ปากเพรียว
๔
กันยายน ค.ศ.
๑๘๙๓
ทางรถไฟของผมสร้างขยายไปถึง
๑๔๕ กิโลเมตรแล้ว
นอกจากนี้ยังมีวิศวกรผู้ช่วยคือคุณพาสมอร์
(Passmore)
ซึ่งเพิ่งมาจากอังกฤษและถูกส่งมาช่วยผมทำงาน
ชายผู้นี้จะบริหารงานทางรถไฟช่วงของผมตั้งแต่กิโลเมตรที่
๙๓ ถึงกิโลเมตรที่ ๑๓๓
โดยมีผมเป็นผู้ควบคุมดูแลทั้งหมด
ผมจะไปอยู่ที่หินลับตรงกิโลเมตรที่
๑๔๔
เส้นทางหินลับที่อยู่ตรงเทือกเขาถือว่าเป็นเส้นทางรถไฟที่สร้างยากลำบากที่สุด
ผมตั้งใจจะอยู่ที่ปากเพรียวต่ออีกหนึ่งสัปดาห์
เพื่อสอนงานให้คุณพาสมอร์
จากนั้นผมอยากจะไปกรุงเทพฯ
สักสองสามวันเพื่อไปเตรียมงานสำรวจ
ในสมัยรัชกาลที่
๕
สยามพยายามถ่วงดุลอิทธิพลของอังกฤษและฝรั่งเศสที่พยายามจะเข้ายึดครองสยาม
สิ่งที่สยามทำในช่วงนั้นก็คือการผูกสัมพันธไมตรีกับรัสเซีย
(ตรงนี้ทางนักประวัติศาสตร์เองก็มีการวิเคราะห์เหตุผลหนึ่งที่รัสเซียยินดีปกป้องสยามก็เพราะทางรัสเซียเองก็ต้องการแหล่งพักเติมถ่านหินในตะวันออกไกล
เพื่อให้กองเรือรัสเซียที่เดินทางจากยุโรป
อ้อมทวีปแอฟริกา
มายังเมืองท่าของรัสเซียด้านเอเชียมีจุดแวะพัก
แต่ในแง่การเมืองในยุโรปแล้ว
รัสเซียอยู่ฟากเดียวกับอังกฤษและฝรั่งเศส
เพื่อกดดันเยอรมัน)
แต่ที่สำคัญคือการผูกสัมพันธไมตรีกับเยอรมัน
ด้วยการที่เยอรมันไม่มีนโยบายในการเสาะแสวงหาเมืองขึ้นในดินแดนตะวันออกไกลนี้ดังเช่นอังกฤษและฝรั่งเศส
การให้คนเยอรมันมาทำหน้าที่ต่าง
ๆ ในสยามจึงไม่ก่อให้เกิดการต่อต้านจากคนสยามมากนัก
แต่ก็ก่อให้เกิดความไม่พอใจกับทางอังกฤษและฝรั่งเศสเช่นกัน
ที่พยามยามมองว่าสยามวางตัวไม่เป็นกลาง
ผลก็คือการก่อสร้างทางรถไฟของสยามจึงเต็มไปด้วยชาวต่างชาติจากหลากหลายชาติมาทำงานร่วมกัน
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ชาติใดชาติหนึ่งหาเรื่องได้ว่าสยามลำเอียงด้วยการไม่จ้างชนชาติเขาให้เข้ามาทำงาน
ไวเลอร์เดินทางมาสยามสองครั้ง
ครั้งแรกในปีค.ศ.
๑๘๙๓
ครั้งนั้นเขามาในฐานะวิศวกรหนุ่ม
เป็นการเดินทางครั้งแรกมายังดินแดนแห่งนี้เพื่อมารับหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
และสถานที่ที่จะเป็นที่ทำงานหลักในการควบคุมการก่อสร้างคือที่บ้านหินลับที่เขาใช้พักอาศัยและทำงานไปจนถึงวันที่
๑๒ ธันวาคม ค.ศ.
๑๘๙๗
ก่อนจะเดินทางออกจากหินลับเข้ากรุงเทพ
เพื่อเดินทางกลับเยอรมันในช่วงใกล้สิ้นเดือนนั้นเอง
ไวเลอร์บันทึกเอาไว้ว่าเส้นทางช่วงบ้านหินลับนี้จัดว่าเป็นเส้นทางที่สร้างยากลำบากที่สุด
หินลับ
๒๑
ตุลาคม ค.ศ.
๑๘๙๓
..........
ขบวนคาราวานของผมออกเดินทางตอน
๘ โมงเช้า ตรงกิโลเมตรที่
๑๓๔ เราออกจากเส้นทางรถไฟและใช้ทางที่วัวเดินมุ่งไปยังโคราช
ผมรีบเดินทางไปล่วงหน้าขบวนคาราวานและไปถึงหินลับตอนบ่าย
๒ โมง
ในที่สุดก็ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งใจจะไปให้ถึงนานแล้วเสียที
ที่นี่จะเป็นที่พักของผมไปอีกนาน
มันอยู่กลางป่าจนกระทั่งป่าและกิ่งไม้สัมผัสกับตัวบ้าน
ผมเดินทางไปยังทางรถไฟทันที
ทางรถไฟนั้นต้องใช้เวลาครึ่งชั่วโมงจึงจะเดินทางถึง
โชคดีที่ผมหามันพบ ..........
รูปที่
๑ ภาพ ลูอิส ไวเลอร์ (Luis
Weiler) จากหนังสือ
"กำเนิดการรถไฟในประเทศไทย
บันทึกของไวเลอร์ในช่วงเวลานี้เล่าถึงบรรยากาศความเป็นป่าของบริเวณดังกล่าว
บรรยากาศการทำงานก่อสร้างทาง
ชีวิตประจำวันของชาวสยามทั่วไป
และความสูญเสียที่เกิดขึ้นเมื่อเขามาถึงได้ไม่นาน
หินลับ
๑๘
ธันวาคม ค.ศ.
๑๘๙๓
อาการป่วยของคุณเคปเลอร์ไม่ได้เป็นเพราะโรคปอดอักเสบอย่างที่ผมคิด
แต่เป็นโรคเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบซึ่งรักษาหายยาก
ร่างกายของเขาอ่อนแอลงเรื่อย
ๆ ดังนั้นวันที่ ๑๐ ธันวาคม
เราจึงเริ่มย้ายเขากลับไปกรุงเทพ
กุลีแปดคนหามเขาไปโดยที่เขานอนอยู่บนเก้าอี้นอน
เขาค้างคืนที่บ้านของผม
แต่เขาไม่สามารถพูดติดต่อกันได้ยาว
ๆ ในวันต่อ ๆ มา
เขาถูกเคลื่อนย้ายไปแก่งคอยด้วยวิธีการเดียวกัน
จากที่นี่เขาต้องเดินทางทางเรือต่อไปยังกรุงเทพ
ฯ เขาถูกนำไปพักในเรือบ้าน
หลังจากนั้นไม่นานเขาก็เสียชีวิต
ผมถูกเรียกตัวไปทันทีด้วยจดหมายด่วน
ตอน ๕
โมงเย็นเราฝังคุณเคปเลอร์ผู้น่าสงสารให้เขาได้นอนอย่างสงบตรงกิโลเมตรที่
๑๑๒ ห่างจากเส้นทางรถไฟไปทางขวา
๑๕.๓
เมตร เราประดับตกแต่งโลงศพด้วยธงชาติปรัสเซีย
ธงชาติอังกฤษ และธงชาติไทย
เราวางพวงหรีดซึ่งภรรยาคุณไนท์ส่งมาไว้บนอกเขา
ผมกล่าวถ้อยคำสั้น ๆ
สองสามประโยคที่หลุมฝังศพ
ก่อนสิ้นเดือนธันวาคม
ค.ศ.
๑๘๙๗
ไวเลอร์ได้เดินทางกลับเยอรมัน
เขากลับมาสยามอีกครั้งในปีค.ศ.
๑๙๐๔
โดยคราวนี้พาภรรยาและลูกอีก
๓ คนมาด้วย
แต่การมาครั้งนี้ไม่ได้มาเพื่อเป็นวิศวกรควบคุมการก่อสร้างทาง
แต่มาเพื่อรับตำแหน่งเป็นเจ้ากรมรถไฟไทยสืบต่อจากนายแฮร์มันน์
เกียร์ทส์ (Hermann
Gehrts) ผู้ที่เคยเป็นนายเก่าของเขา
ตำแหน่งหน้าที่ใหม่ทำให้เรื่องราวในชีวิตประจำวันของเขาเปลี่ยนไปจากการมาสยามครั้งแรก
บันทึกช่วงที่สองนี้เล่าถึงการเดินทางไปตรวจงานก่อสร้างทางรถไฟทั้งทางรถไฟสายใต้และทางรถไฟสายเหนือ
เรื่องราวการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์
เรื่องเกี่ยวกับชาวต่างประเทศจากชาติต่าง
ๆ ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในสยาม
เรื่องของชาติมหาอำนาจอันได้แก่อังกฤษและฝรั่งเศสที่พยายามกดดันรัฐบาลสยามเพื่อหาผลประโยชน์เข้าตัวเอง
รวมทั้งการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินจากรัชกาลที่
๕ มาเป็นรัชกาลที่ ๖
ผู้ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาจากสหราชอาณาจักร
ความขัดแย้งของมหาอำนาจในยุโรปนำไปสู่มหาสงครามที่เรียกว่า
The
Great War (ที่ต่อมาภายหลังเรียกกันว่าสงครามโลกครั้งที่
๑ หรือ The
First World War) ในปีค.ศ.
๑๙๑๔
ในช่วงแรกของสงครามนั้นสยามวางตัวเป็นกลาง
และทางสหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้เข้าร่วมรบในสงคราม
แม้ว่าในทางปฏิบัตินั้นจะให้การสนับสนุนด้านยุทธปัจจัยให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศสก็ตาม
ไวเลอร์เขียนไว้ในบันทึกลงวันที่
๔ มีนาคม ค.ศ.
๑๙๑๗
ของเขาว่า สหรัฐอเมริกาไม่เพียงแต่ตัดสัมพันธ์ทาง
การฑูตกับเยอรมันเท่านั้น
แต่ยังบีบบังคับให้ประเทศที่เป็นกลางทำเช่นนั้นด้วย
และในที่สุดประเทศจีนได้ตัดสินใจทำตามสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกามาประกาศสงครามกับเยอรมันในเดือนเมษายน
ปีค.ศ.
๑๙๑๗
กรุงเทพ
ฯ
๒๗
มกราคม ค.ศ.
๑๙๑๕
..........
หัวหน้างานก่อสร้างรถไฟคนก่อนผมคือ
คุณเกียร์ทส์
ได้อาสาเข้าร่วมรบในสงครามขณะอายุได้
๖๐ ปี
เขาเสียชีวิตระหว่างที่กองร้อยส่วนหน้าถูกข้าศึกโจมตีที่ฝรั่งเศส
ส่วนนางเลียวโนเวน (Mrs.
Leonowens)
ผู้เคยมาถวายพระอักษรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุฬาลงกรณ์และพระอนุชาหลาย
ๆ พระองค์รวมทั้งพระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร
กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ด้วยในช่วงปีค.ศ.
๑๘๖๒
-
๑๘๖๗
นั้นได้ถึงแก่กรรมด้วยวัย
๘๐ ปี ที่เมืองมอนทรีออล
(Montreal)
..........
รูปที่
๒ ใช้ทางเข้าทางเดียวกับสถานีผาเสด็จ
แต่แยกออกขวา
เริ่มต้นทางเป็นถนนหินคลุกเลียบรั้วโรงงาน
แต่พอเจอช่วงที่เป็นถนนคอนกรีต
ดันมาเป็นทางร่วมกับทางรถไฟเสียอีก
(แยกเข้าโรงงาน)
มองไม่เห็นด้วยว่าข้างหน้ามีรถไฟมาหรือเปล่า
รูปที่
๔ ในที่สุดก็มาถึงสถานีหินลับจนได้
ตัวสถานีจะอยู่ทางฝั่งด้านทิศเหนือของทางรถไฟ
จากรูปที่ ๓
วิ่งมาสักพักก็จะมีทางให้ข้ามทางรถไฟกลับมาฝั่งด้านทิศเหนือที่เป็นถนนคอนกรีตให้วิ่งได้สบายหน่อย
อันที่จริงทางเข้าสถานีรถไฟที่เป็นถนนลาดยางอย่างดีต้องเข้าทาง
อ.
มวกเหล็ก
ใช้เส้นทางผ่านหน้าวิทยาลัยมิสชัน
(มวกเหล็ก)
รูปที่
๕ บรรยากาศบนชานชาลาสถานี
มองกลับไปยังเส้นทางที่มาจากสถานีผาเสด็จ
สถานีนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นชุมทางให้กับรถไฟบรรทุกสินค้าให้กับโรงงานปูนซิเมนต์ที่อยู่ใกล้
ๆ (ที่ขับรถผ่านมาในรูปที่
๒ และ ๓)
รูปที่
๖ มองกลับไปยังทิศทางที่มุ่งหน้าไปมวกเหล็ก
รูปที่
๗ อาคารไม้เก่า ๆ หลังหนึ่งของสถานี
อาคารรูปทรงนี้เห็นมานานตั้งแต่จำความได้ตอนเด็ก
ๆ เวลาเดินทางด้วยรถไฟ
นับว่ามีแต่จะหายไปเรื่อย
ๆ
รูปที่
๘ อาคารสถานี
ที่นี้เอาป้ายสถานีมาไว้ที่เหนือที่นั่งพักรอของผู้โดยสาร
(ที่ไม่รู้ว่ามีกี่คนต่อวัน)
รูปที่
๑๒ ด้านหลังอาคารสถานี
สยามประกาศสงครามกับเยอรมันในวันที่
๒๒ กรกฎาคม ค.ศ.
๑๙๑๗
ทำให้ชาวเยอรมันทุกคนที่อยู่ในสยามถูกควบคุมตัวในฐานะเชลยศึก
ไวเลอร์ก็เช่นเดียวกันที่ต้องพ้นจากตำแหน่งและถูกควบคุมไว้ในค่ายเชลยศึก
ในเดือนสิงหาคมเขาล้มป่วยและได้เข้าพักรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นดีซ่านและมีเนื้องอกที่ตับ
ไวเลอร์ได้รับอนุญาตให้ส่งตัวกลับยุโรป
และในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นเองเขาก็ได้เดินทางออกจากสยาม
เพื่อที่จะมุ่งหน้าไปยัง
..........
ก่อนจะถึงอ่าวเดอลาโกอา
(Delago
Bai)
๑๖
มกราคม ๑๙๑๘
ผมไม่มีเรี่ยวแรงแม้แต่จะลุกขึ้นจากเก้าอี้
แขนข้างซ้ายรู้สึกชาไปหมดแถมยังอาเจียนตลอดเวลาและมีอาการแทรกซ้อนอีกด้วย
ถ้ามันมิได้มีอะไรดีขึ้นล่ะก็
ผมขออำนวยพรให้เธอภรรยาผู้น่ารักแสนดีและลูก
ๆ จงมีแต่ความสุข
จวบจนวาระสุดท้ายจาก
ลูอิส
ผู้ซื่อสัตย์ของเธอ
ข้อความต่อไปนี้คัดมาจากสมุดบันทึกเหตุการณ์ประจำวันของเรือกลไฟเดนมาร์กชื่อ
"มักดาลา"
(Magdala) กัปตัน
ฮ.
เฮลด์ริงค์
(H.
Heldring) บันทึกว่า
วันพุธที่
๑๖ มกราคม ค.ศ.
๑๙๑๘
ในแม่น้ำที่ประเทศโมซามบิค
(Mozambique)
เรือกำลังแล่นออกจากสิงคโปร์ผ่านปีนัง
(Penang)
และซาบัง
(Sabang)
เพื่อไปยังโลเรนโซ
มาร์เครส (Lorenzo
Marquez) ช่วงสองวันสุดท้ายอาการคุณไวเลอร์ทรุดหนัก
เขาถึงแก่กรรมในตอนเย็น
เวลา ๖.๕๐
น.
วันพฤหัสบดีที่
๑๗ มกราคม ค.ศ.
๑๙๑๘
เวลา ๑๑.๐๐
น ตอนเช้า เราได้ทำพิธีฝังศพผู้ตายในทะเลที่ละติจูด
๑๕ องศาใต้ และลองจิจูดที่
๔๘ องศาตะวันออก
ข้อความข้างต้นผมนำมาจากบันทึกในช่วงสุดท้ายของหนังสือ
"กำเนิดการรถไฟในประเทศไทย"
ตำแหน่งพิกัดที่ใช้ฝังร่างไวเลอร์นี้เมื่อตรวจสอบกับแผนที่
(google
map) แล้วพบว่าเป็นพื้นที่บนเกาะมาดากัสการ์
ไม่ใช่ในทะเล
แต่เนื่องจากเขาเสียชีวิตบนเรือในระหว่างการเดินทาง
จึงน่าเชื่อว่าร่างของเขาคงถูกหย่อนลงท้องทะเลจริง
แต่ที่แปลกใจก็คือกัปตันเดินเรือไม่น่าจะบันทึกตำแหน่งผิดพลาดแบบบันทึกตำแหน่งบนบกเป็นตำแหน่งในทะเล
หรือตำแหน่งในทะเลเป็นตำแหน่งบนบก
บ่ายวันเสาร์ที่ผ่านมา
หลังจากออกจากสถานีผาเสด็จ
(ใน
Memoir
ฉบับเมื่อวาน)
ผมก็ขับรถต่อไปยังสถานีหินลับตามป้ายบอกตรงทางแยกไปผาเสด็จ
เส้นทางไปสถานีหินลับเส้นนี้เป็นเส้นทางหินคลุกอยู่ทางด้านหลังโรงงานปูนซิเมนต์โดยอยู่ฝั่งด้านทิศใต้ของเส้นทางรถไฟ
บางช่วงเห็นร่องรอยโดนน้ำเซาะจนรถเล็กเกือบจะผ่านไม่ได้
พอเข้าไปถึงแนวถนนที่วิ่งขนานทางรถไฟก็ดีขึ้นหน่อย
ถนนนี้ไปตัดกับทางรถไฟเข้าโรงงานปูนซิเมนต์
(รูปที่
๒ และ ๓)
วิ่งต่อไปเรื่อย
ๆ จะพบจุดข้ามที่สามารถข้ามทางรถไฟไปวิ่งทางฝั่งทิศเหนือของทางรถไฟได้
จะกลายเป็นถนนคอนกรีตและลาดยาง
สถานีรถไฟหินลับอยู่ทางฝั่งทิศเหนือนี้
ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
สถานีหินลับมักจะถูกกล่าวถึงในเรื่องกบฏบวรเดช
ที่มีการสู้รบกันระหว่างทหารหัวเมืองและทหารรัฐบาลจนมีนายทหารเสียชีวิตที่บริเวณสถานีนี้
ผมคุยกับเจ้าหน้าที่รถไฟที่นั่นเขาก็เล่าถึงเรื่องนี้
เขาเองก็คิดว่าที่ผมมาที่นี้ก็เพราะสนใจเรื่องกบฏบวรเดช
แต่ผมบอกว่าที่ผมมาที่นี้ก็เพราะอยากมาดูว่าสถานที่ทำงานในตอนนั้นของวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ
ลูอิส ไวเลอร์ ปัจจุบันมีสภาพเป็นอย่างไร
รูปที่
๑๓
ปิดท้ายการเดินทางด้วยรูปคู่ระหว่างหนังสือบันทึกความทรงจำของไวเลอร์กับป้ายสถานีหินลับ
สถานที่ที่เขามาใช้ชีวิตอยู่ช่วงหนึ่งเพื่อวางรากฐานการรถไฟให้กับประเทศสยาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น