Memoir ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคำนวณเชิงตัวเลขให้กับนิสิตวิศวกรรมเคมีชั้นปีที่ ๓
ดาวน์โหลดบทความไฟล์ฉบับ pdf ได้ที่ link นี้
ในการแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้นด้วยการคำนวณเชิงตัวเลขนั้น ระเบียบวิธีรุงเก-คุตตาอันดับ 4 (4th order Runge-Kutta หรือพวกที่ได้รับการพัฒนาโดยใช้ระเบียบวิธีนี้เป็นตัวตั้งต้น) มักจะเป็นตัวแรกที่ได้รับการแนะนำให้ใช้ เนื่องด้วยการที่มันให้คำตอบที่มีความถูกต้องสูงได้รวดเร็ว และยังมีช่วง stability limit ของการอินทิเกรตที่จัดว่ากว้าง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าระเบียบวิธีรุงเก-คุตตาอันดับ 4 จะใช้การได้ดีทุกกรณี สำหรับระบบสมการขนาดใหญ่ การได้มาซึ่งคำตอบที่มีความถูกต้องสูง ด้วยการใช้เวลาคำนวณที่เหมาะสมถือว่าเป็นสิ่งที่ควรต้องพิจารณา (ความเร็วในการคำนวณในที่นี้พิจารณาจากการได้คำตอบที่มีความถูกต้องในระดับเดียวกัน ณ ตำแหน่งตัวแปรอิสระเดียวกัน ระเบียบวิธีที่มีการคำนวณฟังก์ชันในแต่ละขั้นตอนน้อยกว่า และ/หรือสามารถใช้ช่วงก้าวการอินทิเกรต (step size) ที่กว้างกว่า จะใช้เวลาในการคำนวณที่น้อยกว่า)
ดาวน์โหลดบทความไฟล์ฉบับ pdf ได้ที่ link นี้
ในการแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้นด้วยการคำนวณเชิงตัวเลขนั้น ระเบียบวิธีรุงเก-คุตตาอันดับ 4 (4th order Runge-Kutta หรือพวกที่ได้รับการพัฒนาโดยใช้ระเบียบวิธีนี้เป็นตัวตั้งต้น) มักจะเป็นตัวแรกที่ได้รับการแนะนำให้ใช้ เนื่องด้วยการที่มันให้คำตอบที่มีความถูกต้องสูงได้รวดเร็ว และยังมีช่วง stability limit ของการอินทิเกรตที่จัดว่ากว้าง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าระเบียบวิธีรุงเก-คุตตาอันดับ 4 จะใช้การได้ดีทุกกรณี สำหรับระบบสมการขนาดใหญ่ การได้มาซึ่งคำตอบที่มีความถูกต้องสูง ด้วยการใช้เวลาคำนวณที่เหมาะสมถือว่าเป็นสิ่งที่ควรต้องพิจารณา (ความเร็วในการคำนวณในที่นี้พิจารณาจากการได้คำตอบที่มีความถูกต้องในระดับเดียวกัน ณ ตำแหน่งตัวแปรอิสระเดียวกัน ระเบียบวิธีที่มีการคำนวณฟังก์ชันในแต่ละขั้นตอนน้อยกว่า และ/หรือสามารถใช้ช่วงก้าวการอินทิเกรต (step size) ที่กว้างกว่า จะใช้เวลาในการคำนวณที่น้อยกว่า)
Stiff
equation เป็นสมการหรือระบบสมการที่ประกอบด้วยพจน์
(ในกรณีของสมการเดียว)
หรือสมการ
(ในกรณีที่มีตั้งแต่สองสมการขึ้นไป)
ที่มีระดับการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันมาก
คือจะมีอย่างน้อยหนึ่งพจน์หรือหนึ่งสมการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับพจน์หรือสมการอื่นที่เหลือ
ตัวอย่างของระบบสมการเช่นนี้ได้แก่ระบบสมการที่ประกอบด้วยสมการพีชคณิต
(Algebraic
equation) และสมการอนุพันธ์
(Differential
equation) รวมกันอยู่
ที่เรียกว่าเป็นระบบสมการ
Differential-Algebraci
Equations หรือย่อว่า
DAE
โดยตัวสมการพีชคณิตนั้นทำหน้าที่เป็นเสมือนสมการอนุพันธ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากจนเสมือนกับว่าเข้าสู่สภาวะคงตัว
(steady
state) ในทันทีทันใด
ในขณะที่สมการอนุพันธ์อื่นที่เหลือค่อย
ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า
ๆ
ปัญหาของ
Stiff
equation
คือพจน์หรือสมการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเป็นตัวกำหนดช่วงก้าว
(step
size) ของการคำนวณ
ด้วยการที่มันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทำให้ต้องใช้ช่วงก้าวที่สั้นมากในการเริ่มต้นการคำนวณ
แต่เมื่อค่าของพจน์หรือสมการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นแทบจะไม่มีผลกระทบอะไรต่อคำตอบแล้ว
ถ้าคำนวณโดยใช้ระเบียบวิธี
Singel
step method (คือใช้จุดเริ่มต้นในการคำนวณเพียงจุดเดียว)
ที่อยู่ในกลุ่ม
Explicit
method
จะพบว่าจะไม่สามารถเพิ่มความยาวช่วงก้าวของการคำนวณเพื่อเร่งการคำนวณได้
จำเป็นต้องใช้ช่วงก้าวที่แคบมากนั้นไปตลอดการคำนวณ
ทำให้เสียเวลาการคำนวณมาก
ตัวอย่างของปัญหาประเภทนี้เช่นการเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนใน
fixed-bed
tubular reactor
ที่อัตราการไหลและ/หรือความเข้มข้นของสารตั้งต้นนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงจากค่าหนึ่งไปยังอีกค่าหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
(จนอาจสมมุติได้ว่าเป็นแบบ
step
change) ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายใน
fixed-bed
นั้นจะเปลี่ยนแปลงช้ากว่า
กรณีเช่นนี้การใช้ระเบียบวิธีพวก
Multi
step method จะเหมาะสมมากกว่า
แม้ว่าระเบียบวิธีพวก Multi
step method จะมีข้อเสียคือไม่สามารถเริ่มต้นการคำนวณด้วยตัวเองได้
จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการใช้ระเบียบวิธีพวก
Single
step ก่อน
จากนั้นจึงค่อยเปลี่ยนมาใช้ระเบียบพวก
Multi
step method ในบรรดาระเบียบวิธี
Multi
step method นั้น
ระเบียบวิธีอาดามส์-แบชฟอร์ทอันดัน
4
(4th order Adams-Bashforth
หรือพวกที่ได้รับการพัฒนาโดยใช้ระเบียบวิธีนี้เป็นตัวตั้งต้น)
เป็นหนึ่งในวิธีการที่นิยมใช้กัน
โดยในระเบียบวิธีอาดามส์-แบชฟอร์ทอันดัน
4
นี้จะมีการใช้ข้อมูลย้อนหลังจากตำแหน่งปัจจุบันไปอีก
3
ตำแหน่งในการทำนายค่าจุดถัดไป
สำหรับคนทึ่คิดว่าในเมื่อมันมีโปรแกรม MATLAB ให้ใช้ แล้วทำไมเรายังต้องเรียนรู้เรื่องแบบนี้อีก หรือคนที่ต้องทำงานกับนักวิจัยที่ทำ simulation ก็ขอแนะนำให้ไปอ่าน Memoir ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๔๐๑ วันพฤหัสบดีที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เรื่อง "รู้ทันนักวิจัย (๖) บน simulation ทุกอย่างเป็นไปได้หมด (ภาค ๒)" เพิ่มเติมได้ครับ
สำหรับคนทึ่คิดว่าในเมื่อมันมีโปรแกรม MATLAB ให้ใช้ แล้วทำไมเรายังต้องเรียนรู้เรื่องแบบนี้อีก หรือคนที่ต้องทำงานกับนักวิจัยที่ทำ simulation ก็ขอแนะนำให้ไปอ่าน Memoir ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๔๐๑ วันพฤหัสบดีที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เรื่อง "รู้ทันนักวิจัย (๖) บน simulation ทุกอย่างเป็นไปได้หมด (ภาค ๒)" เพิ่มเติมได้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น