การเรียกชื่อไอโซเมอร์ในรูปแบบ
ortho
meta และ
para
ยังใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในวงการ
แต่ในสถาบันการศึกษากลับมีแนวโน้มที่จะไม่สอนให้รู้จักการเรียกชื่อแบบดังกล่าว
กลับให้เรียกเป็น 1,2-
1,3- และ
1,4-
แทน
ยังดีที่ตำราต่างประเทศในระดับสถาบันอุดมศึกษายังคงกล่าวถึงการเรียกชื่อแบบนี้อยู่
ในขณะที่ดูเหมือนว่าตำราในระดับชั้นมัธยมในบ้านเราจะตัดออกไปแล้ว
รูปที่
๑ โครงสร้างโมเลกุล
(จากซ้ายไปขวา)
เบนซีน
(benzene),
ortho-xylene (1,2-dimethyl benzene), meta-xylene (1,3-dimethyl
benzene) และ
para-xylene
(1,4-dimethyl bezene)
รูปที่
๒ก และ ๒ข เป็นกราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด
(Absorbance)
ของเบนซีนและไซลีนทั้ง
๓ ไอโซเมอร์
ทั้งเบนซีนและไซลีนมีโหมดการสั่นของพันธะ
C-H
แต่ไซลีนจะมีการสั่นของกลุ่ม
-CH3
เพิ่มเติมเข้ามา
นอกจากนี้การที่อะตอม H
ของวงแหวนเบนซีนถูกแทนที่ด้วยหมู่
-CH3
ถึง
๒ หมู่
จึงทำให้เกิดรูปแบบการสั่นที่เปลี่ยนไปตามตำแหน่งการเกาะของหมู่
-CH3
ทั้งสองหมู่นั้น
รูปที่
๓ก-๓ค
เป็นกราฟ (แกนตั้งเป็น
%Transmittance)
แสดงตำแหน่งการดูดกลื่นคลื่นแสงอินฟราเรดของการสั่นรูปแบบต่าง
ๆ ของเบนซีน
ที่นำกราฟรูปนี้มาแสดงด้วยก็เพื่อจะได้เห็นว่าพีคของเบนซีนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของสารประกอบอะโรมาติกนั้นอยู่ตรงบริเวณไหน
ส่วนกราฟในรูปที่ ๔-๖
ก็เป็นกราฟแสดงตำแหน่งการดูดกลื่นคลื่นแสงอินฟราเรดของการสั่นรูปแบบต่าง
ๆ ของไซลีนทั้ง ๓ ไอโซเมอร์
กราฟในรูปที่ ๓-๖
นี้นำมาจากคู่มือการแปลผลของ
library
ที่มากับซอร์ฟแวร์ของเครื่อง
FT-IR
Nicolet
รูปที่
๒ก เปรียบเทียบกราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
(บน)
benzene และ
(ล่าง)
o-xylene บริเวณลูกศรสีแดงชี้คือการสั่นของพันธะ
C-H
ที่มีความแรงและแตกต่างกันอย่างชัดเจนตามตำแหน่งการเกาะของหมู่
-CH3
ในขณะที่บริเวณลูกศรน้ำเงินแม้ว่าจะแสดงคุณลักษณะที่เปลี่ยนไปตามไอโซเมอร์ทั้งสามรูปแบบ
แต่พีคก็มีขนาดเล็กและไม่ค่อยชัดเจน
รูปที่
๒ข เปรียบเทียบกราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
(บน)
m-xylene และ
(ล่าง)
p-xylene บริเวณลูกศรสีแดงชี้คือการสั่นของพันธะ
C-H
ที่มีความแรงและแตกต่างกันอย่างชัดเจนตามตำแหน่งการเกาะของหมู่
-CH3
ในขณะที่บริเวณลูกศรน้ำเงินแม้ว่าจะแสดงคุณลักษณะที่เปลี่ยนไปตามไอโซเมอร์ทั้งสามรูปแบบ
แต่พีคก็มีขนาดเล็กและไม่ค่อยชัดเจน
รูปที่
๓ก กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
benzene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของพันธะ
C-H
ของวงแหวน
รูปที่
๓ข กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
benzene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของการสั่นแบบยืด-หดของพันธะคู่
C=C
ของวงแหวน
รูปที่
๓ค กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
benzene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของการการบิดตัวของโครงสร้างวงแหวน
รูปที่
๔ก กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
o-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของพันธะ
C-H
ของวงแหวน
รูปที่
๔ข กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
o-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของการสั่งแบบยืด-หดของหมู่
aliphatic
-CH, -CH2 และ
-CH3
รูปที่
๔ค กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
o-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงอันเกิดจากการแทนที่ในตำแหน่ง
ortho
ของวงแหวนเบนซีน
รูปที่
๔ง กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
o-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของการสั่นแบบยืด-หดของพันธะคู่
C=C
ของวงแหวน
รูปที่
๔จ กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
o-xylene
ตำแหน่งบริเวณนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงที่แสดงว่าอะตอม
C
ของวงแหวนอะโรมาติกนั้นมีพันธะ
C-H
จำนวน
4
พันธะอยู่เรียงกัน
รูปที่
๕ก กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
m-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของพันธะ
C-H
ของวงแหวน
รูปที่
๕ข กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
m-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของการสั่งแบบยืด-หดของหมู่
aliphatic
-CH, -CH2 และ
-CH3
รูปที่
๕ค กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
m-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงอันเกิดจากการแทนที่ในตำแหน่ง
meta
ของวงแหวนเบนซีน
รูปที่
๕ง กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
m-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของการสั่นแบบยืด-หดของพันธะคู่
C=C
ของวงแหวน
รูปที่
๕จ กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
m-xylene
ตำแหน่งบริเวณนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงที่แสดงว่ามีพันธะ
C-H
ที่อยู่โดดเดียว
และพันธะ C-H
จำนวน
3
พันธะอยู่เรียงกัน
รูปที่
๖ก กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
p-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของพันธะ
C-H
ของวงแหวน
รูปที่
๖ข กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
p-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของการสั่งแบบยืด-หดของหมู่
aliphatic
-CH, -CH2 และ
-CH3
รูปที่
๖ค กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
p-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงอันเกิดจากการแทนที่ในตำแหน่ง
para
ของวงแหวนเบนซีน
รูปที่
๖ง กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
p-xylene
ตำแหน่งนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงของการสั่นแบบยืด-หดของพันธะคู่
C=C
ของวงแหวน
รูปที่
๖จ กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
p-xylene
ตำแหน่งบริเวณนี้เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงที่แสดงว่ามีพันธะ
C-H
จำนวน
2
พันธะอยู่เคียงข้างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น