เมื่อไม่นานนี้เริ่มมีการนำเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ
(Automated
External Defibrillator หรือย่อว่า
AED)
เข้ามาติดตั้งในมหาวิทยาลัย
พร้อมกันมีการเปิดให้การอบรมแก่ผู้ที่สนใจ
(และไม่ติดขัดหน้าที่การงานอะไร)
วิธีการปฏิบัติพื้นฐานในการช่วยชีวิตและใช้อุปกรณ์
AED
ดังกล่าว
รูปที่
๑
หน้าปกเอกสารคู่มือการช่วยชีวิตพื้นฐานที่แจกจ่ายให้มหาวิทยาลัย
หัวใจมีกล้ามเนื้อชนิดพิเศษที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นให้หัวใจบีบตัวอย่างเป็นจังหวะ
ถ้าจังหวะการปล่อยกระแสไฟฟ้านี้ผิดปรกติ
ก็จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะตามไปด้วย
และสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้
ผู้ที่เกิดอาการภาวะหัวใจเฉียบพลัน
ถ้าได้รับการแก้ไขให้คลื่นไฟฟ้าที่กระตุ้นการทำงานของหัวใจนั้นกลับมาเป็นปรกติได้ทันท่วงที
ผู้ป่วยก็จะรอดชีวิตได้
ตัวเครื่องที่เอามาติดตั้งนั้นแท้จริงหน้าตาเป็นอย่างไรผมก็ไม่รู้เหมือนกัน
(เพราะมันอยู่ในตู้)
แต่ตามคู่มือมันบอกว่ามันประกอบด้วยตัวเครื่องและแผ่นนำไฟฟ้าสองแผ่น
เครื่องนี้ไม่ใช่เครื่องทำให้หัวใจที่หยุดเต้นไปแล้วกลับมาเต้นใหม่
แต่เป็นเครื่องที่ทำให้การเต้นหัวใจที่กำลังผิดจังหวะและกำลังนำไปสู่การหยุดเต้นนั้น
กลับมาเต้นตามปรกติ
การทำงานของเครื่องนั้น
หลังจากที่ติดแผ่นนำไฟฟ้าเข้ากับผู้ป่วยแล้ว
ตัวเครื่องจะทำการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วย
(เครื่องบางรุ่นอาจจะเริ่มทำการวิเคราะห์เองอัตโนมัติเมือทำการติดแผ่นนำไฟฟ้า
ในขณะที่บางรุ่นต้องกดปุ่มให้เริ่มการวิเคราะห์)
ถ้าเครื่องตรวจพบว่าผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับการช็อกด้วยไฟฟ้า
เครื่องก็ให้สัญญาณออกมาว่าไม่จำเป็น
แต่ถ้าพบว่าจำเป็นต้องได้รับการช็อกด้วยไฟฟ้า
เครื่องก็จะให้สัญญาณเตือนออกมาเพื่อให้ผู้ช่วยเหลือเตรียมการช็อกด้วยไฟฟ้าในขั้นตอนถัดไป
รูปที่
๒ และ ๓ ที่อยู่ถัดไป ผมสแกนมาจากหน้า
๒๖ และ ๒๗ ของเอกสารคู่มือที่เขาแจกจ่ายในคณะ
ลองอ่านดูเองเองก่อนไหมครับ
รูปที่
๓ หน้า ๒๗ ของเอกสารคู่มือที่นำมาแสดงในรูปที่
๑ อ่านเสร็จแล้วสังเกตเห็นอะไรไหมครับ
ตรงข้อความ ๓ บรรทัดล่างในหน้า
๒๖ ของเอกสารที่กล่าวถึงตำแหน่งติดตั้งแผ่นนำไฟฟ้า
และตำแหน่งติดตั้งแผ่นนำไฟฟ้าบนตัวหุ่นในรูปที่แสดง
ตามคู่มือนั้นบอกว่าแผ่นนำไฟฟ้ามีสองแผ่น
แผ่นแรกติดไว้ใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา
แผ่นที่สองติดไว้
"ใต้ราวนมซ้ายด้านข้างลำตัว"
แต่สำหรับการใช้งานจริงนั้นคงไม่มีใครมาอ่านคู่มือการใช้งาน
แต่การดูรูปภาพมันรวดเร็วกว่า
ดังนั้นทางผู้ผลิตเครื่องมือจึงทำภาพสัญญลักษณ์เอาไว้บนแผ่นนำไฟฟ้าเลยว่า
แผ่นไหนควรติดไว้ที่ตำแหน่งไหนบนร่างกาย
ลองดูภาพขยายในรูปข้างล่างดูก็ได้ครับ
จะเห็นว่าแผ่นที่วงสีแดงนั้นมีเครื่องหมายบอกเอาไว้ว่าให้ติดที่ใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา
ส่วนแผ่นที่วงสีเขียวนั้นให้ติดไว้ทางด้านซ้ายข้างลำตัว
ตรงบริเวณระดับหัวนมหรือต่ำลงมาเล็กน้อย
(คือบริเวณใต้ราวนมด้านซ้ายข้างลำตัว
รูปที่
๔ ภาพขยายของรูปที่ ๒ (รูปที่
๑๑ ของเอกสาร)
ตัวแผ่นแปะมีภาพบอกไว้ชัดเจน
(และใช้สีที่ต่างกันด้วย)
ว่าแผ่นไหนควรติดตรงส่วนไหนของลำตัว
แต่พอแสดงการติดตั้งบนตัวหุ่นนั้น
(รูปถัดไป)
กลับเป็นอย่างดังที่เห็นในรูปนั่นแหละครับ
ลองพิจารณาดูเองเองก็แล้วกัน
รูปที่
๕ ภาพขยายของรูปที่ ๓ (รูปที่
๑๒ ของเอกสาร)
ลูกศรสีเหลืองคือแนวทางการไหลของกระแสไฟฟ้า
ผมไม่ใช่บุคคลากรทางการแพทย์
ก็เลยไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่าการปฏิบัติไม่ตรงตามที่ตัวอุปกรณ์กำหนดนั้น
จะส่งผลต่อการทำงานของตัวอุปกรณ์และการรักษาผู้ป่วยหรือไม่
จากการค้นดูทางอินเทอร์เน็ตก็พบว่าประเด็นเรื่องการติดตั้งแผ่นนำไฟฟ้าสลับกัน
และการวางตำแหน่งแผ่นนำไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสมนั้น
จะส่งผลต่อการช่วยชีวิตอย่างไรหรือไม่
ก็มีคนถามอยู่เยอะเหมือนกัน
(เว็บต่างประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษ)
ตรงนี้ก็มีผู้ให้คำตอบว่า
การวางแผ่นนำไฟฟ้าสลับตำแหน่งกันนั้น
ส่งผลต่อพีคสัญญาณที่วัดได้
(คือกราฟจะกลับหัว)
แต่ตัวเครื่องวิเคราะห์จะรับรู้ได้เองและปรับแก้ไขให้
(แต่ก็ไม่รู้ว่าทำได้ทุกรุ่นหรือไม่)
ที่สำคัญกว่าคือตำแหน่งที่วางแผ่นนำไฟฟ้า
ที่เพื่อจะให้การรักษาได้ผลดี
เส้นทางเดินของกระแสไฟฟ้าจากแผ่นนำไฟฟ้าแผ่นหนึ่งไปยังอีกแผ่นหนึ่งนั้นควรต้องเดินทาง
"ผ่าน"
หัวใจ
(ก็เราต้องการให้กระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ
และลองดูแนวทางเส้นสีเหลืองในรูปข้างบนดูว่ามันผ่านหรือไม่)
คำตอบที่ค้นเจอตามย่อหน้าข้างบนนี้จะถูกต้องแค่ไหนผมคงบอกไม่ได้
แต่สิ่งที่อยากชี้ให้เห็นก็คือการจัดทำเอกสารคู่มือเพื่อการปฏิบัติงานต่าง
ๆ นั้น ที่สำคัญคือต้องไม่มีข้อมูลที่ขัดแย้งในตนเอง
หรือทำให้ผู้ที่มาอ่านนั้นเกิดความสับสนและแปลความหมายผิดไปได้
ถ้าคู่มือนั้นได้มีการกระจายออกไปยังระดับหน่วยงานต่าง
ๆ แล้วและพบว่ามีความผิดพลาดที่สำคัญ
ก็ควรที่จะต้องเรียกคืนส่วนที่ยังไม่กระจายออกไปยังบุคคลต่าง
ๆ
และฉบับที่ทำออกมาใหม่นั้นก็ควรมีการระบุด้วยว่ามีการแก้ไขจากของเดิมในประเด็นตรงไหนบ้าง
(เช่น
ยกเลิกข้อความบางส่วนหรือทั้งฉบับ
และให้ใช้ข้อความไหนแทน
เป็นต้น)
เพื่อที่ว่าคนที่มาอ่านภายหลังจะได้รู้ว่าทำไปฉบับที่ทำออกมาที่หลังจึงมีข้อความที่แตกต่างไปจากฉบับที่ออกมาก่อนหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น