ไทโอนีลคลอไรด์
(Thionyl
chloride SOCl2) เป็น
chlorinating
agent (สารที่ใช้เติมอะตอม
Cl
เข้าไปในโครงสร้างโมเลกุล)
ตัวหนึ่งที่มีปรากฏอยู่ในตำราเรียนเคมีอินทรีย์
โดยเฉพาะในปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการแทนที่หมู่
-OH
ด้วยอะตอม
-Cl
ในกรณีของแอลกอฮอล์ก็จะได้สารประกอบ
organic
chloide ส่วนในกรณีของกรดคาร์บอกซิลิกก็จะได้โครงสร้าง
acyl
chloride (R-C(O)-Cl)
ที่มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาสูงกว่าหมู่คาร์บอกซิล
(R-C(O)-OH)
รูปที่
๑ เส้นทางการสังเคราะห์
thionyl
chloride โดยเริ่มต้นจากกำมะถันและคลอรีน
รูปที่
๓ กระบวนการผลิต thionyl
chloride จากสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่
2,431,823
ไฮโดรเจนซัลไฟล์
(hydrogen
sulphide หรือ
hydrogen
sulfide - H2S) หรือที่เรียกว่าแก๊สไข่เน่านั้น
ในธรรมชาติพบได้ในปริมาณมากโดยปะปนอยู่กับแก๊สธรรมชาติในบางแหล่ง
เช่นแก๊สในอ่าวไทย
แก๊สธรรมชาติที่มีแก๊สกรด
(CO2
และ/หรือ
H2S)
ปนอยู่ด้วยนั้นเรียกว่า
"sour
gas" ในกรณีที่มีเฉพาะ
CO2
นั้นก็อาจมีการนำไปใช้งานเป็นเชื้อเพลิงโดยตรงโดยไม่มีการกำจัดออก
(เช่นกรณีของแก๊ส
CNG
เติมรถยนต์ที่จัดจำหน่ายในบ้านเรา)
แต่ในกรณีของ
H2S
นั้นจะต้องมีการกำจัดออกก่อนเพราะมันทำให้เกิดแก๊ส
SO2
ในการเผาไหม้
แหล่งผลิต
H2S
ขนาดใหญ่อีกแหล่งในอุตสาหกรรมได้แก่กระบวนการ
desulphurisation
หรือการกำจัดกำมะถันที่ใช้ในการดึงเอาสารประกอบกำมะถันอินทรีย์ออกจากน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยใช้แก๊สไฮโดรเจนและตัวเร่งปฏิกิริยาช่วย
เพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันต่ำ
(พวกดีเซลและน้ำมันเตา)
กำมะถันที่ดึงออกมาจะออกมาในรูปแก๊ส
H2S
กระบวนการเผาไหม้
CH4
กับกำมะถัน
(S)
เพื่อผลิตคาร์บอนไดซัลไฟล์
(carbon
disulphide - CS2) ก็เป็นกระบวนการทำให้เกิด
H2S
ด้วย
ในบ้านเราก็มีกระบวนการดังกล่าวเพื่อนำเอา
CS2
ที่ได้ไปใช้ในการผลิตเส้นใย
rayon
ที่เรียกว่า
xanthane
ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า
viscose
process ข้อดีของกระบวนการนี้คือสามารถเปลี่ยน
cellulose
ในรูปของเนื้อไม้ให้กลายเป็นเส้นใยได้
แก๊ส
H2S
ที่ได้มาจากกระบวนการเหล่านี้มักไม่ได้นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการทำปฏิกิริยาใด
ๆ
และต้องได้รับการเปลี่ยนสภาพให้อยู่ในรูปสารประกอบที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
และกระบวนการหนึ่งที่มีการนำมาใช้กันคือ
Claus
process ที่ทำการเปลี่ยน
H2S
ให้กลายเป็นธาตุกำมะถันด้วยการออกซิไดซ์
H2S
ส่วนหนึ่งกับ
O2
เพื่อเปลี่ยนให้กลายเป็น
SO2
ก่อน
จากนั้นจึงนำ SO2
ที่เกิดขึ้นไปทำปฎิกิริยากับ
H2S
ส่วนที่เหลือ
ก็จะได้ธาตุกำมะถันออกมา
รูปที่
๕
อีกตัวอย่างหนึ่งของสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
thiodiglycol
รูปที่
๖
อีกตัวอย่างหนึ่งของสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
thiodiglycol
ในอุตสาหกรรมมีการใช้
H2S
เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารประกอบ
organosulphur
อยู่บ้าง
สารประกอบกลุ่มนี้ตัวหนึ่งได้แก่ไทโอไดไกลคอล
(Thiodiglycol
HO-CH2CH2-S-CH2CH2-OH)
ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่าง
H2S
กับ
ethylene
oxide (รูปที่
๔-๗)
Thiodiglycol นี้ใช้ในอุตสาหกรรมผลิต
น้ำหมึก (water
based) สีที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกและการเคลือบผิว
และยังสามารถใช้เป็นตัวทำละลายให้กับน้ำหมึกที่ใช้กับปากกาลูกลื่น
แต่ทั้งไทโอนีลคลอไรด์และไทโอไดไกลคอลต่างเป็นสารเคมีที่อยู่ภายใต้การควบคุม
ในรายการที่ ๑ และ ๙ ของ
Autralia
group : Common control list handbook. Volume I: Chemical
weapons-related common control lists
ในฐานะที่สามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้น
(precursor)
เพื่อผลิตอาวุธเคมี
(แก๊สมัสตาร์ดหรือ
sulphur
mustard) ได้ด้วยการแทนที่หมู่
-OH
ของไทโอไดไกลคอลด้วยอะตอม
Cl
ดังสมการในรูปที่
๗ ข้างล่าง
รูปที่
๗ จาก thiodiglycol
ไปเป็น
sulphur
mustard
ทั้งไทโอไดไกลคอลและไทโอนีลคลอไรด์ต่างถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
พ.ศ.
๒๕๓๕
โดยไทโอไดไกลคอลถูกจัดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่
๓ (การผลิต
นำเข้า ส่งออก ครอบครอง
ต้องได้รับอนุญาต)
ในขณะที่ไทโอนีลคลอไรด์ถูกจัดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่
๔ (ห้ามมิให้มีการผลิต
นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง)
(รายการที่
๒๒๒ และ ๒๒๓ บัญชี ๕.๑
ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้ควบคุม
ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย
พ.ศ.
๒๕๕๖)
ไทโอนีลคลอไรด์ไม่เพียงแต่สามารถใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตอาวุธเคมีได้เท่านั้น
แต่ยังสามารถใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารแอมเฟตามีน
(amphetamine)
ได้ด้วย
(รูปที่
๘)
รูปที่
๘ รูปจากสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่
6,399,828
ลงวันที่
๔ มิถุนายน ค.ศ.
๒๐๐๒
ในหัวข้อ "Preparation
of amphetamines from phenylpropanolamines"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น