เมื่อวันที่
๑๙ มกราคมที่ผ่านมา
ผมได้รับอีเมล์ฉบับหนึ่งจากทางหน่วยงาน
เกี่ยวกับเอกสารรับรองการหักภาษี
ณ ที่จ่าย เนื้อหาเป็นอย่างไร
ลองอ่านข้างล่างดูเองเองก่อนนะครับ
พักหลัง
ๆ
มานี้ทางหน่วยงานจะจัดส่งใบแสดงรายการเงินเดือนและรายการที่หักแต่ละเดือนมาให้ทางอีเมล์
โดยใช้หัวข้อว่าเป็น
"ใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายบุคลากร"
ซึ่งอีเมล์ที่ส่งมาก็มีแต่ข้อความซ้ำ
ๆ เดิมที่บอกว่าวิธีเปิดอ่านไฟล์
pdf
ที่แนบมา
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปรกติที่ใครต่อใครเมื่อได้รับอีเมล์ดังกล่าวก็จะทำกันเพียงแค่เปิดไฟล์
pdf
ที่แนบมาหรือบันทึกเก็บเอาไว้เป็นหลักฐาน
เอกสารใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายของเดือนธันวาคมที่ทางหน่วยงานส่งมาให้เมื่อวันที่
๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๖ ก็ยังจัดส่ง
"ใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายบุคลากร"
มาในชื่อเรื่องอีเมล์
"ใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายบุคลากร"
เช่นเดิม
แต่ครั้งนี้พิเศษหน่อยตรงที่ข้อความในอีเมล์วันดังกล่าวมีประกาศพิเศษที่เป็น
"คนละเรื่องกัน"
แนบมาด้วย
ที่แสดงไว้ข้างล่าง
ถ้าคุณได้รับอีเมล์หัวข้อเดิม
ๆ ที่มีเนื้อหาแบบเดิม
อยู่เป็นประจำไม่รู้กี่สิบฉบับ
คุณจะอ่านมันละเอียดทุกฉบับไหมครับ
ทำงานมากว่า
๒๐ ปี ตอนต้นปีของทุกปีจะมี
"เอกสารรับรองการหักภาษี
ณ ที่จ่าย"
ส่งมาให้จากทางมหาวิทยาลัย
เพื่อใช้ยื่นแสดงแบบรายการเสียภาษี
หรือไม่ก็ต้องเก็บเอาไว้ให้สรรพากรตรวจถ้ามีการร้องขอ
มาปีนี้รอมาจนถึงวันนี้คือพ้นเดือนกุมภาพันธ์แล้วก็ยังไม่ได้รับซะที
ก็เลยโทรไปถามเขาตามหมายเลขโทรศัพท์ที่เขาให้มาในอีเมล์ในรูปแรก
คำตอบที่เขาตอบกลับมาก็คือ
"ให้ใช้"
ไฟล์
pdf
ที่ส่งมากับอีเมล์ที่บอกว่าเป็นการ
"ตรวจสอบ"
ความถูกต้อง
เท่าที่ผมได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานหลายคน
ต่างก็ประสบกับปัญหาเดียวกัน
คือ "รอ"
อยู่ว่าเมื่อใดที่เขาจะส่งฉบับที่
"ถูกต้อง"
ซึ่งหมายถึงเป็นฉบับที่ถูกส่งไปให้
"ตรวจสอบ"
และได้รับการแก้ไขหรือยืนยันความถูกต้องกลับมาแล้ว
จากนั้นจึงค่อยส่งออกไปใหม่โดยยืนยันว่าให้ใช้ไฟล์เอกสารฉบับล่าสุดได้
มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่รู้ว่าให้ใช้ไฟล์
pdf
ที่ส่งมากับอีเมล์ที่บอกว่าเป็นการ
"ตรวจสอบ"
ความถูกต้อง
และเป็นการรู้กันแบบ
"ปากต่อปาก"
ตรงนี้ผมเห็นว่าหน่วยงานที่ดำเนินงานดังกล่าวทำงานบกพร่องอยู่
๒ ประเด็นหลักที่ควรต้องได้รับการแก้ไข
คือ
ประเด็นแรก
หัวข้ออีเมล์นั้นควรสื่อถึง
"ทุกเรื่อง"
ที่ส่งให้พิจารณาหรือเพื่อทราบ
ในกรณีนี้มีการส่งอีเมล์เนื้อหาเดิม
ๆ กับหัวข้อเดิม ๆ ให้กับผู้รับเดิม
ๆ เป็นประจำ แล้วอยู่มาวันหนึ่งก็มีการแทรกเนื้อหา
"เพิ่มเติมพิเศษ"
เข้าไปโดยไม่มีการบอกกล่าวในหัวข้ออีเมล์
แต่จะว่าไปแล้ววิธีการที่ดีกว่าก็คือการ
"แยกออกมาเป็นอีเมล์ฉบับต่างหาก" เพราะบางทีชื่ออีเมล์ที่ยาวนั้น
บนหน้าจอมันแสดงเฉพาะข้อความส่วนแรกเท่านั้น
มันไม่แสดงข้อความส่วนท้าย
(เหมือนชื่อไฟล์นั่นแหละครับ
คุณตั้งชื่อยาว ๆ ได้
แต่บนหน้าจอคุณก็คงตั้งส่วนแสดงชื่อไฟล์ให้มีความกว้างแค่ระดับหนึ่งเท่านั้นเอง
ประเด็นที่สอง
เอกสารที่ส่งให้เพื่อ
"ตรวจสอบ"
นั้น
ผู้รับเองไม่สามารถทราบได้ว่ามีการส่งไปให้ใครตรวจสอบกี่คน
การที่ผู้รับคนหนึ่งเห็นว่าเอกสารนั้นถูกต้อง
แต่ผู้รับคนอื่นอาจเห็นว่าต้องแก้ไขก็ได้
ดังนั้นจึงเป็น "หน้าที่ของผู้ส่ง"
ที่ต้องรวบรวมความเห็นจากผู้รับคนต่าง
ๆ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
(ถ้ามี)
จากนั้นจึงค่อยส่งเอกสารที่ได้รับการ
"ยืนยัน"
ว่าถูกต้องแล้วออกไปใหม่
เพื่อที่จะได้นำเอกสารฉบับที่ได้รับการยืนยันความถูกต้องแล้วไปใช้
และก็เป็นเรื่องปรกติที่ถือปฏิบัติการในหน่วยงานราชการทั่วไปคือเอกสาร
"เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง"
นั้น
เป็นเอกสารที่ยังไม่เป็นทางการ
ไม่ควรนำไปใช้
โชคยังดีที่หน่วยงานอื่นข้างนอกเขายังเขียนจดหมายราชการภาษาไทยได้ดีอยู่
แต่ของหน่วยงานผมเนี่ย
แม้แต่จดหมายนำหรือข้อความเกริ่นนำก็ยังไม่มี
กด forward
ส่งต่อมาเรื่อย
ๆ แล้วให้เปิดอ่านเอาเอง
คนส่งก็ถือว่าทำหน้าที่แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น