ในห้องปฏิบัติการของเราจะมีสายไฟฟ้าอยู่แบบหนึ่งที่ตัวฉนวนนั้นหุ้มสายนั้นทำจากวัสดุเส้นใยทนความร้อน
(ที่ไม่ใช่พลาสติก)
และในขณะเดียวกันเราก็มีขดลวดความร้อนแบบที่เรียกว่า
heating
cord หรือ
heating
cable อยู่ด้วย
ซึ่งถ้ามองเฉพาะฉนวนหุ้มด้านนอกแล้วก็คงจะแยกไม่ออกเป็นมันเหมือนกัน
(รูปที่
๑ ข้างล่าง)
รูปที่
๑ สองเส้นนี้มองภายนอกเผิน
ๆ จะเห็นว่าฉนวนหุ้มสายเหมือนกัน
แต่เส้นซ้ายเป็นสายไฟ
เส้นขวาเป็น heating
cord
จะให้ชัดเจนต้องดูที่ตัวสายที่อยู่ข้างใน
(รูปที่
๒)
ตัวที่เป็นสายไฟฟ้านั้นแกนในจะเป็นเส้นลวดทองแดงตีพันเกลียว
แต่ตัวที่เป็น heating
cord นั้นจะมีเส้นลวดความต้านทานเส้นเล็ก
ๆ เส้นหนึ่ง
ตีพันเกลียวอยู่รอบเส้นใยที่ทนความร้อนที่ทำหน้าที่เป็นแกนกลาง
แต่ถ้าไม่แน่ใจก็ลองเอามัลติมิเตอร์มาวัดความต้านทานดูก็ได้
ตัวที่เป็นสายไฟฟ้าจะมีความต้านทานต่ำ
(ใกล้
ๆ ๐ โอห์ม)
แต่ตัวที่เป็น
heating
cord จะมีความต้านทานสูง
อย่างเช่นตัวที่เอามาให้ใช้ในวันนี้
(ความยาวประมาณเกือบ
๑ เมตร มีความต้านทานประมาณ
๑๕๐ โอห์ม
ตัว
heating
cord
นี้ทางกลุ่มเราเอามาใช้ให้ความร้อนกับระบบท่อที่ไม่ต้องการให้แก๊สข้างในเกิดการควบแน่น
โดยใช้ thermostat
คุมอุณหภูมิไว้ที่ประมาณ
๘๐-๑๐๐
องศาเซลเซียส
(อันที่จริงจะคุมอุณหภูมิไว้ที่เท่าใดมันขึ้นกับองค์ประกอบที่ไม่ต้องการให้ควบแน่นที่อยู่ในแก๊สที่ไหลอยู่ในท่อ
โดยเอาตัวเทอร์โมคับเปิลทาบไปกับท่อที่พัน
heating
cord นั้นเอาไว้
และอย่าลืมเอาลวดมัดเทอร์โมคับเปิลให้แนบกับตัวท่อด้วย
(รูปที่
๓)
อุปกรณ์ต่าง
ๆ หาให้ครบหมดแล้ว
เหลือแต่ลูกเต๋าและสกรูสำหรับต่อสายไฟ
จะรอดูว่าจะให้เวลานานเท่าใดจึงจะหาเจอ
รูปที่
๒ ถ้ามองที่เส้นลวดตัวนำที่อยู่ข้างในจะชัดเจนกว่าเยอะ
ตัวซ้ายจะมีลวดทองแดงเป็นตัวนำไฟฟ้า
(ที่เห็นตีพันเกลียว
แต่ที่เห็นเป็นสีเขียวเพราะทำปฏิกิริยากับอากาศกลายเป็นสารประกอบออกไซด์)
ส่วนตัวซ้ายจะมีเส้นลวดความต้านทานเส้นเล็ก
ๆ (ตรงลูกศรชี้)
ตีพันอยู่รอบ
ๆ เส้นใยที่เป็นฉนวนไฟฟ้า
และทนความร้อน
รูปที่
๓ ตัวอย่างการติดตั้ง
thermostat
และเทอร์โมคับเปิลกับระบบท่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น