไกรไม่เจอ
(ที่ปรกติจะอยู่เก็บอยู่บนโต๊ะทำงานของคุณเลขาประจำแลป)
คือเขาจะเอาไปตัด
"สายรัดพลาสติก"
ที่มันคล้องห่วงสลักของเครื่องดับเพลิงเอาไว้
พอได้ยินเรื่องนี้เข้าให้
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะหัวเราะหรือร้องไห้ดี
รูปที่
๑
ห่วงกลมที่เห็นทางด้านขวาคือตัวสลักที่สอดเอาไว้ป้องกันไม่ให้ด้ามบีบถูกบีบโดยไม่ตั้งใจ
ก่อนใช้งานต้องดึงสลักนี้ออก
และเพื่อป้องกันไม่ให้สลักหลุดหายหรือคนดึงเล่น
ก็มักจะมีสายรัด
(ในรูปเป็นสายพลาสติกในวงสีเหลือง)
รัดเอาไว้
ถังดับเพลิงที่ใช้กันทั่วไปนั้น
ตัวถังดับเพลิงเองอาจเป็นตัวภาชนะรับความดัน
พวกนี้มักจะเป็นพวกบรรจุแก๊สความดันสูงไว้ข้างใน
(เช่นพวก
คาร์บอนไดออกไซด์ ฮาลอน
หรือสารตระกูลที่มาแทนฮาลอน)
หรือไม่ก็บรรจุถังแก๊สความดันขนาดเล็กไว้ภายใน
ที่เมื่อถังแก๊สภายในเปิดออก
ก็จะออกแรงดันสิ่งที่บรรจุอยู่ในถังดับเพลิงออกมา
หรือไม่ก็บรรจุสารเคมีไว้ภายในที่เมื่อทำปฏิกิริยากันจะทำให้เกิดแก๊สสร้างแรงดันขึ้นในถัง
ตัวอย่างของถังดับเพลิงประเภทหลังนี้ได้แก่ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง
น้ำ และโฟม
แต่ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม
เมื่อมีการนำมาใช้งาน
(คือมีการฉีดพุ่งออกมาแล้ว)
ก็จะต้องส่งถังนั้นให้กับทางผู้ผลิตเพื่อทำการบรรจุใหม่และปิดวาล์วใหม่ให้สนิท
ลักษณะทั่วไปที่พบเห็นกันของถังดับเพลิงชนิดถือหิ้วก็คือ
หูหิ้วจะมีลักษณะเป็นด้ามบีบ
ที่เมื่อบีบด้ามดังกล่าวก็จะฉีดพ่นสารที่บรรจุอยู่ในถังออกมา
เพื่อป้องกันไม่ให้ด้ามบีมถูกบีบโดยไม่ตั้งใจ
จึงมีการสอดสลักโลหะเอาไว้
สลักนี้จะมีด้านหนึ่งเป็นห่วงกลม
ไว้สำหรับให้นิ้วสอดเพื่อดึงสลักออกมา
รูปที่
๒ สายพลาสติกรัดห่วงสลักเอาไว้เพื่อกันคนดึงห่วงสลักเล่น
และทำให้รู้ว่าถังดับเพลิงใบนี้ผ่านการตรวจสอบและยังไม่มีการใช้งาน
หลังการตรวจสอบความพร้อมใช้งานแล้ว
ผู้ผลิตก็จะเอาสายรัดมารัดตัวสลักเอาไว้กับด้ามจับ
สายรัดนี้มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้สลักหลุดหายหรือคนมือบอนมาดึงสลักเล่นโดยไม่ตั้งใจ
และยังทำให้รู้ว่าถังดับเพลิงใบดังกล่าวยังไม่ถูกใช้งาน
พักหลัง ๆ
จะเห็นสายรัดนี้ทำจากพลาสติกที่รูดรัดเข้าได้อย่างเดียว
ทำนองเดียวกับเข็มขัดรัดสายไฟที่เป็นพลาสติก
(วงสีเหลืองในรูปที่
๑ และ ๒)
แต่สายรัดนี้ก็ไม่ได้แข็งแรงอะไรมากนั้น
แค่กระชากก็ขาดแล้ว
ดังนั้นเวลาที่จำเป็นต้องใช้ถังดับเพลิงชนิดถือหิ้ว
พอจะหยิบถังขึ้นมาก็ดึงสลักออกก่อนได้เลย
ไม่ต้องไปหาอะไรมาตัดสายรัดดังกล่าว
ถ้าพบว่าไม่สามารถกระชากให้สายรัดขาดได้
แสดงว่ามันมีปัญหาตรงผู้ตรวจสอบแล้วว่าเอาอะไรมารัดสลักไว้
และควรทดลองดึงก่อนที่จะวิ่งเข้าไปยังจุดเกิดเพลิงไหม้
เพราะถ้าพบว่าไม่สามารถกระชากสลักออกมาได้ก็จะได้หาถังดังเพลิงใบอื่นมาใช้งานแทน
และถ้าเป็นถังดับเพลิงชนิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ก็ควรต้องทดลองฉีดดูก่อนเล็กน้อย
ว่าในถังนั้นมันมีแก๊สอยู่
(เพราะมันไม่มีเกจวัดความดันภายในถัง)
เรื่องชนิดถังดับเพลิงนี้ว่าจะเล่าเป็นเรื่องต่างหากอีกที
แต่อย่าไปโทษนิสิตคนนั้นเลย
ผมเองก็ไม่รู้ว่าเขาเคยได้รับการอบรมการใช้ถังดับเพลิงมาก่อนหรือเปล่า
แต่การที่เขายังสามารถคุมสติและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในเวลาอันสั้น
(ทั้ง
ๆ ที่เขาเองก็ไม่ได้เป็นคนก่อปัญหา
เป็นเพียงแค่คนที่บังเอิญอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ)
ก็นับว่าเขาเก่งมากแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น