ตัวเก็บประจุ
(condenser
หรือ
capacitor)
เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บสะสมประจุไฟฟ้า
มีใช้ทั้งในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก
และในอุปกรณ์ระบบไฟฟ้ากำลัง
ในระหว่างการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าจะมีประจุไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัวเก็บประจุ
และเมื่อปิดการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า
(แม้ว่าจะถอดปลั๊กออกแล้วก็ตาม)
ก็จะยังคงมีประจุไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัวเก็บประจุอยู่
แต่ประจุไฟฟ้าที่สะสมอยู่นี้จะรั่วไหลออกมาจนกระทั่งหมดไป
ซึ่งต้องใช้เวลาสักพักหนึ่ง
(ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวเก็บประจุ
ถ้ามีขนาดใหญ่ก็จะใช้เวลานานหน่อย)
ดังนั้นเวลาทำงานซ่อมแซมอุปกรณ์ที่มีการใช้ตัวเก็บประจุจึงต้องคำนึงว่าแม้ว่าจะได้ปลั๊กอุปกรณ์ออกแล้วก็อย่างเพิ่งลงมือทำงานทันที
ให้รอสักพักนึงก่อนจึงค่อยเริ่มงาน
เพื่อให้ประจุไฟฟ้าที่ค้างอยู่ในตัวเก็บประจุนั้นรั่วไหลออกไปจนหมด
เพราะถ้าหากยังมีประจุไฟฟ้าค้างอยู่ในตัวเก็บประจุ
แล้วมีตัวนำไฟฟ้าซึ่งอาจจะเป็นอุปกรณ์ชิ้นอื่นหรือตัวผู้ทำงานเองไปสัมผัสกับขั้วของตัวเก็บประจุ
อาจทำให้เกิดการคายประจุออกอย่างรวดเร็วจนทำอันตรายให้กับผู้ทำงานได้
รูปที่
๑ ตัวเก็บประจุขนาดใหญ่ของเครื่อง
UPS
สำหรับเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟเครื่องหนึ่ง
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมามีช่างมาทำการซ่อมแซมเครื่อง
UPS
สำหรับเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟเครื่องหนึ่ง
เครื่องนี้มีตัวเก็บประจุขนาดใหญ่อยู่
๒ ตัว (รูปที่
๑ ข้างบน)
ดังนั้นก่อนเริ่มการทำงานซ่อบำรุง
จึงจำเป็นต้องทำให้ตัวเก็บประจุนี้คายประจุไฟฟ้าออกมาให้หมดก่อน
วิธีการที่ช่างซ่อมใช้ก็คือนำเอาหลอดไฟ
200
W ที่ต่อขั้วสายไฟฟ้าเอาไว้
(รูปที่
๒)
มาจิ้มไปยังตำแหน่งขาทั้งสองข้างของตัวเก็บประจุ
ในช่วงแรกหลอดไฟฟ้าก็จะสว่างวาบจากประจุไฟฟ้าที่ตัวเก็บประจุคายออกมา
จากนั้นก็จะดับมืดลง
ซึ่งแสดงว่าตัวเก็บประจุคายประจุไฟฟ้าออกหมดแล้ว
ก็สามารถทำงานซ่อมบำรุงต่อไปได้
รูปที่
๒ หลอดไฟขนาด 200
W (สองร้อยวัตต์)
ที่ช่างไฟฟ้าใช้ในการคายประจุออกจากตัวเก็บประจุ
ในโรงงานอุตสาหกรรมมีการใช้ตัวเก็บประจุขนาดใหญ่จำนวนมากในการปรับค่าตัวประกอบกำลัง
(power
factor) ของระบบไฟฟ้ากำลังของโรงงานให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
ไม่เช่นนั้นจะต้องถูกปรับ
อันที่จริงแม้แต่ตัวอาคารพาณิชย์เองที่มีการใช้โคมไฟฟลูออเรสเซนต์ชนิดติดตั้งหลอดไฟหลายหลอด
(เช่น
๓-๔
หลอด)
จำนวนมาก
ตัวโคมไฟเองก็จะมีการติดตั้งตัวเก็บประจุเข้ากับวงจรของหลอดฟลูออเรสเซนต์
ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มค่าตัวประกอบกำลังของระบบโคมไฟ
ถ้าเทียบกับแบตเตอรี่ชนิดชาร์ตไฟใหม่ได้
ตัวเก็บประจุจะมีข้อดีตรงนี้สามารถชาร์ตไฟได้รวดเร็ว
จ่ายไฟปริมาณมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้เคยมีแนวความคิดที่จะพัฒนาตัวเก็บประจุขนาดใหญ่เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับรถยนต์ไฟฟ้า
เพื่อที่จะได้ไม่เสียเวลานานในการชาร์ตไฟ
และเมื่อต้องการพลังงานจำนวนมากในเวลาอันสั้น
(เช่นการเร่งเครื่อง)
ก็สามารถทำได้ง่าย
แต่ตัวเก็บประจุก็มีข้อเสียคือการรั่วไหลของประจุออกมาแม้ว่าไม่มีการใช้งาน
เรียกว่าหลังชาร์ตไฟได้ไม่นาน
แม้ว่าจะไม่มีการใช้งาน
แต่สักพักตัวเก็บประจุก็คายประจุไฟฟ้าออกหมดแล้ว
ไม่เหมือนแบตเตอรี่ที่เก็บไฟได้ยาวนานกว่า
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รถยนต์ไฟฟ้ายังคงใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งเก็บพลังงานหลักอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น