การอ่านเอกสารทางประวัติศาสตร์นั้นจำเป็นที่ต้องเริ่มด้วยการอ่าน
"ผู้เขียน"
ก่อน
เพราะจะทำให้ผู้อ่านสามารถประเมินได้ว่าเนื้อความในเอกสารนั้นมีอคติหรือตรงไปตรงมาแค่ไหน
ตัวอย่างประเด็นที่มักจะมีการหยิบยกมาใช้ในการพิจารณาตัวผู้เขียนเพื่อใช้ประเมินความน่าเชื่อถือของบันทึกนั้นได้แก่
(ก)
ตัวผู้เขียนนั้นเป็นผู้ที่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ที่บันทึกเอาไว้หรือไม่
(ข)
ตัวผู้เขียนนั้นไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น
แต่เป็นผู้ที่มีชีวิตร่วมสมัยอยู่ในเหตุการณ์นั้น
(กล่าวคือได้รับข่าวสารข้อมูลจากทางด้านอื่น
เช่นเรื่องเล่าโดยปากต่อปาก
หรือจากข่าวสาร เป็นต้น)
(ค)
ตัวผู้เขียนนั้นไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น
ไม่ได้เป็นผู้ที่มีชีวิตร่วมสมัยอยู่ในเหตุการณ์นั้น
แต่ได้รับฟังเรื่องจากจากบุคคลที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยในเหตุการณ์ที่เกิด
(ง)
ตัวผู้เขียนนั้นไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น
ไม่ได้เป็นผู้ที่มีชีวิตร่วมสมัยอยู่ในเหตุการณ์นั้น
แต่ได้รับฟังเรื่องจากจากบุคคลที่บอกว่าได้รับฟังมาจากบุคคลอื่น
ที่ได้รับฟังจากบุคคลอื่นอีกที
(ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่มีชีวิตร่วมสมัยอยู่ในเหตุการณ์นั้น)
(จ)
ตัวผู้เขียนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุการณ์ที่เกิดนั้นหรือไม่
ถ้าใช่ ตัวผู้เขียนนั้นอยู่ฝ่ายไหน
บันทึกด้วยผู้เขียนในข้อ
(ก)
จัดได้ว่าเป็น
"หลักฐานชั้นต้น"
ที่สำคัญ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมนำเอาประเด็นในข้อ
(จ)
มาประกอบการพิจารณาด้วย
เพราะมันช่วยให้ประเมินได้ว่าข้อความที่บันทึกเอาไว้นั้นแฝงไว้ด้วยอคติหรือมีความตรงไปตรงมาแค่ไหน
และในกรณีที่ผู้เขียนเป็นชาวต่างประเทศ
ก็ยังต้องมีการพิจารณาเรื่องความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมด้วย
เพราะสิ่งที่เป็นที่ยอมรับในสังคมหนึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ยอมรับในอีกสังคมหนึ่ง
การอ่านบันทึกตรงนี้จึงควรต้องพิจารณาว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ผู้เขียนประสบมา
และสิ่งใดเป็นสิ่งที่เป็นความคิดเห็นของเขา
เรื่องราวของการปฏิวัติเมื่อเดือนมิถุนายน
พ.ศ.
๒๔๗๕
มักจะมีการหยิบยกมาอ้างกันอยู่เสมอ
แต่สิ่งหนึ่งที่มักจะขาดหายไป
แทบจะไม่ถูกกล่าวถึงเห็นจะได้แก่รายละเอียดของสาเหตุต่าง
ๆ ที่นำไปสู่การปฏิวัติครั้งนั้น
และจะว่าไปแล้วก่อนหน้า
๒๐ ปี (เดือนมกราคม
พ.ศ.
๒๔๕๕
นับปีแบบเดิมที่ขึ้นปีใหม่เดือนเมษายน)
ก็มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้วครั้งหนึ่ง
แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
กลายเป็นสิ่งที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า
"กบฏ
ร.ศ.
๑๓๐"
กรณีของ
"กบฏ
ร.ศ.
๑๓๐"
เกิดขึ้นหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ตุลาคม
๒๔๕๓)
เพียงแค่ไม่ถึง
๒ ปี ตรงนี้ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าการบริหารบ้านเมืองก่อนหน้านั้น
(ซึ่งน่าจะครอบคลุมช่วงตอนท้ายของสมัยรัชกาลที่
๕ ด้วย)
มีปัญหาอย่างไร
จึงนำมาซึ่งความคิดที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากความแค้นส่วนตัว
ต้องมีผู้เข้าร่วมกระทำเป็นจำนวนมาก
น่าจะบ่งบอกให้เห็นถึงความไม่พอใจที่สะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
และเกิดขึ้นกับคนจำนวนไม่น้อย
จนกระทั่งถึงจุดที่ผู้ได้รับผลกระทบนั้นจำนวนหนึ่งทนไม่ได้
จึงต้องลุกขึ้นมาต่อสู้
การตีความเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ในหลาย
ๆ เรื่องนั้นไม่สามารถตีความได้โดยตรง
อาจเป็นเพราะไม่มีการบันทึกข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร
หรือข้อมูลที่มีการบันทึกเอาไว้นั้นสูญหายหรือถูกทำลาย
หรือถูกบิดเบือน
แต่เราก็อาจใช้สภาพแวดล้อมของเหตุการณ์หรือสภาพสังคมในขณะนั้นเข้ามาช่วยในการตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
หนังสือเรื่อง
"บันทึกของฑูตญี่ปุ่นผู้เห็นเหตุการณ์ปฏิวัติ
๒๔๗๕ การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม"
เป็นหนังสือที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเรื่อง
"การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม"
ที่เขียนโดย
ยาสุกิ ยาตาเบ
หนังสือนี้จัดพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาญี่ปุ่นในปีพ.ศ.
๒๔๗๙
ก่อนจะมีการพิมพ์ซ้ำอีก ๒
ครั้ง (เป็นภาษาญี่ปุ่น)
ในปีพ.ศ.
๒๔๘๔
และ ๒๕๔๕ ยาสุกิ ยาตาเบ
ผู้นี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอัครราชฑูตผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศสยาม
และได้เดินทางมายังกรุงเทพในเดือนกรกฎาคม
ค.ศ.
๑๙๒๘
(พ.ศ.
๒๔๗๑)
ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งในเดือนมกราคม
ค.ศ.
๑๙๓๖
(พ.ศ.
๒๔๗๘
-
นับปีพ.ศ.
แบบเก่าที่ขึ้นปีใหม่ในเดือนเมษายน)
ดังนั้นด้วยช่วงระยะเวลากว่า
๗ ปีที่ประจำอยู่ในประเทศสยาม
โดยเฉพาะการได้เข้ามาประจำเป็นเวลาประมาณ
๔ ปีแรกก่อนเกิดการปฏิวัติ
ทำให้คาดได้ว่าเขาควรมีความรู้ความเข้าใจเหตุการณ์ทั่วไปในประเทศสยามในระดับที่ดีพอสมควร
และในฐานะที่ผู้บันทึกนั้นไม่ได้เป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเหตุการณ์ดังกล่าว
บันทึกฉบับนี้จึงอาจจัดได้ว่าเป็นเอกสารชั้นต้นที่สำคัญฉบับหนึ่งในการทำความเข้าใจการเมืองการปกครองของไทยก่อนการปฏิวัติ
พ.ศ.
๒๔๗๕
ที่น่าเสียดายคือหนังสือเล่มนี้กว่าจะมีการแปลเป็นภาษาไทยก็ล่วงมาจนถึงพ.ศ.
๒๕๔๗
หรือ ๖๘ ปีหลังการตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาญี่ปุ่น
และก็ทำเป็นเพียงแค่เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ
ก่อนที่จะมีการตีพิมพ์เป็นหนังสือครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์มติชนในปีพ.ศ.
๒๕๕๐
(เล่มที่ผมมีเป็นฉบับที่ตีพิมพ์ครั้งแรก
เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.
๒๕๕๐
แปลเป็นภาษาไทยโดย เออิจิ
มูราซิมา และ นครินทร์
เมฆไตรรัตน์)
เรื่องราวในหนังสือนั้นเป็นอย่างไรนะคงจะไม่ขอเล่า
ถ้าใครสนใจก็ขอแนะนำให้ไปซื้อมาอ่านหรือสะสมเอาไว้ก็ดีครับ
อาจทำให้เห็นภาพว่าทำไม
ในตอนท้ายของบทที่ ๑
สถานการณ์ก่อนการปฏิวัติ
ในหน้า ๑๖ ในหัวข้อเรื่อง
"บรรยากาศที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงนั้น"
ยาสุกิ
ยาตาเบ ได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวเอาไว้ว่า
"
.....โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ประชาชนทั่วไปก็ไม่ได้รับการฝึกฝนทางด้านการเมือง
ไม่มีอิสระภาพในการพูด
ฉะนั้นการอาศัยวิธีการปฏิรูป
คือทำตามกระบวนการกฎหมายด้วยวิธีการสันติ
โดยการปลูกฝังที่จะให้มีการแสดงประชามติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปนั้น
ผู้เขียนมีความเห็นว่า
รอไปอีกหนึ่งร้อยปีก็ไม่มีวันสำเร็จ
เพราะฉะนั้น
จึงไม่มีวิธีการใดนอกจากการลุกขึ้นกระทำการโดยตรงและขับไล่บรรดาเจ้านายอนุรักษนิยมสุดขั้วให้ออกจากตำแหน่ง
....."
และในหน้าสุดท้ายของบทที่
๑ (หน้า
๑๙)
ยาสุกิ
ยาตาเบ
ก็ได้ทิ้งท้ายไว้ด้วยข้อความที่สแกนมาให้ดูในรูปข้างล่าง
อยากจะแนะนำให้ใครที่สนใจประวัติศาสตร์การเมืองไทยช่วงก่อนการปฏิวัติ
พ.ศ.
๒๔๗๕
หาหนังสือเล่มนี้มาอ่าน
ส่วนเมื่ออ่านแล้วจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความเห็นดังกล่าวก็คงเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่คงต้องมีการนำมาถกเถียงทางวิชาการกันต่อไป
ในยุคสมัยหนึ่ง
หนังสือที่ระลึกงานศพนั้นไม่ได้เต็มไปด้วยคำกล่าวไว้อาลัยผู้ตาย
แต่อาจเป็นเรื่องราวความรู้ที่พิมพ์แจกเป็นวิทยาทานเผยแพร่
(ยุคสมัยที่การพิมพ์หนังสือยังไม่แพร่หลายในปัจจุบัน)
หรือเป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของผู้เสียชีวิตที่ได้บันทึกเอาไว้ให้คนรุ่นหลังรับทราบ
ประวัติของคนธรรมดา
ๆ คนหนึ่งนั้น
เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงมองไม่เห็นว่ามันมีความสำคัญอย่างไร
แต่ถ้ามองในแง่มุมที่ว่าเป็นการบันทึกเรื่องราวการดำเนินชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงานของคนทั่วไป
ที่คงไม่มีหน่วยงานราชการหน่วยไหนคิดจะบันทึกเอาไว้
และถ้าเป็นของผู้ที่ต้องทำงานกับชาวบ้านธรรมดา
ข้าราชการชั้นผู้น้อย
ไปจนถึงชนชั้นปกครอง
เราก็อาจได้เห็นเรื่องราวอีกแง่มุมหนึ่งที่อาจมีการพยายามปิดซ่อนเอาไว้ในประวัติศาสตร์หลัก
"เล่าให้ลูกฟัง"
เป็นบันทึกที่เขียนโดย
พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี
(สรวง
ศรีเพ็ญ)
กระทรวงมหาดไทยพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพท่านผู้เขียน
ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส
เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ พฤศิกายน
พ.ศ.
๒๕๐๒
(เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่สอง)
พระยาสัจจาฯ
เขียนไว้ในคำนำ โดยลงวันที่
๒๘ ธันวามคม ๒๔๙๘
แสดงว่าเล่มการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกน่าจะอยู่ราว
ๆ นั้น
หนังสือเล่มนี้สำนักพิมพ์มติชนนำมาจัดพิมพ์จำหน่ายใหม่ครั้งแรกในเดือนมีนาคม
พ.ศ.
๒๕๕๗
และจัดพิมพ์ครั้งที่สองในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน
นอกจากหนังสือเล่มนี้แล้ว
อีกสิ่งหนึ่งที่มีชื่อพระยาสัจจาฯ
ปรากฏคือ "ถนนพระยาสัจจา"
ที่เป็นถนนหลักด้านเลียบชายฝั่งทะเลของตัวอำเภอเมือง
ชลบุรี
การเมืองสักเมืองจะนำชื่อใครสักคนมาตั้งเป็นชื่อถนนแสดงว่าเป็นการระลึกถึงคุณงานความดีและคุณประโยชน์ที่ผู้นั้นได้กระทำไว้ให้กับเมืองนั้น
พระยาสัจจาฯ
ท่านเกิดในเดือนมกราคม พ.ศ.
๒๔๒๗
(น่าจะเป็นการนับปีพ.ศ.
แบบเก่า)
ในสมัยรัชกาลที่
๕ เข้ารับราชาการตั้งแต่อายุ
๑๕ ปีจนถึง ๗๐ ปี เรียกได้ว่าเป็นคน
๕ แผ่นดิน
ทำงานต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด
เริ่มงานตั้งแต่เป็นเสมียนจนสอบได้เป็นเนติบัณฑิต
มีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่กับชาวบ้านในท้องถิ่นต่างจังหวัด
(ในสถานที่ที่แม้แต่ข้าราชการยังไม่มีใครอยากไป)
ไปจนถึงการทำงานร่วมกับชนชั้นปกครองชั้นสูง
ผมเคยอ่านบันทึกนี้ตอนที่นิตยสารศิลปวัฒนธรรมคัดเลือกบางตอนนำมาตีพิมพ์
พอเห็นมีการตีพิมพ์ใหม่เป็นเล่มก็อดไม่ได้ที่จะซื้อมาเก็บเอาไว้
บันทึกของพระยาสัจจาฯ
ทำให้เห็นว่าการทำงานของข้าราชการต่างจังหวัดในสมัยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
ชาวบ้านต่างจังหวัดนั้นดำเนินชีวิตอยู่กันอย่างไร
แตกต่างหรือเหมือนกับชีวิตในกรุงเทพมากน้อยแค่ไหน
เรื่องเหล่านี้นอกจากบันทึกของข้าราชการระดับสูงเพียงไม่กี่รายที่เขียนเอาไว้
ก็เห็นจะมีแต่บันทึกของชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย
(จะโดยการว่าจ้างของรัฐบาลหรือของบริษัทต่างชาติ)
หรือเป็นนักเดินทางที่เดินทางผ่านมาทางนี้
เท่านั้นที่เขียนบันทึกเอาไว้
สำนักพิมพ์มติชนถึงกับให้คำจำกัดความเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ว่าเป็น
"ภาพสะท้อนของชีวิตข้าราชการกระทรวงมหาดไทย
ในสมัยใกล้อวสานของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์"
ถึงแม้ว่าจะเขียนมาจากมุมมองที่แตกต่างไปจาก
ยาสุกิ ยาตาเบ
แต่บันทึกที่แสดงความอัดอั้นตันใจในการทำราชการของพระยาสัจจาฯ
ก็ได้ให้ภาพเหตุการณ์ในทิศทางเดียวกัน
ในตอนท้ายของหน้า ๒๔๖
ของหนังสือ "เล่าให้ลูกฟัง"
ที่สำนักพิมพ์มติชนจัดพิมพ์ครั้งที่
๒ นั้น
คาดเป็นข้อความที่บอกเล่าเรื่องราวก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นาน
และดูเหมือนจะเป็นการระบายความอัดอั้นตันใจที่รุนแรงเสียด้วย
ถึงขั้นกล่าวว่า
"ถ้าบ้านเมืองเราเป็นอย่างนี้ไม่ช้าก็ฉิบหาย"
ลองอ่านดูในรูปข้างล่างก็ได้ครับ
การเหมารวมเอาการกระทำของกลุ่มบุคคลใดก็ตามที่เห็นในปัจจุบัน
ว่าในอดีตไม่ว่าจะย้อนไปนานแค่ไหนคนกลุ่มนั้นก็มีพฤติกรรมเป็นเช่นนั้น
หรือในทางกลับกันก็ตาม
ส่วนตัวเห็นว่าเป็นเรื่องที่อันตราย
โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้มีการพิจารณาบริบทของสังคมในช่วงเวลานั้นประกอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น