รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับพุทธศักราช
๒๕๔๐
ได้วางรากฐานที่สำคัญในการบริหารจัดการบ้านเมืองไว้หลายเรื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐได้โดยตรง
สถาบันสำคัญสถาบันหนึ่งที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือการให้มีการจัดตั้ง
"ศาลปกครอง"
ศาลปกครองทำงานด้วยระบบ
"ไต่สวน"
คือการให้ศาลเป็นผู้มีอำนาจในการเรียกหาเอกสารต่าง
ๆ จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับคดี
การทำงานตรงนี้แตกต่างจากศาลยุติธรรม
(เช่น
ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลเฉพาะทางต่าง
ๆ เช่น ศาลแรงงาน ฯลฯ)
ที่ใช้ระบบ
"กล่าวหา"
ที่ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ไปหาหลักฐานมาเอง
แต่วิธีการที่ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ไปหาหลักฐานมาเองนั้นใช้ไม่ได้ในกรณีที่ผู้ถูกฟ้องร้องนั้นเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจทางปกครองอยู่ในมือ
จึงจำเป็นต้องใช้ระบบไต่สวนที่กำหนดให้ศาลเป็นผู้มีอำนาจเรียกดูพยานหลักฐานต่าง
ๆ (ถ้ามีแต่ไม่ยอมให้
ก็จะมีความผิด)
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นก็ได้มีการออกกฎหมาย
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
พ.ศ.
๒๕๔๐
ที่กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
โดยมีปรัญาพื้นฐานข้อหนึ่งว่า
"เปิดเผยเป็นหลัก
ปกปิดเป็นข้อยกเว้น"
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าใครจะขอดูข้อมูลอะไรก็ได้ทุกอย่าง
และก็ไม่ได้หมายความว่าการเปิดเผยนั้นจำเป็นต้องออกสู่สาธารณะเสมอไป
ข้อมูลบางอย่างก็เปิดเผยได้เฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น
(ต้องมีการชั่งน้ำหนักระหว่าง
การปฏิบัติหน้าที่ ประโยชน์สาธารณะ
และสิทธิของเอกชน)
และข้อมูลที่จะปกปิดได้นั้นก็ต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วยก็เป็นประเด็นหนึ่งว่าจะสามารถเปิดเผยให้คนใกล้ชิดรับทราบได้แค่ไหน
ตรงประเด็นนี้ทางผู้บรรยาย
(การบรรยายที่ผมไปร่วมฟังมาในย่อหน้าข้างล่าง)
ได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพดังนี้
สมมุติว่ามีคู่สมรสคู่หนึ่ง
ฝ่ายสามีไปพบแพทย์ด้วยตนเองและพบว่าป่วยเป็นมะเร็ง
(เป็นโรคไม่ติดต่อ)
คำถามก็คือแพทย์จะบอกข้อมูลตรงนี้ให้กับผู้เป็นภรรยาทราบได้ไหม
คำตอบก็คือไม่ได้
แต่ถ้าหากฝ่ายสามีไปตรวจเอดส์และพบว่าตัวเองติดเชื้อเอดส์
(โรคที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์)
ในกรณีหลังนี้ทางฝ่ายแพทย์จะสามารถแจ้งให้ทางภรรยาทราบได้
เพราะถือว่าเป็นการป้องกันฝ่ายภรรยาไม่ให้ได้รับความเสียหาย
ปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน
พ.ศ.
๒๕๔๖
ทางมหาวิทยาลัยได้จัดการสัมมนาเรื่อง
"กฎหมายปกครองสำหรับบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
รวมทั้งสิ้น
๓ วันเต็ม
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
กับการออกคำสั่งปกครอง
อันที่จริงงานนี้เขาเชิญเฉพาะผู้บริหารระดับตั้งแต่หัวหน้าภาควิชา
ผู้อำนวยการส่วน เลขานุการคณะ
ฯลฯ ขึ้นไป
แต่ผมกลับถูกส่งให้ไปฟังการอบรมดังกล่าวแทน
ซึ่งก็นับว่าโชคดีที่ได้เข้าร่วมการอบรมดังกล่าว
เพราะช่วงนั้นทางผู้บริหารในหน่วยราชการต่าง
ๆ ที่มีอำนาจออกคำสั่งปกครอง
ส่วนใหญ่ยังเคยชินกับการใช้อำนาจอำเภอใจที่คนอื่นไม่สามารถตรวจสอบหรือร้องเรียนได้
แต่พอมีศาลปกครองเกิดขึ้น
ทำให้คดีความต่าง ๆ
เริ่มหลั่งไหลเข้ามาสู่ศาลปกครอง
แม้แต่ตัวสถาบันการศึกษาเองก็ตาม
ก็ยังโดนฟ้องร้องเรื่องเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาและการขอดูคะแนนสอบ
เอกสารที่ผมสแกนมาให้ดูวันนี้เป็นเอกสารที่ได้รับจากในการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่
๖ มิถุนายน ๒๕๔๖ ที่ห้องประชุมมิราเคิล
แกรนด์ บอลรูม โรงแรม มิราเคิล
แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต
เอกสารประกอบการสัมมนาดังกล่าวจัดเตรียมโดย
ดร.ฤทัย
หงส์สิริ ในชื่อ
"กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการกับการปฏิบัติงาน"
คัดมาเฉพาะเรื่องเกี่ยวข้องกับการขอทราบคะแนนสอบของผู้อื่น
อันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.
๒๕๔๑
ที่ผู้ปกครองของนักเรียนที่สอบไม่ติด
ขอทราบว่าลูกของตนนั้นสอบได้คะแนนเท่าใด
และคนที่ทางโรงเรียนรับนั้นสอบได้คะแนนเท่าใด
ลองอ่านเอาเองก่อนนะครับ
ในเหตุการณ์นั้น
(พ.ศ.
๒๕๔๑)
ผู้ปกครองที่ลูกตัวเองสอบไม่ติดประสงค์จะทราบว่าลูกสอบได้คะแนนเท่าใด
และขอดูกระดาษคำตอบของลูกตัวเอง
และของเด็กคนอื่นที่สอบติดด้วย
โดยขอใช้สิทธิตามกฏหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ
ขอทราบข้อมูลดังกล่าวจากทางมหาวิทยาลัย
แต่โดนทางมหาวิทยาลัยปฏิเสธ
(มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าคะแนนสอบและกระดาษคำตอบนั้นเป็น
"ข้อมูลส่วนบุคคล"
หรือ
"ข้อมูลข่าวสารของราชการ")
จึงได้ทำการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งในที่สุดแล้วทางคณะกรรมการฯ
ได้วินิจฉัยว่าเป็นข้อมูลข่าวสารที่สามารถเปิดเผยได้
จึงมีคำสั่งให้ทางมหาวิทยาลัยเปิดเผยข้อมูลตามที่มีการร้องขอ
แต่เรื่องยังไม่จบเพียงแค่นั้น
เพราะผู้ปกครองนักเรียนที่สอบได้ร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าว
โดยได้ยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม
ซึ่งในที่สุดแล้วทางศาลฏีกาก็ได้มีคำพิพากษาเห็นฟ้องกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
โดยได้ยกฟ้องคำร้องของผู้ปกครองนักเรียนที่สอบได้
ที่ว่าไม่ให้เปิดเผย
หมายเหตุ
:
รัฐธรรมนูญฉบับ
๒๕๔๐ บัญญัติให้มีการตั้งศาลปกครอง
แต่กว่าจะมีการตั้งเป็นองค์กรที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ล่วงเข้าปีพ.ศ.
๒๕๔๔
ดังนั้นในช่วงดังกล่าวเมื่อยังไม่มีศาลปกครองทำหน้าที่พิจารณาคดีทางปกครอง
ก็เลยต้องให้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่แทน
ในเวลานั้น
การฟ้องร้องและการคัดค้านในคดีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการทำงานของอาจารย์ตรงที่ว่า
คะแนนสอบของนิสิตแต่ละคนนั้นถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น
การที่อาจารย์เอาคะแนนสอบของนิสิตทุกคนไปติดประกาศไว้บนบอร์ดให้คนอื่นเห็นได้ก็เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
แต่เมื่อมีคำพิพากษาอันเป็นที่สุดออกมาแล้ว
ทางวิทยากรก็ได้ให้เหตุผลตรงที่ว่าทำไมถึงพิจารณาให้เปิดเผยได้
เพราะมีการพิจารณาประเด็นที่ว่า
การเปิดเผยดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
(หรือสาธารณะ)
หรือไม่
ซึ่งตรงนี้ก็ได้มีข้อสรุปว่าการเปิดเผยคะแนนสอบของนิสิตทุกคนที่เข้าเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง
ให้ "นิสิตที่เรียนในวิชานั้นทั้งชั้น"
รับทราบถือว่าเป็นการตรวจสอบการทำงานของหน่วย
(จะได้ตรวจสอบได้ว่าไม่มีเหตุการณ์ประเภทสอบได้คะแนนต่ำกว่าแต่ได้เกรดสูงกว่าคนที่สอบได้คะแนนสูงกว่า
ซึ่งช่วงเวลาก่อนหน้านั้นมันก็มีเรื่องแบบนี้อยู่
ตรงที่นิสิตอ้างว่าจะโดนรีไทร์แล้วมาขอเกรด
A
จากอาจารย์
ทั้ง ๆ ที่จากคะแนนสอบจริงควรจะได้เกรด
F
แต่ยุคสมัยนั้นทางนิสิตที่สอบได้คะแนนสูงกว่าแต่ได้เกรดต่ำกว่าไม่สามารถร้องเรียนขอความชอบธรรมได้
และนิสิตที่ได้คะแนนต่ำก็ไม่สามารถขอตรวจดูคำตอบได้ว่าทำผิดพลาดตรงไหน)
แต่อย่าไปด่วนสรุปว่าทางภาควิชาสามารถส่งผลการเรียนของนิสิตที่สำเร็จการศึกษา
(เช่นเกรดที่เรียนจบ)
ให้กับบริษัทที่ขอทราบรายชื่อนิสิตทุกคน
(แถมที่อยู่และเบอร์โทรติดต่อ)
ที่เรียนจบด้วยเกรดที่สูงกว่าเกณฑ์มีสิทธิสมัครเข้าทำงานของบริษัทนั้นได้นะครับ
มันเป็นคนละเรื่องกัน
เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นที่ภาควิชาเรา
แต่ทางภาควิชาก็ไม่ได้ให้ไป
บอกได้แต่เพียงแค่ถ้าอยากได้ก็ยินดีให้ทางบริษัทส่งใบสมัครมาให้ภาคช่วยแจกจ่ายให้กับนิสิตผู้สนใจเท่านั้นเอง
เรื่องที่น่าตั้งคำถามก็คือ
การที่วิชาใดวิชาหนึ่งทำเพียงแค่ประกาศให้นิสิตที่เรียนวิชานั้นได้รู้เพียงแค่คะแนนของตนเอง
กับรู้เพียงว่าได้คะแนนที่ระดับเท่าใดจากจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด
โดยไม่มีการประกาศให้รู้ทั่วกันทั้งชั้นว่าคนอื่นในชั้นเรียนเดียวกันนั้นสอบได้คะแนนเท่าใด
เป็นการกระทำที่เพียงพอหรือไม่
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการเก็บคะแนนสอบของนิสิตแต่ละราย
และให้นิสิตตรวจคะแนนสอบของตนเองผ่านทางฐานข้อมูลดังกล่าว
โดยฐานข้อมูลนั้นให้นิสิตแต่ละรายเห็นได้เฉพาะคะแนนของตนและตำแหน่งของตนในชั้นเรียนเท่านั้น
โดยไม่มีการประกาศให้เห็นคะแนนสอบของผู้อื่นในชั้นนั้น
ตรงนี้แตกต่างไปจากการติดประกาศคะแนนไว้ที่บอร์ดที่ทำให้นิสิตเห็นคะแนนสอบของทุกคนทั้งชั้นเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น